https://li05.tci-thaijo.org/index.php/JAgriGMS/issue/feed
วารสารเกษตรอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง
2025-06-29T00:00:00+07:00
ผศ.ดร.อดิเทพชัยย์การณ์ ภาชนะวรรณ
Journal_agri@ms.npu.ac.th
Open Journal Systems
<p><strong>สาระพอสังเขป</strong></p> <p> วารสารเกษตรอนุภุมิภาคลุ่มน้ำโขง (ออนไลน์) (Greater Mekong Sub-region Agricultural Journal (Online)) จัดทำขึ้นเพื่อเป็นสื่อกลางการเผยแพร่องค์ความรู้ แนวคิด เทคนิค วิธีการ หรือการพัฒนาสิ่งใหม่ในสาขาวิทยาศาสตร์เกษตร <strong>(พืชศาสตร์ สัตวศาสตร์ การประมง กีฎวิทยา </strong><strong>โรคพืช และสาขาวิชาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง)</strong> เทคโนโลยีชีวภาพวิทยาศาสตร์ประยุกต์ วิทยาศาสตร์การอาหาร เทคโนโลยีการอาหาร วิศวกรรมเกษตรและเทคโนโลยีเครื่องจักรกลเกษตร</p> <p> โดยมีกลุ่มเป้าหมายคือคณาจารย์ นักศึกษา และนักวิจัยทั้งในและนอกสถาบัน โดยบทความที่ส่งมาเพื่อพิจารณาตีพิมพ์จะต้องไม่เป็นผลงานวิจัย/วิชาการที่เคยได้รับการเผยแพร่ในวารสารใดมาก่อน หรือไม่อยู่ในระหว่างการพิจารณาตีพิมพ์ของวารสารอื่น เทคโนโลยีทางการเกษตร และวิทยาศาสตร์การอาหาร เพื่อส่งเสริมและกระตุ้นให้เกิดผลงานวิจัยและผลงานทางวิชาการในเชิงวิทยาศาสตร์ พร้อมทั้งเป็นแหล่งเรียนรู้ในรูปแบบผลงานทางวิชาการที่เป็นประโยชน์ต่อการศึกษาค้นคว้าที่สามารถตรวจสอบและอ้างอิงได้</p> <p><strong>วัตถุประสงค์</strong></p> <p> วารสารเกษตรอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง (ออนไลน์) มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นแหล่งเผยแพร่บทความวิจัยบทความทางวิชาการ ทางด้านเกษตรศาสตร์ และเทคโนโลยีการเกษตร วิทยาศาสตร์การอาหาร โดยมีกลุ่มเป้าหมายคือคณาจารย์ นักศึกษา นักวิจัย และนักวิชาการทั้งภายในและภายนอกสถาบัน</p> <p> </p> <p> </p> <p> </p>
https://li05.tci-thaijo.org/index.php/JAgriGMS/article/view/590
การศึกษาลักษณะสมบัติของเชื้อเพลิงอัดเม็ดร่วม ขยะกำพร้า (ซองกันกระแทก) กับกากไขมันเพื่อเป็นพลังงานทดแทน
2024-11-10T22:05:32+07:00
Wanida Chooaksorn
cwanida@tu.ac.th
<p>การศึกษาลักษณะสมบัติของเชื้อเพลิงอัดเม็ดร่วมจากขยะกำพร้า (ซองกันกระแทก) และกากไขมันในน้ำเสียของร้านอาหารอินเดีย (คลองโอ่งอ่าง-พาหุรัด) กรุงเทพมหานคร มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะสมบัติทางกายภาพและทางเคมี โดยดำเนินการวิเคราะห์ ปริมาณความหนาแน่น ปริมาณความชื้น ปริมาณเถ้า ปริมาณสารระเหย และปริมาณความร้อน ตามมาตรฐานของสมาคมการทดสอบวัสดุแห่งอเมริกา (American Society for Testing and Materials; ASTM) ศึกษาอัตราส่วนของขยะกำพร้าประเภทซองกันกระแทก และกากไขมัน 4 : 1 3 : 2 และ 2 : 3 โดยน้ำหนัก พบว่า อัตราส่วน 2 : 3 มีประสิทธิภาพเหมาะสมที่สุด มีปริมาณความหนาแน่น 1.60 กรัมต่อลูกบาศก์เซนติเมตร แตกร่วนได้เล็กน้อย ปริมาณความชื้น ปริมาณเถ้า และปริมาณสารระเหย ร้อยละ 8 4 และ 94 โดยน้ำหนัก ตามลำดับ ปริมาณความร้อน 8,815 กิโลแคลอรีต่อกิโลกรัม ซึ่งมีลักษณะสมบัติที่เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานแนวทางและเกณฑ์คุณสมบัติของเสียเพื่อการแปรรูปเป็นแท่งเชื้อเพลิง และบล็อกประสานของกรมโรงงานอุตสาหกรรม</p>
2025-06-29T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025 คณะเกษตรและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยนครพนม
https://li05.tci-thaijo.org/index.php/JAgriGMS/article/view/663
ลักษณะคุณภาพซากโคขุนของเกษตรกรรายย่อยในจังหวัดสกลนคร
2025-02-11T14:34:46+07:00
China Supakorn
china.sup@stou.ac.th
<p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลที่มีผลต่อลักษณะคุณภาพซาก ได้แก่ ลักษณะน้ำหนักซากอุ่น และเปอร์เซ็นต์ซาก ที่เลี้ยงโดยเกษตรกรรายย่อย ดำเนินการวิจัยโดยใช้ข้อมูลที่รวบรวมจากสหกรณ์การเลี้ยงโคเนื้อขุนแห่งหนึ่งในจังหวัดสกลนครในระหว่างปี พ.ศ. 2556 - 2566 จำนวนทั้งหมด 4,544 ข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา และการวิเคราะห์ความแปรปรวนโดยเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยโดยใช้วิธีการทดสอบ Tukey’s range test ผลการวิจัยจากการวิเคราะห์สถิติเชิงพรรณนา พบว่า ค่าเฉลี่ย±ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของลักษณะน้ำหนักซากอุ่น เปอร์เซ็นต์ซาก น้ำหนักเริ่มขุน น้ำหนักสิ้นสุดการขุน และระยะเวลาการขุน มีค่าเท่ากับ 325±40.9 กิโลกรัม/ตัว, 54.9±2.3 เปอร์เซ็นต์, 392.8±29.2 กิโลกรัม/ตัว, 598±66.7 กิโลกรัม/ตัว และ 360.5±88.7 วัน ตามลำดับ การศึกษาอิทธิพลต่างๆ ที่มีผลต่อลักษณะซาก พบว่า ตัวแปรร่วมระยะเวลาในการขุนและน้ำหนักเมื่อเข้าขุน มีอิทธิพลต่อลักษณะซากอย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติ (P<0.01) อิทธิพลของฟาร์ม เพศ พันธุ์ และอายุเมื่อเข้าขุน มีอิทธิพลต่อลักษณะน้ำหนักซากอุ่นและเปอร์เซ็นต์ซาก โดยโคเนื้อขุนเพศผู้จะมีลักษณะซาก (330.3 กิโลกรัม/ตัว และ 55.3 เปอร์เซ็นต์) สูงกว่าเพศเมีย (323.1 กิโลกรัม/ตัว และ 54.3 เปอร์เซ็นต์) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) ในขณะที่ลักษณะน้ำหนักซากอุ่นและเปอร์เซ็นต์ซากของโคเนื้อลูกผสมลีมูซีน (316.2 กิโลกรัม/ตัว และ 53.2 เปอร์เซ็นต์) น้อยกว่าโคเนื้อลูกผสมชาร์โรเลส์ (332.5 กิโลกรัม/ตัว และ 56.7 เปอร์เซ็นต์) และบราห์มัน (328.7 กิโลกรัม/ตัว และ 54.8 เปอร์เซ็นต์) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) และ โคเนื้อที่เข้าขุนเมื่ออายุตั้งแต่ 2 ปีขึ้นไปไม่เกิน 4 ปี จะมีลักษณะซากดีกว่าโคเนื้อที่เข้าขุนเมื่ออายุประมาณ 1 ปี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) สำหรับปฏิกิริยาร่วมระหว่างอิทธิพลดังกล่าว พบว่า ไม่มีอิทธิพลต่อลักษณะซากอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ</p>
2025-06-29T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025 คณะเกษตรและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยนครพนม
https://li05.tci-thaijo.org/index.php/JAgriGMS/article/view/662
อิทธิพลของปุ๋ยอินทรีย์ที่มีต่อการออกดอก ลักษณะใบ ปริมาณธาตุอาหาร การเจริญของกิ่งและคุณภาพผลผลิตของโกโก้
2025-02-10T15:47:14+07:00
ฺBunjong Oupkaew
landscape@rmutl.ac.th
<p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของปุ๋ยอินทรีย์ที่มีต่อการออกดอก ลักษณะใบ ปริมาณธาตุอาหาร การเจริญของกิ่งและคุณภาพผลผลิตของโกโก้ โดยใช้แผนการทดลองแบบ Completely randomized design (CRD) ซึ่งประกอบด้วย 5 ทรีทเมนต์ (treatment) ทรีทเมนต์ละ 5 ซ้ำ ๆ ละ 3 ต้น รวมใช้ต้นโกโก้ ที่มีอายุ 4 ปี จำนวน 75 ต้น โดยปุ๋ยใส่อินทรีย์อัตรา 0, 0.5, 1.5, 2.5 และ 3.5 กิโลกรัมต่อต้น ด้วยวิธีการหว่านรอบทรงพุ่มทุก 2 เดือน ตั้งแต่ระยะก่อนดอกบานจนถึงระยะเก็บเกี่ยวผลผลิต ในพื้นที่แปลงปลูกโกโก้อินทรีย์ วิสาหกิจชุมชนกลุ่มเกษตรอินทรีย์ตำบลบัวใหญ่ อำเภอนาน้อย จังหวัดน่าน ระหว่างเดือน 1 ตุลาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2567 จากการทดลองพบว่า เปอร์เซ็นต์การติดผลเฉลี่ยต่อช่อ จำนวนผลต่อต้น ความกว้างผล ความยาวผล น้ำหนักผล ความกว้างเมล็ด ความยาวเมล็ด ความหนาเปลือก น้ำหนักเมล็ด เปอร์เซ็นต์โปรตีน และเปอร์เซ็นต์ไขมัน มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติ (P < 0.01) โดยการให้ปุ๋ยอินทรีย์ 1.5 กิโลกรัมต่อต้น, การให้ปุ๋ยอินทรีย์ 2.5 กิโลกรัมต่อต้น และการให้ปุ๋ยอินทรีย์ 3.5 กิโลกรัมต่อต้น จะทำให้เปอร์เซ็นต์การติดผลเฉลี่ยต่อช่อ จำนวนผลต่อต้น ความกว้างผล ความยาวผล น้ำหนักผล ความยาวเมล็ด และความหนาเปลือก ต่างกันอย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติ (P < 0.01) ส่วนการให้ปุ๋ยอินทรีย์ 1.5 กิโลกรัมต่อต้น, การให้ปุ๋ยอินทรีย์ 2.5 กิโลกรัมต่อต้น และการให้ปุ๋ยอินทรีย์ 3.5 กิโลกรัมต่อต้น ทำให้เปอร์เซ็นต์โปรตีน และเปอร์เซ็นต์ไขมัน ต่างกันอย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติ (P < 0.01) ในขณะที่การให้ปุ๋ยอินทรีย์ 2.5 กิโลกรัมต่อต้น และการให้ปุ๋ยอินทรีย์ 3.5 กิโลกรัมต่อต้น มีแนวโน้มให้ผลผลิตต่อไร่สูงสุด คือ 1,412 และ 1,421 กิโลกรัมต่อไร่ และในการให้ปุ๋ยอินทรีย์ทุกอัตรามีผลทำให้ค่าความเป็นกรด-ด่าง ค่าการนำไฟฟ้า ปริมาณอินทรีย์วัตถุ ไนโตรเจนรวม ฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ โพแทสเซี่ยม อัตราส่วนคาร์บอนต่อไนโตรเจน การย่อยสลายที่สมบูรณ์ และแมกนีเซียมในดินมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตามลำดับ ผลการศึกษาในครั้งนี้สามารถนำไปใช้ในการเพิ่มประสิทธิภาพผลผลิตโกโก้และเป็นข้อมูลสนับสนุนการใช้ปุ๋ยอินทรีย์สำหรับการปลูกโกโก้อินทรีย์ต่อไป</p> <p><strong>คำสำคัญ </strong><strong>: </strong>เกษตรอินทรีย์, ปุ๋ยอินทรีย์, การเจริญเติบโต, โกโก้, จังหวัดน่าน.</p>
2025-06-29T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025 คณะเกษตรและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยนครพนม
https://li05.tci-thaijo.org/index.php/JAgriGMS/article/view/665
การประเมินระดับความเสียหายทางเศรษฐกิจของแมลงศัตรูข้าว ในพื้นที่นาหลังน้ำท่วม
2025-03-28T19:33:31+07:00
VARANGRAT PENGCHAIMO
varangrat@snru.ac.th
กัมปนาท วงค์เครือสอน
Khumpanatw@gmail.com
<p>การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจปริมาณประชากรแมลงศัตรูข้าวและศัตรูธรรมชาติในพื้นที่ปลูกข้าวนาปีของเขตจังหวัดสกลนคร และนครพนมหลังน้ำท่วม เพื่อประเมินหาระดับความเสียหายที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงประชากรของแมลงศัตรูข้าวเปรียบเทียบกับปริมาณประชากรแมลงศัตรูธรรมชาติ โดยคัดเลือกพื้นที่ศึกษา 3 พื้นที่ได้แก่ อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร, อำเภอโคกศรีสุพรรณ จังหวัดสกลนคร และอำเภอนาหว้า จังหวัดนครพนม แต่ละอำเภอจะทำการสำรวจอำเภอละ 4 แปลง ซึ่งจะแบ่งเก็บข้อมูลแมลงตามอายุการเจริญเติบโตของข้าวได้แก่ ระยะต้นกล้า ระยะข้าวตั้งท้อง และระยะเก็บเกี่ยวหรือสุกแก่ โดยการใช้สวิงสำหรับโฉบแมลงในการสำรวจประชากรแมลงและจะทำการโฉบแมลงจนครบทั้ง 5 จุดตามแผนการสุ่มสำรวจแบบทแยงมุม จากการศึกษาพบว่าปริมาณประชากรแมลงที่อำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนครมีสัดส่วนแมลงศัตรูข้าวต่อศัตรูธรรมชาติคิดเป็น 2.23 เท่าตัวโดยพบแมลงศัตรูข้าวเฉลี่ยร้อยละ 69.03 ศัตรูธรรมชาติเฉลี่ยร้อยละ 30.97 ส่วนอำเภอโคกศรีสุพรรณ จังหวัดสกลนครมีสัดส่วนแมลงศัตรูข้าวต่อศัตรูธรรมชาติคิดเป็น 2.35 เท่าตัวซึ่งพบว่ามีแมลงศัตรูข้าวเฉลี่ยร้อยละ 70.12 ศัตรูธรรมชาติเฉลี่ยร้อยละ 29.88 และอำเภอนาหว้า จังหวัดนครพนมมีสัดส่วนแมลงศัตรูข้าวต่อศัตรูธรรมชาติคิดเป็น 3.04 เท่าตัวโดยพบแมลงศัตรูข้าวเฉลี่ยร้อยละ 75.26 ศัตรูธรรมชาติเฉลี่ยร้อยละ 24.74 นอกจากนี้ยังพบว่าในระยะที่ข้าวตั้งท้องมีสัดส่วนปริมาณของแมลงศัตรูข้าวสูงกว่าศัตรูธรรมชาติ รองลงมาได้แก่ ระยะต้นกล้า และระยะเก็บเกี่ยวตามลำดับ และผลจากสัดส่วนปริมาณแมลงศัตรูข้าวต่อแมลงศัตรูธรรมชาติสามารถนำมาประเมินหาระดับความเสียหายทางเศรษฐกิจที่เกิดจากแมลงศัตรูข้าวในพื้นที่ศึกษาทั้ง 3 เขตอำเภอ พบว่าแมลงศัตรูข้าวเข้าทำลายข้าวตลอดอายุการเจริญเติบโตอยู่ในระดับต่ำจนถึงระดับกลาง ซึ่งเป็นความเสียหายที่เกิดกับต้นข้าวไม่เกินร้อยละ 25 หรืออยู่ในระดับสมดุลตามธรรมชาติ ทั้งนี้เป็นผลจากปริมาณการมีแมลงศัตรูธรรมชาติในกลุ่มตัวห้ำที่สามารถเข้าทำลายควบคุมแมลงศัตรูข้าวได้ตั้งแต่ระยะไข่จนกระทั่งเป็นตัวเต็มวัยซึ่งพบในทั้ง 3 อำเภอ</p>
2025-06-29T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025 คณะเกษตรและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยนครพนม
https://li05.tci-thaijo.org/index.php/JAgriGMS/article/view/712
การวิเคราะห์เครื่องหมายโมเลกุลสนิปส์ในยีนสังเคราะห์ซูโครสของอ้อยด้วยเทคนิค Restriction Site Associated DNA Sequencing (RAD-seq)
2025-05-04T21:38:37+07:00
weerakorn saengsai
weerakorn.saengsai@gmail.com
<p class="CM7" style="text-align: justify; text-justify: inter-cluster;"><span lang="TH" style="font-size: 14.0pt; font-family: 'TH SarabunPSK',sans-serif; color: black;">การปรับปรุงพันธุ์อ้อยโดยส่วนใหญ่ใช้เทคนิคแบบดั้งเดิมที่มีการนำพ่อและแม่พันธุ์ที่มีลักษณะที่ต้องการมาผสมกัน ใช้ลักษณะภายนอกที่ปรากฎในการคัดเลือก ส่งผลให้ต้องใช้ระยะเวลานานจึงได้พันธุ์อ้อยที่มีลักษณะที่ดีสำหรับแนะนำเกษตรกร การวิเคราะห์ความใกล้ชิดทางพันธุกรรมโดยใช้เครื่องหมายโมเลกุล</span> <span style="font-size: 14.0pt; font-family: 'TH SarabunPSK',sans-serif; color: black;">Single nucleotide polymorphism <span lang="TH">(</span>SNP<span lang="TH">) ด้วยเทคโนโลยี </span>Restriction site Associated DNA Sequencing (RAD-Seq)<span lang="TH"> สามารถใช้เป็นโมเลกุลเครื่องหมายเพื่อตรวจเอกลักษณ์ของสายพันธุ์ ตรวจสอบสายพันธุ์ลูกผสม การจัดจำแนกพันธุ์สิ่งมีชีวิตที่มีฐานพันธุกรรมใกล้เคียงกันได้ </span></span><span lang="TH" style="font-size: 14.0pt; font-family: 'TH SarabunPSK',sans-serif;">การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์หาเครื่องหมายโมเลกุลสนิป (</span><span style="font-size: 14.0pt; font-family: 'TH SarabunPSK',sans-serif;">SNP) <span lang="TH">เพื่อตรวจเอกลักษณ์ของสายพันธุ์อ้อยเพื่อใช้ในการจำแนกและวิเคราะห์ความสัมพันธุ์ทางพันธุกรรมของอ้อย <span style="color: black;">การเทคโนโลยี </span></span><span style="color: black;">RAD<span lang="TH">-</span>seq <span lang="TH">วิเคราะห์อ้อยจากศูนย์วิจัยพืชไร่ขอนแก่น จำนวน 16 สายพันธุ์ ได้แก่ </span>UT<span lang="TH">17 </span>LK<span lang="TH">92-11 </span>KK<span lang="TH">07-250 </span>KK<span lang="TH">09-0857 </span>UT<span lang="TH">15 </span>KK<span lang="TH">09-0939 </span>K<span lang="TH">88-92 </span>KK<span lang="TH">07-599 </span>KK<span lang="TH">08-059 </span>DOA-NS<span lang="TH">1 </span>KK<span lang="TH">09-0941 </span>DOA-KK<span lang="TH">3 </span>DOA-KK<span lang="TH">4 </span>KK<span lang="TH">07-037 </span>KK<span lang="TH">09-0844 และ </span>Si Samrong<span lang="TH">1 พบว่า ทุกสายพันธุ์มีจำนวน </span>SNPs <span lang="TH">และ </span>INDELs <span lang="TH">มากว่า 1</span>,<span lang="TH">900</span>,<span lang="TH">000 และ 23</span>,<span lang="TH">000 ตำแหน่ง ตามลำดับ ส่วนแผนภาพตันไม้แสดงสายวิวัฒนาการที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มยีนสังเคราะห์น้ำตาลซูโครส ด้วยวิธี </span>Maximum Likelihood method <span lang="TH">พบการจัดกลุ่มยีนสังเคราะห์น้ำตาลซูโครสเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ที่สอดคล้องกับค่า </span>Commercial Cane Sugar<span lang="TH"> (</span>C<span lang="TH">.</span>C<span lang="TH">.</span>S<span lang="TH">.</span>) <span lang="TH">ของสายพันธุ์อ้อย โดย กลุ่มที่ 1 มีค่า </span>C<span lang="TH">.</span>C<span lang="TH">.</span>S<span lang="TH">. อยู่ในช่วง 9-12 และกลุ่มที่ 2 มีค่า </span>C<span lang="TH">.</span>C<span lang="TH">.</span>S<span lang="TH">. อยู่ในช่วง 13-15 นอกจากผลการจัดกลุ่มยีนสังเคราะห์น้ำตาลซูโครสแล้วเทคนิคนี้ให้ลำดับเบสที่สามารถนำมาใช้เป็นลำดับเบสอ้างอิงในการศึกษาวิจัยบริเวณยีนอื่นๆที่สนใจในอ้อยในอนาคตต่อไปได้</span></span></span></p>
2025-06-29T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025 คณะเกษตรและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยนครพนม
https://li05.tci-thaijo.org/index.php/JAgriGMS/article/view/713
ผลของปุ๋ยไนโตรเจน ต่อผลผลิตและองค์ประกอบผลผลิตของอ้อยโคลนดีเด่น เพื่อการจัดการปุ๋ยไนโตรเจนสำหรับการปลูกอ้อยเขตชลประทานและน้ำเสริม
2025-04-03T20:40:15+07:00
Wasana Wandee
n_khaokaew@hotmail.com
ปิยธิดา อินทร์สุข
piyatida.6312@gmail.com
อุดมศักดิ์ ดวนมีสุข
udom1500@gmail.com
<p>ธาตุไนโตรเจน มีความสำคัญต่อการสังเคราะห์แสง กระตุ้นการเจริญเติบโตทางด้านลำต้นและการแตกกอ รวมถึงการสะสมน้ำตาลก่อนระยะสุกแก่ของอ้อย ซึ่งมีความสัมพันธ์กับการให้ผลผลิต ความหวาน และองค์ประกอบผลผลิต งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของปุ๋ยไนโตรเจนต่อการให้ผลผลิตและองค์ประกอบผลผลิตของอ้อยโคลนดีเด่นที่ปลูกในสภาพชลประทานและน้ำเสริม สำหรับใช้เป็นคำแนะนำการจัดการปุ๋ยไนโตรเจนในการผลิตอ้อยโคลนดีเด่น ดำเนินการวิจัย ณ แปลงทดลอง ศูนย์วิจัยพืชไร่สุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี ระหว่างปี 2565-2567 ในอ้อยปลูกและอ้อยตอ 1 วางแผนการทดลองแบบ Split plot in RCB จำนวน 3 ซ้ำ ปัจจัยหลัก (main plot) คือ โคลนอ้อยดีเด่น/พันธุ์อ้อย จำนวน 5 โคลน/พันธุ์ (UT15-060, UT15-094, UT10-044, ขอนแก่น 3, LK92-11) ปัจจัยรอง (sub plot) คือ การใส่ปุ๋ยไนโตรเจน 5 อัตรา (อ้อยปลูก อัตรา 0, 7.5, 15, 22.5, 30 และอ้อยตอ 1 อัตรา 0, 9, 18, 27, 36 กิโลกรัมไนโตรเจนต่อไร่) ร่วมกับปุ๋ยฟอสฟอรัสและโพแทสเซียม อัตรา 3 และ 6 กิโลกรัม P<sub>2</sub>O<sub>5</sub> และ K<sub>2</sub>O ต่อไร่</p> <p>ผลการทดลองพบว่า ในอ้อยปลูก ไม่มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยหลักและปัจจัยรอง ทั้งในด้านผลผลิตอ้อย ค่าซีซีเอส และผลผลิตน้ำตาล การใส่ปุ๋ยไนโตรเจน ทุกอัตรา มีผลทำให้ผลผลิตอ้อยและผลผลิตน้ำตาลเพิ่มขึ้น อยู่ระหว่าง 20.95-22.52 ตันต่อไร่ และ 2.79-3.05 ตันซีซีเอสต่อไร่ ซึ่งสูงกว่าการไม่ใส่ปุ๋ยไนโตรเจน สำหรับอ้อยตอ 1 พบว่า มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยหลักและปัจจัยรองในด้านผลผลิตอ้อย การใส่ปุ๋ยไนโตรเจนอัตราต่างๆ มีผลทำให้โคลนดีเด่นแต่ละโคลน ให้ผลผลิตอ้อยแตกต่างกัน โดยโคลนดีเด่น UT15-060, UT15-094 และ UT10-044 ให้ผลผลิตอ้อยสูงสุด เท่ากับ 19.59, 19.19 และ 20.95 ตันต่อไร่ เมื่อมีการใส่ปุ๋ยไนโตรเจน อัตรา 18, 27 และ 36 กิโลกรัมไนโตรเจนต่อไร่ ตามลำดับ ซึ่งสูงกว่าการไม่ใส่ปุ๋ยไนโตรเจน สำหรับผลผลิตน้ำตาล การใส่ปุ๋ยไนโตรเจน อัตรา 18, 27 และ 36 กิโลกรัมไนโตรเจนต่อไร่ มีผลทำให้ผลผลิตน้ำตาลเพิ่มขึ้น อยู่ระหว่าง 2.70-2.86 ตันซีซีเอสต่อไร่ ซึ่งสูงกว่าการไม่ใส่ปุ๋ยไนโตรเจน ดังนั้น การจัดการปุ๋ยไนโตรเจนสำหรับการผลิตโคลนอ้อยดีเด่น UT15-060, UT15-094 และ UT10-044 ในอ้อยปลูก ควรใส่ปุ๋ยไนโตรเจน อัตรา 7.5 กิโลกรัมไนโตรเจนต่อไร่ ร่วมกับปุ๋ยฟอสฟอรัสและโพแทสเซียม อัตรา 3 และ 6 กิโลกรัม P<sub>2</sub>O<sub>5</sub> และ K<sub>2</sub>O ต่อไร่ และในอ้อยตอ 1 ควรใส่ปุ๋ยไนโตรเจน อัตรา 18 กิโลกรัมไนโตรเจนต่อไร่ ร่วมกับปุ๋ยฟอสฟอรัสและโพแทสเซียม อัตรา 3 และ 6 กิโลกรัม P<sub>2</sub>O<sub>5</sub> และ K<sub>2</sub>O ต่อไร่ จะส่งผลให้ได้ผลผลิตอ้อยและผลผลิตน้ำตาลเพิ่มขึ้น มีประสิทธิภาพการใช้ไนโตรเจนเพื่อสร้างผลผลิตสูง และได้รับผลตอบแทนทางเศรษฐกิจสูงสุด</p>
2025-06-29T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025 คณะเกษตรและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยนครพนม