วารสารเกษตรอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง
https://li05.tci-thaijo.org/index.php/JAgriGMS
<p><strong>สาระพอสังเขป</strong></p> <p> วารสารเกษตรอนุภุมิภาคลุ่มน้ำโขง (ออนไลน์) (Greater Mekong Sub-region Agricultural Journal (Online)) จัดทำขึ้นเพื่อเป็นสื่อกลางการเผยแพร่องค์ความรู้ แนวคิด เทคนิค วิธีการ หรือการพัฒนาสิ่งใหม่ในสาขาวิทยาศาสตร์เกษตร <strong>(พืชศาสตร์ สัตวศาสตร์ การประมง กีฎวิทยา </strong><strong>โรคพืช และสาขาวิชาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง)</strong> เทคโนโลยีชีวภาพวิทยาศาสตร์ประยุกต์ วิทยาศาสตร์การอาหาร เทคโนโลยีการอาหาร วิศวกรรมเกษตรและเทคโนโลยีเครื่องจักรกลเกษตร</p> <p> โดยมีกลุ่มเป้าหมายคือคณาจารย์ นักศึกษา และนักวิจัยทั้งในและนอกสถาบัน โดยบทความที่ส่งมาเพื่อพิจารณาตีพิมพ์จะต้องไม่เป็นผลงานวิจัย/วิชาการที่เคยได้รับการเผยแพร่ในวารสารใดมาก่อน หรือไม่อยู่ในระหว่างการพิจารณาตีพิมพ์ของวารสารอื่น เทคโนโลยีทางการเกษตร และวิทยาศาสตร์การอาหาร เพื่อส่งเสริมและกระตุ้นให้เกิดผลงานวิจัยและผลงานทางวิชาการในเชิงวิทยาศาสตร์ พร้อมทั้งเป็นแหล่งเรียนรู้ในรูปแบบผลงานทางวิชาการที่เป็นประโยชน์ต่อการศึกษาค้นคว้าที่สามารถตรวจสอบและอ้างอิงได้</p> <p><strong>วัตถุประสงค์</strong></p> <p> วารสารเกษตรอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง (ออนไลน์) มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นแหล่งเผยแพร่บทความวิจัยบทความทางวิชาการ ทางด้านเกษตรศาสตร์ และเทคโนโลยีการเกษตร วิทยาศาสตร์การอาหาร โดยมีกลุ่มเป้าหมายคือคณาจารย์ นักศึกษา นักวิจัย และนักวิชาการทั้งภายในและภายนอกสถาบัน</p> <p> </p> <p> </p> <p> </p>
วารสารเกษตรอนุภูมิภาคเกษตรลุ่มน้ำโขง
th-TH
วารสารเกษตรอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง
3056-9478
<p>บทความลิขสิทธิ์ที่ได้รับการตรีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารเกษตรอนุภาคภูมิภาคลุ่มน้ำโขง คณะเกษตรและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยนครพนม</p>
-
ผลของสารสกัดหยาบจากเปลือกมังคุดที่มีต่อการเจริญเติบโตของ ปลาดุกอุยที่เลี้ยงในบ่อซีเมนต์
https://li05.tci-thaijo.org/index.php/JAgriGMS/article/view/600
<p><strong>บทคัดย่อ </strong></p> <p>ผลของการเสริมสารสกัดหยาบจากเปลือกมังคุดที่มีต่อการเจริญเติบโตของปลาดุกอุยที่เลี้ยงในบ่อซีเมนต์ ศึกษาโดยการวางแผนการทดลองแบบสุ่มอย่างสมบูรณ์ (Completely Randomized Design ; CRD) ประกอบด้วย 4 ชุดการทดลอง ๆ ละ 3 ซ้ำ โดยใช้อาหารเม็ดสำเร็จรูป (ไฮเกร์ด) ที่มีระดับโปรตีน 42 เปอร์เซ็นต์ กำหนดให้ชุดการทดลองที่ 1 (T1) อาหารสำเร็จรูป 200 กรัม ผสมสารสกัดหยาบเปลือกมังคุด 25 เปอร์เซ็นต์ ชุดการทดลองที่ 2 (T2) อาหารสำเร็จรูป 200 กรัม ผสมสารสกัดหยาบเปลือกมังคุด 50 เปอร์เซ็นต์ ชุดการทดลองที่ 3 (T3) อาหารสำเร็จรูป 200 กรัม ผสมสารสกัดหยาบเปลือกมังคุด 100 เปอร์เซ็นต์ และ ชุดการทดลองที่ 4 (T4) อาหารสำเร็จรูป 200 กรัม (ชุดควบคุม) ทำการปล่อยปลาดุกอุยน้ำหนักเริ่มต้น 6.76±0.45 กรัม ความยาว 12.54±1.39 เซนติเมตร และทำการสุ่มชั่งน้ำหนักและวัดความยาว เมื่อเลี้ยงได้ 30, 60 และ 90 วัน ของการทดลอง พบว่า T1 มีอัตราการเจริญเติบโตด้านน้ำหนักเฉลี่ยเพิ่มขึ้น ด้านความยาวเฉลี่ยที่เพิ่มขึ้น ด้านอัตราการรอดตาย ด้านอัตราการเปลี่ยนอาหารเป็นเนื้อ ด้านอัตราการเจริญเติบโตที่เพิ่มขึ้นเฉลี่ยต่อวัน และ ด้านอัตราการเจริญเติบโตจำเพาะของปลาดุกอุย มีอัตราการเจริญเติบโตทั้ง 6 ด้านดีที่สุด เมื่อเลี้ยงครบ 90 วัน นำไปวิเคราะห์ความแปรปรวนทางสถิติ พบว่า อัตราการเจริญเติบโตด้านน้ำหนักที่เพิ่มขึ้น ด้านอัตราการเปลี่ยนอาหารเป็นเนื้อ มีความแตกต่างกันทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญยิ่ง (p<0.01) ส่วนด้านความยาวเฉลี่ยเพิ่มขึ้น ด้านอัตราการรอดตาย ด้านอัตราการเจริญเติบโตเฉลี่ยที่เพิ่มขึ้นต่อวัน และด้านอัตราการเจริญเติบโตจำเพาะ ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ (p>0.05) ดังนั้นการศึกษาครั้งนี้แสดงถึงผลของการเสริมสมุนไพรมีผลต่ออัตราการเจริญเติบโตของปลาดุกอุย</p> <p> </p> <p><strong>คำสำคัญ </strong><strong>: </strong>เปลือกมังคุด ปลาดุกอุย การเลี้ยง</p>
Adithepchaikarn Pachanawan
Copyright (c) 2024 คณะเกษตรและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยนครพนม
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-12-27
2024-12-27
1 2
25
32
-
ผลของปุ๋ยไนโตรเจนต่อการเจริญเติบโต และขนาดเมล็ดของข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ลูกผสมอายุสั้นที่ปลูกบนชุดดินวังไฮ
https://li05.tci-thaijo.org/index.php/JAgriGMS/article/view/577
<p>ไนโตรเจนเป็นธาตุอาหารหลักมีบทบาทสำคัญต่อการเจริญเติบโตของข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งระยะสร้างเมล็ด ช่วยส่งเสริมการสร้างคลอโรฟิลล์ ทำให้พืชสามารถสังเคราะห์แสงได้ดีขึ้น งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการใช้ปุ๋ยไนโตรเจนต่อการเจริญเติบโต และขนาดเมล็ดของข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ลูกผสมอายุสั้นที่ปลูกบนชุดดินวังไฮ ดำเนินการทดลองที่ศูนย์วิจัยพืชไร่นครสวรรค์ ตำบลสุขสำราญ อำเภอตากฟ้า จังหวัดนครสรรค์ วางแผนการทดลองแบบ Randomized Complete Block Design (RCBD) จำนวน 4 ซ้ำ ประกอบด้วย 6 กรรมวิธีทดลอง ได้แก่ กรรมวิธีทดลองที่ 1 ไม่ใส่ปุ๋ยไนโตรเจน กรรมวิธีทดลองที่ 2 - 6 ใส่ปุ๋ยไนโตรเจน 5 10 15 20 และ30 กก./ไร่ (ปุ๋ยไนโตรเจน 0.5 1.0 1.5 2.0 และ3.0 เท่าของคำแนะนำตามค่าวิเคราะห์ดิน) ตามลำดับ ผลการทดลองพบว่า การใส่ปุ๋ยไนโตรเจนส่งผลให้ความสูง เปอร์เซ็นต์กะเทาะ และค่า SCMR ของข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ลูกผสมอายุสั้น เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อเปรียบเทียบกับตำรับการทดลองที่ไม่ใส่ปุ๋ยไนโตรเจน โดยการใส่ปุ๋ยไนโตรเจนในอัตรา 20 กก./ไร่ (ปุ๋ยไนโตรเจน 2.0 เท่าของคำแนะนำตามค่าวิเคราะห์ดิน) ส่งผลให้ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ให้ผลผลิต น้ำหนัก 100 เมล็ด ขนาดเมล็ด และมีความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์มากที่สุด ดังนั้น เพื่อผลิตข้าวโพดให้ได้ผลผลิตสูง คุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ และใช้ปุ๋ยได้อย่างมีประสิทธิภาพควรมีการวิเคราะห์ดินก่อนการปลูก และควรใส่ปุ๋ยในอัตรา 20-5-15 (N-P<sub>2</sub>O<sub>5</sub>-K<sub>2</sub>O) กก./ไร่ เป็นวิธีการที่เหมาะสมต่อปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ลูกผสมอายุสั้นบนชุดดินวังไฮ</p>
ณัฐกิตติ์ เพชรหมื่นไว
Copyright (c) 2024 คณะเกษตรและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยนครพนม
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-12-27
2024-12-27
1 2
1
14
-
การศึกษาสมรรถนะการทำงานของเครื่องอัดฟ่อนชนิดกึ่งอัตโนมัติ
https://li05.tci-thaijo.org/index.php/JAgriGMS/article/view/548
<p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสมรรถนะการทำงานของเครื่องอัดฟ่อนชนิดกึ่งอัตโนมัติ โดยทำการศึกษาข้อมูลการอัดฟ่อนโดยใช้เครื่องอัดฟ่อนชนิดกึ่งอัตโนมัติ ศึกษากลไกการทำงาน และทดสอบประเมินผลสมรรถนะการทำงาน ผลการศึกษาพบว่า เครื่องอัดฟ่อนกึ่งอัตโนมัติที่เกษตรกรส่วนใหญ่นิยมใช้ เป็นแบบอัดฟ่อนแนวนอนป้อนฟางเข้าด้านข้าง ใช้ต้นกำลังเป็นเครื่องยนต์เล็กดีเซลขนาด 9-12 แรงม้า ต่อพ่วงเพื่อลากเข้ากับรถไถนาเดินตาม กระบวนการทำงานใช้คนทำงานร่วมกับเครื่องจักรจำนวน 4-5 คน กลไกของเครื่องฯจะทำงานอยู่ 2 ขั้นตอนคือ กลไกการกวาดฟาง และกลไกการอัดฟ่อน การทดสอบประเมินผลสมรรถนะการทำงาน พบว่า อัตราการทำงานสูงสุดที่รอบต้นกำลัง 1,400 รอบต่อนาที ได้อัตราการทำงาน 607.67 กิโลกรัมต่อชั่วโมง (151.91 กิโลกรัม-คนต่อชั่วโมง) ประสิทธิภาพเชิงวัสดุ 85.71 เปอร์เซ็นต์ และความหนาแน่นของฟางอัดฟ่อน 87.92 กิโลกรัม/ลูกบาศก์เมตร เครื่องอัดฟ่อนชนิดดังกล่าวนี้มีแนวโน้มที่จะพัฒนาสมรรถนะการทำงานให้สูงขึ้นได้ และให้มีความเหมาะสมในการใช้งานกับเกษตรกรระดับครัวเรือนหรือฟาร์มปศุสัตว์ขนาดเล็ก</p>
Watcharin Kiaokrai
Copyright (c) 2024 คณะเกษตรและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยนครพนม
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-12-27
2024-12-27
1 2
15
24