วารสารเกษตรอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง https://li05.tci-thaijo.org/index.php/JAgriGMS <p><strong>สาระพอสังเขป</strong></p> <p> วารสารเกษตรอนุภุมิภาคลุ่มน้ำโขง (ออนไลน์) (Greater Mekong Sub-region Agricultural Journal (Online)) จัดทำขึ้นเพื่อเป็นสื่อกลางการเผยแพร่องค์ความรู้ แนวคิด เทคนิค วิธีการ หรือการพัฒนาสิ่งใหม่ในสาขาวิทยาศาสตร์เกษตร <strong>(พืชศาสตร์ สัตวศาสตร์ การประมง กีฎวิทยา </strong><strong>โรคพืช และสาขาวิชาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง)</strong> เทคโนโลยีชีวภาพวิทยาศาสตร์ประยุกต์ วิทยาศาสตร์การอาหาร เทคโนโลยีการอาหาร วิศวกรรมเกษตรและเทคโนโลยีเครื่องจักรกลเกษตร</p> <p> โดยมีกลุ่มเป้าหมายคือคณาจารย์ นักศึกษา และนักวิจัยทั้งในและนอกสถาบัน โดยบทความที่ส่งมาเพื่อพิจารณาตีพิมพ์จะต้องไม่เป็นผลงานวิจัย/วิชาการที่เคยได้รับการเผยแพร่ในวารสารใดมาก่อน หรือไม่อยู่ในระหว่างการพิจารณาตีพิมพ์ของวารสารอื่น เทคโนโลยีทางการเกษตร และวิทยาศาสตร์การอาหาร เพื่อส่งเสริมและกระตุ้นให้เกิดผลงานวิจัยและผลงานทางวิชาการในเชิงวิทยาศาสตร์ พร้อมทั้งเป็นแหล่งเรียนรู้ในรูปแบบผลงานทางวิชาการที่เป็นประโยชน์ต่อการศึกษาค้นคว้าที่สามารถตรวจสอบและอ้างอิงได้</p> <p><strong>วัตถุประสงค์</strong></p> <p> วารสารเกษตรอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง (ออนไลน์) มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นแหล่งเผยแพร่บทความวิจัยบทความทางวิชาการ ทางด้านเกษตรศาสตร์ และเทคโนโลยีการเกษตร วิทยาศาสตร์การอาหาร โดยมีกลุ่มเป้าหมายคือคณาจารย์ นักศึกษา นักวิจัย และนักวิชาการทั้งภายในและภายนอกสถาบัน</p> <p> </p> <p> </p> <p> </p> th-TH <p>บทความลิขสิทธิ์ที่ได้รับการตรีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารเกษตรอนุภาคภูมิภาคลุ่มน้ำโขง คณะเกษตรและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยนครพนม</p> Journal_agri@ms.npu.ac.th (ผศ.ดร.อดิเทพชัยย์การณ์ ภาชนะวรรณ) journal_agri@ms.npu.ac.th (ดร.พรทิพย์ พุทธโส และ นางสาวสาลินี สร้อยสังวาลย์) Tue, 18 Jun 2024 00:00:00 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 การพัฒนาแครกเกอร์แป้งข้าวฮางงอกเสริมผงผักเคล https://li05.tci-thaijo.org/index.php/JAgriGMS/article/view/446 <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของปริมาณการเสริมผงผักเคลที่ร้อยละ 0 2.5 5.0 และ 7.5 โดยน้ำหนัก (สูตรที่ 1 2 3 และ 4) ต่อคุณภาพด้านเคมีกายภาพและการยอมรับทางประสาทสัมผัสของผู้บริโภค ผลการศึกษาพบว่าการเสริมผงผักเคลส่งผลให้คุณภาพด้านสี เนื้อสัมผัส อัตราการขยายตัวและค่าวอเตอร์แอคติวิตี้ของผลิตภัณฑ์ (สูตรที่ 2 ถึง 4) มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อเทียบกับสูตรที่ไม่เสริมผงผักเคล (สูตรที่ 1) ปริมาณผงผักเคลที่เพิ่มขึ้นทำให้ ค่า <em>L* a* b*</em> และ <em>C*</em> ลดลง โดยสูตรที่ 4 ที่มีปริมาณผงผักเคลร้อยละ 7.5 มีค่า <em>L* a* b*</em> และ <em>C*</em> น้อยที่สุด คือ 34.23, -0.29, 14.35 และ 103.1 ตามลำดับ ผลิตภัณฑ์แครกเกอร์แป้งข้าวฮางงอกที่เสริมผงผักเคลมีเฉดสีอยู่ในช่วงเหลืองถึงเขียว (ค่า h◦ อยู่ระหว่าง 90◦ ถึง 180◦) ส่วนที่ไม่มีการเสริมผงผักเคลจะมีเฉดสีแดงถึงสีเหลือง (ค่า h◦ อยู่ระหว่าง 0 ถึง 90◦) และพบว่าสูตรที่เสริมผงผักเคลมีค่าอัตราการขยายตัวอยู่ในช่วงระหว่าง 7.00 ถึง 8.49 และมีค่าความแข็งที่ 2,105.00 ถึง 2,494.08 กรัม ซึ่งต่ำกว่าสูตรที่ 1 ที่ไม่เสริมผงผักเคล ซึ่งมีค่าอยู่ที่ 12.83 และ 3,236.67 กรัม ตามลำดับ ตัวอย่างทุกสูตรมีค่าวอเตอร์แอคติวิตี้ของผลิตภัณฑ์อยู่ในช่วงระหว่าง 0.3797 ถึง 0.5822 ซึ่งมีค่าต่ำกว่า 0.6 โดยอยู่ใน มผช. 523/ 2563 แครกเกอร์สูตรที่เสริมผงผักเคลที่ร้อยละ 5.0 เป็นสูตรที่ผู้บริโภคให้คะแนนการยอบรับทางประสาทสัมผัสด้านความชอบโดยรวมสูงที่สุดโดยมีค่าอยู่ที่ 7.53</p> Krittika Chunwijitra Copyright (c) 2024 คณะเกษตรและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยนครพนม https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://li05.tci-thaijo.org/index.php/JAgriGMS/article/view/446 Tue, 18 Jun 2024 00:00:00 +0700 ผลของการบ่มท่อนพันธุ์ต่อการงอกและการเจริญเติบโตของมันสำปะหลังพันธุ์เกษตรศาสตร์ 50 https://li05.tci-thaijo.org/index.php/JAgriGMS/article/view/447 <p>ปัจจุบันมีการนำมันสำปะหลังมาใช้เป็นอาหารมนุษย์และสัตว์ รวมไปถึงนำมาเป็นพืชที่สามารถแก้ไขปัญหาวิกฤตการณ์ทางด้านพลังงาน แต่ยังคงมีปัจจัยที่ส่งผลต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของมันสำปะหลังต่ำ ไม่เพียงพอต่อความต้องการในการใช้ประโยชน์ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบผลของการบ่มท่อนพันธุ์มันสำปะหลังต่อการงอกและการเจริญเติบโต ทำการทดลองโดยใช้พันธุ์เกษตรศาสตร์ 50 ปลูกที่สาขาวิชาพืชศาสตร์ คณะเกษตรและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยนครพนม วางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ (Completely Randomized Design; CRD) มีจำนวน 4 ตำรับ 4 ซ้ำ ประกอบไปด้วย ตำรับทดลองที่ 1 (T1) คือ ไม่มีการบ่ม (Control) ตำรับทดลองที่ 2 (T2) คือ บ่มเป็นเวลา 2 วัน ตำรับทดลองที่ 3 (T3) คือ บ่มเป็นเวลา 4 วัน และตำรับทดลองที่ 4 (T4) คือ บ่มเป็นเวลา 6 วัน จากการศึกษาผลของการบ่มท่อนพันธุ์มันสำปะหลังพันธุ์เกษตรศาสตร์ 50 ต่อการงอกและการเจริญเติบโต พบว่า การบ่มท่อนพันธุ์มันสำปะหลังเป็นเวลา 6 วัน มีการงอกและเจริญเติบโตได้ดีที่สุด ในลักษณะ จำนวนที่งอก น้ำหนักแห้งของลำต้น น้ำหนักแห้งของราก เนื่องจากการบ่มท่อนพันธุ์มันสำปะหลังมีความชื้น จึงทำให้การงอกของตามันสำปะหลังงอกเพิ่มมากขึ้นและมีอัตราการรอดตายมากขึ้น</p> Phakorn Phunthupan Copyright (c) 2024 คณะเกษตรและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยนครพนม https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://li05.tci-thaijo.org/index.php/JAgriGMS/article/view/447 Tue, 18 Jun 2024 00:00:00 +0700 การอบแห้งสับปะรดโดยใช้เครื่องอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์ ร่วมกับรังสีอินฟราเรดที่ควบคุมด้วยอินเตอร์เน็ตของทุกสรรพสิ่ง https://li05.tci-thaijo.org/index.php/JAgriGMS/article/view/516 <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเทคนิคการอบแห้งสับปะรดท่าอุเทนซึ่งเป็นผลไม้ขึ้นชื่อเฉพาะถิ่นของอำเภอท่าอุเทน ในจังหวัดนครพนม ด้วยเทคนิคการอบแห้งแบบผสมผสานระหว่างแสงอาทิตย์กับอินฟราเรดที่มีระบบการควบคุมการทำงานของพัดลมดูดความชื้นด้วยระบบอินเตอร์เน็ตของทุกสรรพสิ่ง (Internet Of Things, IOT) โดยมีวิธีการทดลองคือใช้การอบแห้งแบบแสงอาทิตย์ในช่วงเวลา 8.00 – 17.00 น. ซึ่งในระหว่างทำการอบแห้งนั้นก็จะมีการกักเก็บพลังงานจากแสงอาทิตย์ด้วยโซล่าเซลล์เก็บไว้ยังแบตเตอรี่ในรูปแบบของพลังงานทางไฟฟ้าเพื่อนำไปใช้กับการอบแห้งด้วยเทคนิคการใช้อินฟราเรด (Infrared, IR) ในช่วงเวลากลางคืนที่ไม่มีแสงแดดเวลา 18.00 – 20.00 น. ผลจากการทดลองพบว่าการอบแห้งที่มีการควบคุมด้วยระบบ IOT จะมีอุณหภูมิในห้องอบแห้งที่สูงกว่าระบบที่ไม่มีการควบคุมอีกทั้งการนำอินฟราเรดมาใช้ร่วมกับการอบแห้งแบบแสงอาทิตย์ก็จะช่วยเพิ่มอัตราการอบแห้งและลดเวลาในการอบแห้งได้อย่างรวดเร็ว</p> กานต์ กอมณี Copyright (c) 2024 คณะเกษตรและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยนครพนม https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://li05.tci-thaijo.org/index.php/JAgriGMS/article/view/516 Tue, 18 Jun 2024 00:00:00 +0700 การประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพจากสารพิษตกค้างในผลไม้พื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน https://li05.tci-thaijo.org/index.php/JAgriGMS/article/view/372 <p>การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อติดตามและประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพจากสารพิษตกค้างในผลไม้พื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน โดยเก็บตัวอย่างมะม่วง 4 ชนิด ได้แก่ มะม่วงน้ำดอกไม้ มะม่วงมหาชนก มะม่วงเขียวเสวย และมะม่วงฟ้าลั่น จากพื้นที่เกษตรกรปลูกผลไม้เชิงพาณิชย์ ในพื้นที่จังหวัดขอนแก่น ชัยภูมิ กาฬสินธุ์ อุดรธานี และสกลนคร จำนวน 12 หมู่บ้าน ระหว่างเดือนมกราคม - พฤษภาคม 2566 สกัดตัวอย่างด้วยวิธี QuEChERS วิเคราะห์หาสารพิษตกค้างจำนวน 228 ชนิดสาร ด้วยเครื่อง LC-MS/MS ณ สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 3 จำนวน 47 ตัวอย่าง พบสารพิษตกค้าง จำนวน 19 ตัวอย่าง คิดเป็น 40.42% ปริมาณที่ตรวจพบอยู่ในช่วง 0.01-0.67 มก./กก. ชนิดสารที่ตรวจพบ 8 ชนิด ได้แก่ carbendazim, clothianidin, imidacloprid, lamda-cyhalothrin, metalaxyl, profenofos, pyraclostrobin และ thaiamethoxam การประเมินระดับความเสี่ยงต่อผู้บริโภค โดยใช้ข้อมูลชนิดและปริมาณสารพิษตกค้างในผลผลิต คำนวณค่า HQ (Hazard Quotient) และค่า HI (hazard index) โดย ค่า HI &gt; 100 หมายถึง สารพิษตกค้างอยู่ในระดับเสี่ยงต่อผู้บริโภค พบว่า ค่า HI มีค่าระหว่าง 0.20 - 13.70% ไม่มีความเสี่ยงต่อการบริโภค อย่างไรก็ตามเพื่อความปลอดภัยเกษตรกรยังคงมีความจำเป็นต้องระมัดระวังการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชอย่างถูกต้อง</p> นางสาวณัฏฐ์ชยธร ขัตติยะพุฒิเมธ, จารุพงศ์ ประสพสุข, ประภัสสร สีลารักษ์, วัชราพร ศรีสว่างวงศ์ Copyright (c) 2024 คณะเกษตรและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยนครพนม https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://li05.tci-thaijo.org/index.php/JAgriGMS/article/view/372 Tue, 18 Jun 2024 00:00:00 +0700 ผลของแสง LED ต่อการงอกของเมล็ดมะเขือเทศ https://li05.tci-thaijo.org/index.php/JAgriGMS/article/view/445 <p>LED เป็นแสงที่มีการประยุกต์ใช้ในการเกษตรทดแทนแสงอาทิตย์จากธรรมชาติที่สามารถเพิ่มผลผลิตได้ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแสง LED ที่สามารถกระตุ้นการงอกของเมล็ดมะเขือเทศ โดยวางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ (Completely Randomized Design; CRD) โดยมี 6 กรรมวิธี คือ 1) ไม่ให้แสงกับเมล็ดมะเขือเทศ 2) ให้แสงห้องปกติกับเมล็ดมะเขือเทศ 3) หลอด LED สีแดง 4) หลอด LED สีน้ำเงิน 5)หลอด LED สีขาว และ 6) หลอด LED สีแดง+น้ำเงิน (1:1) ทำการทดลอง 3 ซ้ำ ๆ ละ 50 เมล็ด ให้แสงวันละ 16 ชั่วโมงต่อวัน พบว่า เมล็ดที่งอกภายใต้แสง LED สีน้ำเงิน ขาว และสีแดง+น้ำเงิน (1:1) มีเปอร์เซ็นต์การงอกที่สูง (76.00, 80.67, 78.00 % ตามลำดับ) จำนวนเมล็ดเฉลี่ยที่นับงอกวันแรก (21.67, 25.00, 22.67 ตามลำดับ) ดัชนีความงอก (6.34, 6.15, 6.10), น้ำหนักสด (36.75, 37.27, 30.75 มิลลิกรัม ตามลำดับ) และ มีค่า biomass index (15.31, 13.04, 16.60 ตามลำดับ) เมื่อเปรียบเทียบกับเมล็ดที่ไม่ได้รับแสงและเมล็ดที่ได้รับแสงปกติ ยกเว้นเมล็ดที่ได้รับแสงจากหลอด LED สีแดง ซึ่งงานวิจัยนี้สามารถนำมาใช้เพื่อส่งเสริมคุณภาพของต้นกล้ามะเขือเทศได้</p> ชัชวาล แสงฤทธิ์ Copyright (c) 2024 คณะเกษตรและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยนครพนม https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://li05.tci-thaijo.org/index.php/JAgriGMS/article/view/445 Tue, 18 Jun 2024 00:00:00 +0700