https://li05.tci-thaijo.org/index.php/JSAI/issue/feed วารสารวิทยาศาสตร์และนวัตกรรมเชิงพื้นที่ 2024-04-21T00:00:00+07:00 ผศ.ดร.ธนากร แสงสง่า thanakorn.s@nrru.ac.th Open Journal Systems <p><strong>วารสารวิทยาศาสตร์และนวัตกรรมเชิงพื้นที่</strong> <strong>(Journal of Science and Area-based Innovation: JSAI)</strong> เป็นวารสารของสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา มีวัตถุประสงค์เพื่อตีพิมพ์และเผยแพร่บทความวิชาการ บทความวิจัย และผลงานวิจัยที่ใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมที่นําไปแก้ไขปัญหาและพัฒนาเชิงพื้นที่ในระดับกลุ่ม ชุมชน หมู่บ้าน ตำบล จังหวัดหรือกลุ่มจังหวัด</p> <p style="font-size: 11.0pt; font-family: 'Calibri',sans-serif; margin: 0cm 0cm .0001pt 0cm;"><span style="font-family: Verdana, Geneva, sans-serif; font-size: 18px;"><strong><span style="line-height: 107%; color: #2969b0;">วัตถุประสงค์และขอบเขต</span></strong></span></p> <p style="font-size: 11.0pt; font-family: 'Calibri',sans-serif; margin: 0cm 0cm .0001pt 0cm;"><span style="font-size: 16px; line-height: 107%; font-family: Verdana, Geneva, sans-serif;">วารสารวิทยาศาสตร์และนวัตกรรมท้องถิ่น เป็นวารสารเผยแพร่แบบออนไลน์ รับพิจารณาบทความวิจัยและบทความวิชาการด้านการนำวิทยาศาสตร์และนวัตกรรมเชิงเพื่อการพัฒนาพื้นที่ในระดับต่าง ๆ 4 สาขา ดังนี้</span></p> <ol> <li style="font-family: Verdana, Geneva, sans-serif;"><span style="font-size: 16px; line-height: 107%;">วิทยาศาสตร์กายภาพและชีวภาพ</span></li> <li style="font-family: Verdana, Geneva, sans-serif;"><span style="font-size: 16px; line-height: 107%;">วิทยาศาสตร์สุขภาพ </span></li> <li style="font-family: Verdana, Geneva, sans-serif;"><span style="font-size: 16px; line-height: 107%;">วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี </span></li> <li style="font-family: Verdana, Geneva, sans-serif;"><span style="font-size: 16px; line-height: 107%;">นวัตกรรมเชิงพื้นที่</span></li> </ol> <p style="font-size: 11.0pt; font-family: 'Calibri',sans-serif; text-align: justify; margin: 0cm 0cm .0001pt 0cm;"><span style="font-family: Verdana, Geneva, sans-serif; font-size: 18px;"><strong><span style="line-height: 107%; color: #2969b0;">ประเภทของบทความ</span></strong></span></p> <ol> <li style="margin-top: 0cm; margin-right: 0cm; margin-bottom: 0.0001pt; font-size: 11pt; font-family: Verdana, Geneva, sans-serif; text-align: justify;"><span style="font-size: 16px; line-height: 107%;">บทความวิจัย (Research article) ที่มีลักษณะและรูปแบบการวิจัยตามหลักวิชาการ เช่น ตั้งสมมุติฐานโดยระบุวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน ได้ค้นคว้าทดลองอย่างมีระบบ และสรุปผลการวิจัยที่จะนำไปใช้ประโยชน์ต่อไป</span></li> <li style="margin-top: 0cm; margin-right: 0cm; margin-bottom: 0.0001pt; font-size: 11pt; font-family: Verdana, Geneva, sans-serif; text-align: justify;"><span style="font-size: 16px; line-height: 107%;">บทความปริทรรศน์ (Review article) ในลักษณะเชิงวิเคราะห์หรือวิจารณ์ และเสนอแนวคิดใหม่บนพื้นฐานวิชาการ อันก่อเกิดองค์ความรู้หรือสามารถประยุกต์ใช้ประโยชน์</span></li> </ol> https://li05.tci-thaijo.org/index.php/JSAI/article/view/326 การควบคุมการเกิดกรดฮาโลอะซิติกจากการฆ่าเชื้อโรคด้วยสารคลอรีนของระบบผลิตน้ำประปา 2024-01-11T14:40:10+07:00 พงศ์ธร แสงชูติ p.saengchut@gmail.com <p>การศึกษาโดยการรวบรวมข้อมูลจากบทความทางวิชาการและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับกรดฮาโลอะซิติกเพื่อเป็นข้อมูลสำหรับการปรับปรุงและการพัฒนาระบบผลิตน้ำประปาให้ดีขึ้น กรดฮาโลอะซิติกเป็นสารพลอยได้จากการฆ่าเชื้อโรคเกิดขึ้นจากปฏิกิริยาทางเคมี ระหว่างสารอินทรีย์ธรรมชาติในน้ำดิบกับสารคลอรีนที่ใช้ฆ่าเชื้อโรค ซึ่งความเข้มข้นของการเกิดกรดฮาโลอะซิติกอาศัย 5 ปัจจัย ได้แก่ ความเข้มข้นของสารอินทรีย์ธรรมชาติในน้ำ ความเข้มข้นของสารคลอรีน อุณหภูมิ พีเอช และระยะเวลาสัมผัส โดยกรดฮาโลอะซิติกมีศักยภาพสามารถก่อมะเร็งในมนุษย์ สามารถเข้าสู่ร่างกายจากการดื่ม-กิน การซึมผ่านผิวหนัง และการหายใจ นอกจากนี้กรดฮาโลอะซิติกสามารถคงค้างในสิ่งแวดล้อมได้นานกว่า 63 วัน ซึ่งทำให้เกิดการสะสมในห่วงโซ่อาหารได้ ดังนั้นต้องมีการควบคุม 5 ปัจจัยหลักให้เหมาะสม หรือใช้เทคโนโลยีในการกำจัดกรดฮาโลอะซิติกโดยตรง เช่น การใช้เมมเบรนที่มีประสิทธิภาพการกำจัดสูงถึงร้อยละ 90-100</p> 2024-04-21T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา https://li05.tci-thaijo.org/index.php/JSAI/article/view/257 การพัฒนานวัตกรรมผลิตภัณฑ์เคยปลาฉลาดโซเดียมต่ำของชุมชนป่าพรุควนเคร็ง อำเภอชะอวด จังหวัดนครศรีธรรมราช 2024-01-12T22:14:51+07:00 ฉัตรชัย สังข์ผุด jeesungpud@gmail.com สุริยะ จันทร์แก้ว suriya_cha@nstru.ac.th จีราภรณ์ สังข์ผุด eesungpud@hotmail.com อนุสรณ์ บรรลือพืช anusorn_bun@nstru.ac.th นุชวรา องศารา nutwara_ong@nstru.ac.th โชคชัย หมั่นถนอม chockchai_man@nstru.ac.th <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาเคยปลาฉลาดโซเดียมต่ำ เพื่อสร้างอัตลักษณ์ของผลิตภัณฑ์และส่งเสริมสุขภาพของประชนในพื้นที่ป่าพรุควนเคร็ง อำเภอชะอวด จังหวัดนครศรีธรรมราช วางแผนทดลองผลิตเคยปลาฉลาดโซเดียมต่ำโดยการทดแทนเกลือแกง (โซเดียมคลอไรด์, NaCl) ด้วยเกลือโพแทสเซียมคลอไรด์ (KCl) ในอัตราที่แตกต่างกัน 3 สูตร คือ สูตร 1 NaCl 100% สูตร 2 NaCl 75%+ KCl25% และสูตร 3 NaCl 50%+KCl 50% ผลการทดลองพบว่า เคยปลาฉลาดสูตรที่ใช้เกลือโพแทสเซียมคลอไรด์ 50% มีค่าปริมาณน้ำอิสระ และคุณภาพโดยรวมอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนเลขที่ มผช.61/2561 และสูตรที่ 3 สามารถลดปริมาณโซเดียมลงเท่ากับ 151.00 ± 3.6 mg/100g หรือปริมาณ 2 เท่าจากสูตรดั้งเดิม(100% NaCl) เมื่อนำผลิตภัณฑ์เคยปลาตำหรับน้ำยาขนมจีนปักษ์ใต้สูตรพรุควนเคร็งมาทดสอบการยอมรับของผู้บริโภค พบว่า ผู้บริโภคให้คะแนนยอมรับด้านความเค็มสูงสุดมีความแตกต่างจากสูตรอื่นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p&lt;0.05) นอกจากนี้ผู้ชิมให้คะแนนเฉลี่ยด้านลักษณะปรากฏ และสีที่ไม่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แสดงให้เห็นว่าผลิตภัณฑ์เคยปลาฉลาดสามารถใช้เกลือโพแทสเซียมคลอไรด์ทดแทนเกลือโซเดียมคลอไรด์ได้ในอัตราส่วนสูงสุด 50%</p> 2024-04-21T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา https://li05.tci-thaijo.org/index.php/JSAI/article/view/388 การเฝ้าระวังติดตามการแพร่กระจายดินเค็มจากการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศและการใช้ประโยชน์ที่ดินบริเวณ พื้นที่นาเกลือ จังหวัดนครราชสีมา 2024-03-18T10:42:24+07:00 ณภัทร น้อยน้ำใส noinumsai@windowslive.com <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการสำรวจ ติดตาม เฝ้าระวังการเปลี่ยนแปลงการแพร่กระจายดินเค็มบริเวณพื้นที่ใกล้กับสถานประกอบการเกลือสินเธาว์ ศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อระดับความรุนแรงการแพร่กระจายดินเค็ม ผลกระทบจากการแพร่กระจายดินเค็มพื้นที่เพาะปลูกพืชอาหาร วิเคราะห์และประเมินคุณภาพดินและน้ำบริเวณพื้นที่ดินเค็มใกล้เคียงสถานประกอบการเกลือสินเธาว์ พื้นที่ศึกษาเป็นพื้นที่ประสบปัญหาดินเค็ม ประกอบด้วยอำเภอโนนสูงและอำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา วิธีการสำรวจ ติดตาม เฝ้าระวังแบบมีส่วนร่วมของภาคประชาชนด้วยการสำรวจทางธรณีฟิสิกส์ร่วมกับวิธีการทดสอบคุณสมบัติดินในสนาม ผลการศึกษาพบว่าพื้นที่ส่วนใหญ่บริเวณทุ่งสัมฤทธิ์ปรากฏเห็นคราบเกลือเป็นบริเวณกว้างโดยเฉพาะพื้นที่ทำนา ส่วนพื้นที่ที่ไม่พบคราบเกลือบนผิวดินส่วนมากเป็นบริเวณที่มีการใช้ประโยชน์ที่ดินสำหรับทำพืชไร่ การใช้ประโยชน์ที่ดินพื้นที่นาข้าวปี พ.ศ. 2550 ลดลงจากปี พ.ศ.2543 จำนวน 1,662,844 ไร่ พื้นที่ปลูกมันสำปะหลังและอ้อยในปี พ.ศ. 2550 ลดลงจากปี พ.ศ. 2543 จำนวน 108,119 ไร่ และพื้นที่นาเกลือปี พ.ศ. 2550 ลดลงจากปี พ.ศ. 2543 จำนวน 1,197,970.71 ไร่ ลักษณะการเคลื่อนตัวของเกลือทั้ง 3 พื้นที่ศึกษา พบว่า โรงงานเกลือโนนสูง ตำบลโตนด และโรงงานเกลือโนนสูง ตำบลพลสงคราม มีลักษณะการเคลื่อนตัวคล้ายลักษณะดินชั้นบนที่เป็นดินทรายตะกอน ซึ่งมีความหนาแน่นต่ำทำให้เกลือมีการเคลื่อนตัวเร็วกว่าบริเวณโรงงานเกลือพิมาย ซึ่งมีดินชั้นบนเป็นดินเหนียวที่มีความหนาแน่นสูงทำชั้นเกลือค่อนข้างคงที่</p> 2024-04-21T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา https://li05.tci-thaijo.org/index.php/JSAI/article/view/391 ผลของการใช้เชื้อราไมคอร์ไรซาร่วมกับการใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในชุดดินจัตุรัส 2024-02-28T21:53:11+07:00 นพดล การดี pom_pum007@hotmail.com วิรุธ คงเมือง pom_pum007@hotmail.com ณภัทร น้อยน้ำใส noinumsai@windowslive.com <p>การศึกษาผลของการใช้เชื้อราไมคอร์ไรซาร่วมกับการใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินต่อการเจริญเติบโต และผลผลิตของข้าวโพดเลี้ยงสัตว์พันธุ์ไพโอเนีย 1463 และพันธุ์นครสวรรค์ 3 ในชุดดินจัตุรัส มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) ศึกษาการใช้เชื้อราไมคอร์ไรซา ร่วมกับปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินที่มีผลต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ 2) ศึกษาคุณสมบัติทางเคมีของดินก่อน และหลังการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ 3) ศึกษาปริมาณเชื้อราไมคอร์ไรซาที่อาศัยอยู่ในดินก่อนการปลูก และช่วงระยะการเจริญเติบโตของข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ โดยวางแผนการทดลองแบบ Randomized Complete Block Design (RCBD) ปรากฏผลภาพรวมดังนี้ คือ การใช้เชื้อราไมคอร์ไรซาร่วมกับการใช้ปุ๋ยเคมีตามค่าวิเคราะห์ดิน 75 เปอร์เซ็นต์ หรือการใช้ปุ๋ยเคมีตามค่าวิเคราะห์ดิน 75 เปอร์เซ็นต์อย่างเดียว ไม่มีผลต่อค่าความสูงต้นข้าวโพดอายุ 60 วัน และอายุ 120 วัน ทุกตำรับการทดลองพบว่า ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ การปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์พันธุ์ไพโอเนีย 1463 ร่วมกับปุ๋ยเคมี 75 เปอร์เซ็นต์ ตามค่าวิเคราะห์ดิน มีค่าน้ำหนักเมล็ดแห้ง ค่าน้ำหนักต้นสด ค่าน้ำหนักฝักปอกเปลือก และค่าน้ำหนักฝักไม่ปอกเปลือก มีค่ามากที่สุด เท่ากับ 14.70, 24.33, 23.67 และ 26.00 กิโลกรัม การปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์พันธุ์นครสวรรค์ 3 ร่วมกับปุ๋ยเคมี 75 เปอร์เซ็นต์ ตามค่าวิเคราะห์ดิน จำนวนฝักสมบูรณ์ จำนวนฝักไม่สมบูรณ์ และน้ำหนัก 100 เมล็ด มีค่ามากที่สุด เท่ากับ 100 ฝัก, 37 ฝัก และ 30.17 กรัม ขณะที่การปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์พันธุ์ไพโอเนีย 1463 ร่วมกับการใช้เชื้อราไมคอร์ไรซาและปุ๋ยเคมี 75 เปอร์เซ็นต์ ตามค่าวิเคราะห์ดิน มีค่าต่ำที่สุด การใช้เชื้อราไมคอร์ไรซาร่วมกับการใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน มีผลให้ความเป็นกรดเป็นด่าง (pH) ของดินอยู่ในระดับกรดเล็กน้อยถึงปานกลาง และมีค่าการนำไฟฟ้า (ECe) ของดินอยู่ในระดับไม่เค็ม นอกจากนี้ การปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์พันธุ์ไพโอเนีย 1463 ร่วมกับปุ๋ยเคมี 75 เปอร์เซ็นต์ ตามค่าวิเคราะห์ดิน มีผลให้ปริมาณธาตุอาหารในดินมีค่าสูงสุด อย่างไรก็ตามการใช้เชื้อราไมคอร์ไรซาร่วมกับการใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน หรือใช้ปุ๋ยเคมีอย่างเดียวติดต่อกัน 1 ปี มีผลให้สมบัติทางเคมีของดินในแนวโน้มที่ดีขึ้น สำหรับการใช้เชื้อราไมคอร์ไรซา ร่วมกับการใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินมีผลต่อปริมาณจำนวนสปอร์เชื้อราไมคอร์ไรซาที่ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์อายุ 60 วัน และอายุ 90 วัน พบว่าการเจริญเติบโตของข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่เพิ่มขึ้นทำให้การเจริญเติบโตของเชื้อราไมคอร์ไรซาเพิ่มขึ้นตามด้วย</p> 2024-04-21T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา https://li05.tci-thaijo.org/index.php/JSAI/article/view/406 การหาความสัมพันธ์ระหว่างอุณหภูมิพื้นผิวกับดัชนี NDVI NDWI และ NDBI ในเขตเทศบาลนครนครราชสีมา 2024-03-11T12:54:48+07:00 กิติยา แหนงกระโทก sarochinee.k@nrru.ac.th สโรชินี แก้วธานี sarochinee.k@nrru.ac.th <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อคำนวณอุณหภูมิพื้นผิวจากข้อมูลจากดาวเทียม Landsat 5 TM และดาวเทียม Landsat 8 OLI/TIRS และวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ระหว่างอุณหภูมิพื้นผิวกับดัชนีผลต่างพืชพรรณ (Normalized Differences Vegetation Index: NDVI) ดัชนีความต่างความชื้นของน้ำ (Normalized Differences Water Index : NDWI) และดัชนีผลต่างและความปกติสิ่งก่อสร้าง (Normalized Differences Built-up Index: NDBI) ในพื้นที่เขตเทศบาลนครนครราชสีมาในปี พ.ศ. 2552 และ ปี พ.ศ. 2564 โดยใช้ซอฟต์แวร์รหัสเปิด Google Earth Engine ผลการวิเคราะห์พบว่า ปี พ.ศ. 2552 ในช่วงฤดูร้อนอุณหภูมิพื้นผิวสูงสุดจาก 29.71 องศาเซลเซียสในปี พ.ศ. 2552 เพิ่มขึ้นเป็น 34.78 องศาเซลเซียสในปี พ.ศ. 2564 และในฤดูหนาวอุณหภูมิพื้นผิวสูงสุดจาก 30.12 องศาเซลเซียสในปีพ.ศ. 2552 เพิ่มขึ้นเป็น 31.82 องศาเซลเซียสในปี พ.ศ. 2564 นอกจากนี้การศึกษาแสดงให้เห็นว่า อุณหภูมิพื้นผิวกับดัชนี NDVI และ NDWI มีความสัมพันธ์เชิงลบและแปรผกผันกัน ส่วนอุณหภูมิพื้นผิวกับดัชนี NDBI มีความสัมพันธ์เชิงบวกแปรผันตรงต่อกัน ผลจากการศึกษานี้สามารถนำไปใช้ในการวางแผนใช้ประโยชน์ที่ดินที่เหมาะสมและรับมือกับปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ</p> 2024-04-21T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา