เกี่ยวกับวารสาร

วารสารวิทยาศาสตร์และนวัตกรรมเชิงพื้นที่

(Journal of Science and Area-based Innovation: JSAI)

 

วัตถุประสงค์และขอบเขต

วารสารวิทยาศาสตร์และนวัตกรรมท้องถิ่น เป็นวารสารเผยแพร่แบบออนไลน์ รับพิจารณาบทความวิจัยและบทความวิชาการด้านการนำวิทยาศาสตร์และนวัตกรรมเชิงเพื่อการพัฒนาพื้นที่ในระดับต่าง ๆ 4 สาขา ดังนี้

  1. วิทยาศาสตร์กายภาพและชีวภาพ
  2. วิทยาศาสตร์สุขภาพ 
  3. วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 
  4. นวัตกรรมเชิงพื้นที่

หมายเลข ISSN: 3027-8163 (Online)

 

ประเภทของบทความ

  1. บทความวิจัย (Research article) ที่มีลักษณะและรูปแบบการวิจัยตามหลักวิชาการ เช่น ตั้งสมมุติฐานโดยระบุวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน ได้ค้นคว้าทดลองอย่างมีระบบ และสรุปผลการวิจัยที่จะนำไปใช้ประโยชน์ต่อไป
  2. บทความปริทรรศน์ (Review article) ในลักษณะเชิงวิเคราะห์หรือวิจารณ์ และเสนอแนวคิดใหม่บนพื้นฐานวิชาการ อันก่อเกิดองค์ความรู้หรือสามารถประยุกต์ใช้ประโยชน์

 

กระบวนการพิจารณาและประเมินบทความ

วารสารวิทยาศาสตร์และนวัตกรรมท้องถิ่น มีการตรวจสอบคุณภาพแต่ละขั้นตอนของการดำเนินงานอย่างเคร่งครัด

  1. ผู้นิพนธ์ (และคณะ) ต้องรับรองว่าบทความที่ส่งมาพิจารณาเผยแพร่ในวารสาร ไม่เคยเผยแพร่ในที่อื่นใดมาก่อน และจะไม่นำส่งไปเพื่อพิจารณาเผยแพร่ในวารสารอื่นจนกว่าจะไม่ผ่านการพิจารณา หรือได้รับอนุมัติให้ยุติการพิจารณาจากบรรณาธิการ
  2. การส่งบทความเพื่อเผยแพร่ในวารสาร ให้ส่งในเว็บไซต์ https://li05.tci-thaijo.org/index.php/JSAI/ เท่านั้น โดยต้องกรอกข้อมูลต่าง ๆ ตามแบบฟอร์มในเว็บไซต์ให้สมบูรณ์ และแนบไฟล์ต้นฉบับบทความที่ไม่มีการระบุผู้เขียน (ต้องไม่มีชื่อผู้เขียน หน่วยงานสังกัด และอีเมล บรรณาธิการจะส่งไฟล์นี้ให้ผู้ประเมิน) และอาจแนบไฟล์อื่น ๆ เช่น รูป ตาราง กราฟ
  3. บทความที่จะเผยแพร่ในวารสารต้องผ่านการพิจารณาจากผู้ประเมิน (Peer review) ในแต่ละสาขา ไม่น้อยกว่า 3 ท่าน ผู้ประเมินจะไม่ทราบชื่อผู้เขียนและผู้เขียนจะไม่ทราบชื่อผู้ประเมิน (Double-blinded review system) โดยผู้ประเมินและผู้เขียนต้องอยู่ต่างหน่วยงานกัน
  4. การยอมรับบทความเป็นสิทธิของบรรณาธิการ และบรรณาธิการสงวนสิทธิ์ในการตรวจแก้ไขบทความ และอาจส่งกลับคืนให้ผู้เขียนแก้ไข เพิ่มเติม หรือพิมพ์ต้นฉบับใหม่

 

ภาษาที่รับตีพิมพ์

ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ

 

กำหนดการเผยแพร่

วารสารกำหนดเผยแพร่ ปีละ 3 ฉบับ ๆ ละไม่น้อยกว่า 5 เรื่อง

ฉบับที่ 1 มกราคม – เมษายน

ฉบับที่ 2 พฤษภาคม – สิงหาคม

ฉบับที่ 3 กันยายน – ธันวาคม

 

จำนวนผู้ทรงคุณวุฒิ

กำหนดผู้ทรงคุณวุฒิประเมินบทความ จำนวน 3 ท่านต่อบทความ

 

ค่าธรรมเนียม

ไม่มีการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมตีพิมพ์เผยแพร่