การประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพจากสารพิษตกค้างในผลไม้พื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน

Main Article Content

นางสาวณัฏฐ์ชยธร ขัตติยะพุฒิเมธ
จารุพงศ์ ประสพสุข
ประภัสสร สีลารักษ์
วัชราพร ศรีสว่างวงศ์

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อติดตามและประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพจากสารพิษตกค้างในผลไม้พื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน  โดยเก็บตัวอย่างมะม่วง 4 ชนิด ได้แก่  มะม่วงน้ำดอกไม้ มะม่วงมหาชนก มะม่วงเขียวเสวย และมะม่วงฟ้าลั่น จากพื้นที่เกษตรกรปลูกผลไม้เชิงพาณิชย์  ในพื้นที่จังหวัดขอนแก่น ชัยภูมิ กาฬสินธุ์ อุดรธานี และสกลนคร จำนวน 12 หมู่บ้าน ระหว่างเดือนมกราคม - พฤษภาคม 2566 สกัดตัวอย่างด้วยวิธี QuEChERS  วิเคราะห์หาสารพิษตกค้างจำนวน 228 ชนิดสาร ด้วยเครื่อง LC-MS/MS ณ สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 3 จำนวน 47 ตัวอย่าง พบสารพิษตกค้าง จำนวน 19 ตัวอย่าง คิดเป็น 40.42% ปริมาณที่ตรวจพบอยู่ในช่วง 0.01-0.67 มก./กก. ชนิดสารที่ตรวจพบ 8 ชนิด ได้แก่ carbendazim, clothianidin, imidacloprid, lamda-cyhalothrin, metalaxyl, profenofos, pyraclostrobin และ thaiamethoxam การประเมินระดับความเสี่ยงต่อผู้บริโภค โดยใช้ข้อมูลชนิดและปริมาณสารพิษตกค้างในผลผลิต คำนวณค่า HQ (Hazard Quotient) และค่า HI (hazard index) โดย ค่า HI > 100 หมายถึง สารพิษตกค้างอยู่ในระดับเสี่ยงต่อผู้บริโภค พบว่า ค่า HI มีค่าระหว่าง 0.20 - 13.70% ไม่มีความเสี่ยงต่อการบริโภค อย่างไรก็ตามเพื่อความปลอดภัยเกษตรกรยังคงมีความจำเป็นต้องระมัดระวังการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชอย่างถูกต้อง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมส่งเสริมการเกษตร. (2557). เอกสารวิชาการ. การผลิตผลไม้นอกฤดูเพื่อเพิ่มศักยภาพการตลาด. สืบค้น 10 พฤษภาคม 2563, จาก http://www.servicelink.doae.go.th/

กรมส่งเสริมการเกษตร. (2560ก). รายงานสถานการณ์การเพาะปลูก คะน้า ปีเพาะปลูก 2561 จำแนกตามรายจังหวัด. ระบบสารสนเทศการผลิตทางด้านเกษตร Online กรมส่งเสริมการเกษตร. สืบค้น10 พฤษภาคม 2563, จาก http://www.agriinfo.doae.go.th/

กรมส่งเสริมการเกษตร. (2560ข). รายงานสถานการณ์การเพาะปลูก พริกขี้หนูเม็ดใหญ่ ปีเพาะปลูก 2561 จำแนกตามราย จังหวัด. ระบบสารสนเทศการผลิตทางด้านเกษตร Online กรมส่งเสริมการเกษตร. สืบค้น10 พฤษภาคม 2563, จาก http://www.agriinfo.doae.go.th/

กรมส่งเสริมการเกษตร. (2560ค). รายงานสถานการณ์การเพาะปลูก พุทรา ปีเพาะปลูก 2561 จำแนกตามรายจังหวัด. ระบบสารสนเทศการผลิตทางด้านเกษตร Online กรมส่งเสริมการเกษตร. สืบค้น10 พฤษภาคม 2563, จาก http://www.agriinfo.doae.go.th/

กรมส่งเสริมการเกษตร. (2560ง). รายงานสถานการณ์การเพาะปลูก มะเขือเทศ ปีเพาะปลูก 2561 จำแนกตามรายจังหวัด. ระบบสารสนเทศการผลิตทางด้านเกษตร Online กรมส่งเสริมการเกษตร. สืบค้น 10 พฤษภาคม 2563, จาก http://www.agriinfo.doae.go.th/

กรมส่งเสริมการเกษตร. (2560จ). รายงานสถานการณ์การเพาะปลูก มะม่วง ปีเพาะปลูก 2561 จำแนกตามรายจังหวัด. ระบบสารสนเทศการผลิตทางด้านเกษตร Online กรมส่งเสริมการเกษตร. สืบค้น 10 พฤษภาคม 2563, จาก http://www.agriinfo.doae.go.th/

กรมส่งเสริมการเกษตร. (2565). การผลิตมะม่วงคุณภาพเพื่อการส่งออก. สืบค้น 10 มกราคม 2567, จาก https://mediatank.doae.go.th/medias/file_upload/12-2022/3-1751705114510091.pdf

กลุ่มวิจัยวัตถุมีพิษการเกษตร สำนักวิจัยพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตร กรมวิชาการเกษตร. 2548. คู่มือการใช้บริการตรวจวิเคราะห์สารพิษตกค้าง คุณภาพวัตถุมีพิษการเกษตรและสารธรรมชาติ. ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

จารุพงศ์ ประสพสุข. (2565). รายงานสรุปผลการวิเคราะห์สารพิษตกค้างในพืชผักและไม้ผลพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ปี 2561-2565. สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 3 ขอนแก่น กรมวิชาการเกษตร.

ปภัสรา คุณเลิศ, ประกิจ จันตร์ติ๊บ และผกาสินี คล้ายมาลา. (2565). ผลการปฏิบัติงานประจำปี 2565 กองวิจัยและพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตร. กลุ่มบริการโคงการวิจัย กองวิจัยพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตร กรมวิชาการเกษตร.

ศรีจำนรรจ์ ศรีจรรยา และ พฤทธิชาติ ปุณวัฒโฑ. (2566). เอกสารวิชาการ คำแนะนำการป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืชอย่างปลอดภัยจากงานวิจัย ปี 2566. กลุ่มบริหารศัตรูพืช/กลุ่มกีฏและสัตววิทยา สำนักวิจัยและพัฒนาการอารักขาพืช. กรมวิชาการเกษตร.

สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ. (2559). สารพิษตกค้าง: ปริมาณสารพิษตกค้างสูงสุด: มาตรฐานสินค้าเกษตร มกษ. 9002-2559. กรุงเทพฯ: กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.

Agriculture and Environment Research Unit [AERU]. (2023). Pesticide Properties Database (PPDB). Agriculture and Environment Research Unit, University of Hertfordshire. Available at: https://sitem.herts.ac.uk /aeru/ppdb/. Accessed: July 20, 2023.

British Standards [BSI]. (2008). Foods of plant origin Determination of pesticide residues using GC- MS and/or LC-MS-MS following acetonitrile extraction/partitioning and clean up by dispersive SPE- QuEChERS-method. BS EN 15662:2008. London: BSI Group, Chiswick High Road.

European Commission. (2023). European Commission Pesticides database MRLs (EU) 2022/1343. Available at: https://food.ec.europa.eu/plants/pesticides/eu-pesticides-database_en. Accessed: July 20, 2023.

Food and Agricultural Organization/World Health Organization [FAO/WHO]. (2023). Pesticide residues in food and feed: Codex Alimentarius. pesticides. Online Database. Available at: http://www.codexalimentarius. net/pestres/ data/pesticides. Accessed: July 20, 2023.

Gadalla, S.A., N.M. Loutfy, A.H. Shendy, and M.T. Ahmed. (2015). Hazard Index, a Tool for a Long-term Risk Assessment of Pesticide 3 Residues in Some Commodities, a Pilot Study. Regulatory Toxicology and Pharmacology, 73(3), 985- 991.

Łozowicka, B., P. Kaczynski, E. Rutkowska, M. Jankowska, and I. Hrynko. (2013). Evaluation of pesticide residues in fruit from Poland and health risk assessment. Agricultural Sciences 2013, 4(5B), 106-111.

World Health Organization. (2020). WHO recommended classification of pesticides by hazard and guidelines to classification, 2019 edition. Geneva