ผลของแสง LED ต่อการงอกของเมล็ดมะเขือเทศ
Main Article Content
บทคัดย่อ
LED เป็นแสงที่มีการประยุกต์ใช้ในการเกษตรทดแทนแสงอาทิตย์จากธรรมชาติที่สามารถเพิ่มผลผลิตได้ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแสง LED ที่สามารถกระตุ้นการงอกของเมล็ดมะเขือเทศ โดยวางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ (Completely Randomized Design; CRD) โดยมี 6 กรรมวิธี คือ 1) ไม่ให้แสงกับเมล็ดมะเขือเทศ 2) ให้แสงห้องปกติกับเมล็ดมะเขือเทศ 3) หลอด LED สีแดง 4) หลอด LED สีน้ำเงิน 5)หลอด LED สีขาว และ 6) หลอด LED สีแดง+น้ำเงิน (1:1) ทำการทดลอง 3 ซ้ำ ๆ ละ 50 เมล็ด ให้แสงวันละ 16 ชั่วโมงต่อวัน พบว่า เมล็ดที่งอกภายใต้แสง LED สีน้ำเงิน ขาว และสีแดง+น้ำเงิน (1:1) มีเปอร์เซ็นต์การงอกที่สูง (76.00, 80.67, 78.00 % ตามลำดับ) จำนวนเมล็ดเฉลี่ยที่นับงอกวันแรก (21.67, 25.00, 22.67 ตามลำดับ) ดัชนีความงอก (6.34, 6.15, 6.10), น้ำหนักสด (36.75, 37.27, 30.75 มิลลิกรัม ตามลำดับ) และ มีค่า biomass index (15.31, 13.04, 16.60 ตามลำดับ) เมื่อเปรียบเทียบกับเมล็ดที่ไม่ได้รับแสงและเมล็ดที่ได้รับแสงปกติ ยกเว้นเมล็ดที่ได้รับแสงจากหลอด LED สีแดง ซึ่งงานวิจัยนี้สามารถนำมาใช้เพื่อส่งเสริมคุณภาพของต้นกล้ามะเขือเทศได้
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความลิขสิทธิ์ที่ได้รับการตรีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารเกษตรอนุภาคภูมิภาคลุ่มน้ำโขง คณะเกษตรและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยนครพนม
References
จิตราพรรณ พิลึก. (2550). การเพาะเมล็ดและเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อกล้วยไม้. เอกสารประกอบการฝึกอบรมประชาชน หลักสูตรการเพาะเมล็ดและเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อกล้วยไม้. ณ สวนกล้วยไม้ระพีสาคริก มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. กรุงเทพฯ.
ชัชวาล แสงฤทธิ์. (2558). ความสามารถในการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมของลักษณะความต้านทานต่อโรคเหี่ยวเขียวและปริมาณสารไลโคพีนในมะเขือเทศ. ปรัชญาดุษฎีนิพนธ์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น.
ชิดชนก ประสพสุข และปุณณมี สัจจกมล. (2555). การอนุรักษ์พลังงาน และการทดแทนฟลูออเรสเซนต์ด้วย LED กรณีศึกษาบริษัทต้าชิงคอตตอนไทย (Energy conservation by LEDS replacement Case Study:Taching Cotton Ltd). ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ. คณะวิศวกรรมศาสตร์. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. วิทยาเขตบางเขน. กรุงเทพมหานคร. 10900.
สุทธิดา มณีเมือง, เนตรนภา อินสลุด, นิติคำ เมืองลือ, ประดิษฐ์ เทอดทูล, พฤทธ์ สกุลช่างสัจจะทัย. (2558). ผลของความเข้มแสงจากชุดหลอดแอลอีดีสำหรับการเพาะปลูกที่มีต่อผักสลัดเรดโอ๊คในระบบโรงเรือนไฮโดรโปนิกส์. วารสารวิจัย มทร. อีสาน. 8(1), 63-72.
อภิชาติ ชิดบุรี, อนนท์ นำอิน, กริช แสนสุภา และธีรวัฒน์ กลายเพศ. (2557). ผลของหลอดไดโอดเปล่งแสงร่วมกันสีน้ำเงิน/สีแดง/สีขาวที่มีต่อการเจริญเติบโตของเนื้อเยื่อยูคาลิปตัสในสภาพปลอดเชื้อ. ว.แก่นเกษตร 42(พิเศษ 3), 409-414.
Fan, X.X., Xu, Z.G., Liu, X.Y., Tang, C.M., Wang, L.W., and Han, X.L., (2013). Effect of light intensity on the growth and leaf development of young tomato plants grown under a combination of red and blue light. Scientia Horticulturae. 153, 50-55.
ISTA. (1999). International Rules for Seed Testing. Seed Science and Technology. 27, Supplement.
Jerico, J.B.B., Eduardo, M.E., Jose, H.C.C.V. and Victorino, M.R., (2016). Effect of LED light quality on in vitro shoot proliferation and growth of Vaniila plan folia Ardrews.African Journal of. Biotechnology. 15, 272-277.
Lin, K.H., Huang, M.Y., Huang, W.D., Hsu, M.H.,Yang, Z.W., and Yang, C.M., (2013). The effects of red, blue, and white light emitting diodes on the growth, development, and edible quality of hydroponiccally growth Letture (Lactuca sativa L. var. capitata). Scientia Horticulturae. 105, 86-91.
Rein, D., and Herbers, K. (2006). Enhances nutritional value of food crops. In Halford, N. (Ed.). Plant Biotechnology. (pp. 91-117.). John Wiley & Sons, Ltd.
Ryu, J. H., Seo K. S., Choi G. L., Rha E. S., Lee S. C., Choi S. K., Kang S.-Y., and Bae C.-H.. (2012). Effects of LED Lillumination on Germination, Growth and Anthocyanin Content of Dandelion (Taraxacum officinale). Korean J. Plant Res. 25(6): 731-738.
United States Department of Agriculture National Resources Conservation Service (USDA, NRCS). 2007. Statistix 8 User Guide Version 2.0 for the Plant Materials Program. http://plant-materials.nrcs.usda.gov/intranet/software/Statistix-UserGuide-ver2_0.pdf.
Wang, J., W. Lu, Y. Tong, and Q. Yang. (2016). Leaf Morphology, Photosynthetic Performance, chlorophyll Fluorescence, stomatal Development of Lettuce (Lactuca sativa L.) Exposed to Different Ratios of Red Light to Blue Light. Frontiers in Plant Science. 7. 1-10.
Wien, H. C. (1997). The Physiological of Vegetable Crops. CAB International. Wallingford, United Kingdom.