การพัฒนาแครกเกอร์แป้งข้าวฮางงอกเสริมผงผักเคล
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของปริมาณการเสริมผงผักเคลที่ร้อยละ 0 2.5 5.0 และ 7.5 โดยน้ำหนัก (สูตรที่ 1 2 3 และ 4) ต่อคุณภาพด้านเคมีกายภาพและการยอมรับทางประสาทสัมผัสของผู้บริโภค ผลการศึกษาพบว่าการเสริมผงผักเคลส่งผลให้คุณภาพด้านสี เนื้อสัมผัส อัตราการขยายตัวและค่าวอเตอร์แอคติวิตี้ของผลิตภัณฑ์ (สูตรที่ 2 ถึง 4) มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อเทียบกับสูตรที่ไม่เสริมผงผักเคล (สูตรที่ 1) ปริมาณผงผักเคลที่เพิ่มขึ้นทำให้ ค่า L* a* b* และ C* ลดลง โดยสูตรที่ 4 ที่มีปริมาณผงผักเคลร้อยละ 7.5 มีค่า L* a* b* และ C* น้อยที่สุด คือ 34.23, -0.29, 14.35 และ 103.1 ตามลำดับ ผลิตภัณฑ์แครกเกอร์แป้งข้าวฮางงอกที่เสริมผงผักเคลมีเฉดสีอยู่ในช่วงเหลืองถึงเขียว (ค่า h◦ อยู่ระหว่าง 90◦ ถึง 180◦) ส่วนที่ไม่มีการเสริมผงผักเคลจะมีเฉดสีแดงถึงสีเหลือง (ค่า h◦ อยู่ระหว่าง 0 ถึง 90◦) และพบว่าสูตรที่เสริมผงผักเคลมีค่าอัตราการขยายตัวอยู่ในช่วงระหว่าง 7.00 ถึง 8.49 และมีค่าความแข็งที่ 2,105.00 ถึง 2,494.08 กรัม ซึ่งต่ำกว่าสูตรที่ 1 ที่ไม่เสริมผงผักเคล ซึ่งมีค่าอยู่ที่ 12.83 และ 3,236.67 กรัม ตามลำดับ ตัวอย่างทุกสูตรมีค่าวอเตอร์แอคติวิตี้ของผลิตภัณฑ์อยู่ในช่วงระหว่าง 0.3797 ถึง 0.5822 ซึ่งมีค่าต่ำกว่า 0.6 โดยอยู่ใน มผช. 523/ 2563 แครกเกอร์สูตรที่เสริมผงผักเคลที่ร้อยละ 5.0 เป็นสูตรที่ผู้บริโภคให้คะแนนการยอบรับทางประสาทสัมผัสด้านความชอบโดยรวมสูงที่สุดโดยมีค่าอยู่ที่ 7.53
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความลิขสิทธิ์ที่ได้รับการตรีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารเกษตรอนุภาคภูมิภาคลุ่มน้ำโขง คณะเกษตรและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยนครพนม
References
โชติกานต์ แขนอก, วิภา ลำพาย, อรัญญา พรหมกูล และอาภัสสร ศิริจริยวัตร. 2565. การพัฒนาบราวนี่ปราศจากกลูเตนจากแป้งข้าวฮางงอก. วารสารวิทยาศาสตร์บูรพา. 27(2), 1393-1406.
ญาณิศา โพธิ์รัตน์โส, สุนันท์ บุตรศาสตร์ และพรพิษณุ ธรรมปัทม์. 2562. การพัฒนาผลิตภัณฑ์แครกเกอร์ฟักทองปลอดกลูเตน. วารสารเกษตรพระวรุณ. 16(2), 221-227.
สุภกาญจน์ พรหมขันธ์ พนอจิต นิติสุข และศุกฤชชญา เหมะธุลิน. 2556. รายงานการวิจัย เรื่องการพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มเพื่อสุขภาพชนิดผงพร้อมชงจากข้าวฮางงอก ประจำปีงบประมาณ 2556. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน: สกลนคร.
สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม. 2563. มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน เรื่อง ขนมปังกรอบ (มผช.523/2563). สืบค้น วันที่ 12 ธันวาคม 2566, จาก https://tcps.tisi.go.th/pub/tcps0523_63 (ขนมปักรอบ).pdf.
อุไรวรรณ วัฒนกุล, ศุภลักษณ์ สุดขาว และพีรพงษ์ พึ่งแย้ม. 2561. รายงานการวิจัย เรื่อง คุณภาพทางเคมี-กายภาพ และสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพในผลิตภัณฑ์ข้าวกล้องงอกหุงสุกเร็วจากข้าวกล้องงอกผสม 3 สายพันธุ์ ประจำปีงบประมาณ 2561. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย.
AACC. 2000. Approved Methods of the AACC. 10th Ed. St Paul: American Association of Cereal Chemists.
Drisya, C.R., Swetha, B.G., Velu, V., Indrani, D. and Singh, R.P. 2015. Effect of dried Murraya koenigii leaves on nutritional, textural and organoleptic characteristics of cookies. Journal of Food Science and Technology. 52(1), 500-506.
Gallagher, E., Gormley, R.T. and Arendt, K.E. 2004. Recent advances in the formulation of gluten-free cereal-based products. Trends in Food Science & Technology. 15, 143-152.
Kahlon, T.S., Chapman, M. H., and Smith, G.H. 2007. In vitro binding of bile acids by spinach, kale, brussels sprouts, broccoli, mustard greens, green bell pepper, cabbage and collards. Food Chemistry. 100(4), 1531-1536.
Kim, S.Y. 2017. Production of fermented kale juices with Lactobacillus Strains and nutritional composition. Preventive Nutrition and Food Science. 22(3), 231-236.
Sattasuwan, N., Nuengjamnong, N and Suksomboon, A. 2010. Development of rice crackers (Arare) from black glutinous rice. Agricultural Science Journal. 41(3/1)(Suppl.): 165 168.
USFDA. 2014. Water Activity (aw) in Foods. January 13, 2024, Retrieved, from: https://www.fda.gov.
USDA. 2019. Kale, raw. December 13, 2023, Retrieved, from: https://fdc.nal.usda.gov/fdc-app.html#/food-details/168421/nutrients