ผลของการบ่มท่อนพันธุ์ต่อการงอกและการเจริญเติบโตของมันสำปะหลังพันธุ์เกษตรศาสตร์ 50

Main Article Content

Phakorn Phunthupan

บทคัดย่อ

ปัจจุบันมีการนำมันสำปะหลังมาใช้เป็นอาหารมนุษย์และสัตว์ รวมไปถึงนำมาเป็นพืชที่สามารถแก้ไขปัญหาวิกฤตการณ์ทางด้านพลังงาน แต่ยังคงมีปัจจัยที่ส่งผลต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของมันสำปะหลังต่ำ ไม่เพียงพอต่อความต้องการในการใช้ประโยชน์ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบผลของการบ่มท่อนพันธุ์มันสำปะหลังต่อการงอกและการเจริญเติบโต ทำการทดลองโดยใช้พันธุ์เกษตรศาสตร์ 50 ปลูกที่สาขาวิชาพืชศาสตร์ คณะเกษตรและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยนครพนม วางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ (Completely Randomized Design; CRD) มีจำนวน 4 ตำรับ 4 ซ้ำ ประกอบไปด้วย ตำรับทดลองที่ 1 (T1) คือ ไม่มีการบ่ม (Control) ตำรับทดลองที่ 2 (T2) คือ บ่มเป็นเวลา 2 วัน ตำรับทดลองที่ 3 (T3) คือ บ่มเป็นเวลา 4 วัน และตำรับทดลองที่ 4 (T4) คือ บ่มเป็นเวลา 6 วัน จากการศึกษาผลของการบ่มท่อนพันธุ์มันสำปะหลังพันธุ์เกษตรศาสตร์ 50 ต่อการงอกและการเจริญเติบโต พบว่า การบ่มท่อนพันธุ์มันสำปะหลังเป็นเวลา 6 วัน มีการงอกและเจริญเติบโตได้ดีที่สุด ในลักษณะ จำนวนที่งอก น้ำหนักแห้งของลำต้น น้ำหนักแห้งของราก เนื่องจากการบ่มท่อนพันธุ์มันสำปะหลังมีความชื้น จึงทำให้การงอกของตามันสำปะหลังงอกเพิ่มมากขึ้นและมีอัตราการรอดตายมากขึ้น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กิติศักดิ์ ดอนกวนเจ้า. (2555). ธาตุอาหารเสริมที่มีต่อการงอกของรากมันสำปะหลังระยอง 90. สาขาวิชาพืชศาสตร์ คณะเกษตรและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยนครพนม.

ชัยวัฒน์ สาวเจริญสุข. (2567). แนวโน้มธุรกิจ/อุตสาหกรรม 2566-2568 : มันสำปะหลัง. สืบค้น วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2567, จากhttps://www.krungsri.com/th/research/industry/industry-outlook/agriculture/cassava /io/cassava-2023-2025.

นวลศรี โชตินันทน์. (2555). ปัญหาของมันสำปะหลัง. สถาบันวิจัยพืชไร่ กรมวิชาการเกษตร: กรุงเทพ.

ภากร พันธุพาน และภาณุพงศ์ ผลเจริญ. (2566). ความเข้มข้นของ NAA ที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของมันสำปะหลังพันธุ์ระยอง 9 ที่ปลูกภายใต้สภาพอาศัยน้ำฝน. วารสารแก่นเกษตร. 51(5), 962-974.

สถาบันวิจัยและพัฒนาแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (2560). มันสำปะหลัง : แหล่งปลูกมันสำปะหลังของโลก. สืบค้น วันที่ 25 ธันวาคม 25672, จาก https://www3.rdi.ku.ac.th/?p=17876.

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. (2566). สถานการณ์สินค้าเกษตรที่สำคัญและแนวโน้มปี 2566. สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์: กรุงเทพมหานคร.

Kamau, J., Melis, R., Laing, M., Derera, J., Shanahan, P., and Ngugi., E. (2011). Farmers’ participatory selection for early bulking cassava genotypes in semi-arid Eastern Kenya. Journal of Plant Breeding and Crop Science. 3(3), 44-52.

Gomez, K.A. and Gomez, A.A. (1984). Statistical Procedures for Agricultural Research. John Wiley and Sons: New York.

Van Minh, N., and Van Loc, N. (2024). Effects of black sun shade nets and humidity levels on cassava growth for mini-cutting propagation. 18(1), 50-54.