การศึกษาสมรรถนะการทำงานของเครื่องอัดฟ่อนชนิดกึ่งอัตโนมัติ
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสมรรถนะการทำงานของเครื่องอัดฟ่อนชนิดกึ่งอัตโนมัติ โดยทำการศึกษาข้อมูลการอัดฟ่อนโดยใช้เครื่องอัดฟ่อนชนิดกึ่งอัตโนมัติ ศึกษากลไกการทำงาน และทดสอบประเมินผลสมรรถนะการทำงาน ผลการศึกษาพบว่า เครื่องอัดฟ่อนกึ่งอัตโนมัติที่เกษตรกรส่วนใหญ่นิยมใช้ เป็นแบบอัดฟ่อนแนวนอนป้อนฟางเข้าด้านข้าง ใช้ต้นกำลังเป็นเครื่องยนต์เล็กดีเซลขนาด 9-12 แรงม้า ต่อพ่วงเพื่อลากเข้ากับรถไถนาเดินตาม กระบวนการทำงานใช้คนทำงานร่วมกับเครื่องจักรจำนวน 4-5 คน กลไกของเครื่องฯจะทำงานอยู่ 2 ขั้นตอนคือ กลไกการกวาดฟาง และกลไกการอัดฟ่อน การทดสอบประเมินผลสมรรถนะการทำงาน พบว่า อัตราการทำงานสูงสุดที่รอบต้นกำลัง 1,400 รอบต่อนาที ได้อัตราการทำงาน 607.67 กิโลกรัมต่อชั่วโมง (151.91 กิโลกรัม-คนต่อชั่วโมง) ประสิทธิภาพเชิงวัสดุ 85.71 เปอร์เซ็นต์ และความหนาแน่นของฟางอัดฟ่อน 87.92 กิโลกรัม/ลูกบาศก์เมตร เครื่องอัดฟ่อนชนิดดังกล่าวนี้มีแนวโน้มที่จะพัฒนาสมรรถนะการทำงานให้สูงขึ้นได้ และให้มีความเหมาะสมในการใช้งานกับเกษตรกรระดับครัวเรือนหรือฟาร์มปศุสัตว์ขนาดเล็ก
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความลิขสิทธิ์ที่ได้รับการตรีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารเกษตรอนุภาคภูมิภาคลุ่มน้ำโขง คณะเกษตรและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยนครพนม
References
กรมปศุสัตว์. (2566). ข้อมูลจำนวนปศุสัตว์ในประเทศไทย 2566. กลุ่มสารสนเทศและข้อมูลสถิติ. ศูนย์สารสนเทศและ
การสื่อสาร กรมปศุสัตว์. ค้นเมื่อ 7 พฤษภาคม 2566, จากhttps://drive.google.com/file/d/13rIlIA5J1IJ
_HcNPoGv3fxaXLeaBZ-kS/view
เกียรติศักดิ์ กล่ำเอม.(2566) การใช้ประโยชน์ฟางข้าวสำหรับเลี้ยงสัตว์. ค้นเมื่อ 7 เมษายน 2566,
จาก https://nutrition.dld.go.th/nutrition/images/pdf/A3.pdf.
วัชรินทร์ เขียวไกร และเสรี วงส์พิเชษฐ. (2549). การสำรวจ ทดสอบ และประเมินผลสมรรถนะการทำงานของเครื่องอัดฟาง. ขอนแก่น: ภาควิชาวิศวกรรมเกษตร คณะวิศวกรรมศาสตร์.มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
วัชรินทร์ เขียวไกร และเสรี วงส์พิเชษฐ. (2550). การศึกษาแนวทางการเพิ่มสมรรถนะการทำงานของเครื่องอัดฟางชนิดกึ่งอัตโนมัติ. ขอนแก่น: ภาควิชาวิศวกรรมเกษตร คณะวิศวกรรมศาสตร์.มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
วัชรินทร์ เขียวไกร และเสรี วงส์พิเชษฐ. (2551). การออกแบบและพัฒนาอุปกรณ์ช่วยป้อนฟางในเครื่องอัดฟางชนิดกึ่งอัตโนมัติ. ขอนแก่น: ภาควิชาวิศวกรรมเกษตร คณะวิศวกรรมศาสตร์.มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
วัชรินทร์ เขียวไกร และ พิศมาส หวังดี. (2552). การศึกษาและทดสอบสมรรถนะการทำงานของเครื่องอัดฟ่อน. การประชุม
วิชาการวิศวกรรมเกษตรแห่งประเทศไทยครั้งที่ 10 ประจำปี 2552 (นวัตกรรมการผลิตทางการเกษตร อาหาร และพลังงาน
ทดแทน เพื่อ มนุษยชาติ).
สำนักเศรษฐกิจการเกษตร. (2566). พื้นที่เพาะปลูกข้าว. ค้นเมื่อ 12 มิถุนายน 2566, จาก https://www.oae.go.th/assets/portals/1/fileups/prcaidata/files/major%20rice%2065(1).pdf
Brian Bell. (1989). Fram machinery. 3rded. [n.p].
Cuppin, claude. (1982). Farm Machinery. 10thed. New York: Granada.
Donnell Hunt. (1995). Farm Power and Machinery Management. Iowa: Agricultural
Engineering at Iowa State University.
Jing Liu, Fucheng Wan, Jinzhi Zou, Lixin Wang. (2023). Developing an ANP-QFD Approach for Balers’
Appearance Design: A Case Study. International Journal of New Developments in Engineering
and Society. ISSN 2522-3488 Vol. 6, Issue 4: 16-23, DOI: 10.25236/IJNDES.2022.060403.
Sachin Kumar Mishra, Shreemat Shrestha, Anjay Kumar Mishra, Mukti Nath Jha4, Manoj Joshi5, Bikash
K.C. 6, Dwarika Chaudhary7, Sunil Sahani. (2023). Performance Evaluation of Tractor driven
Round Baler in Residue Management. JOURNAL OF BUSINESS MANAGEMENT AND
INFORMATION SYSTEMS Volume-10 Issue-2 Jul-Dec-2023. E-ISSN: 2394-3130
Tuğba KARAKÖSE1, Kemal Çağatay SELVİ. (2024) DEVELOPMENT OF BALER MACHINE FOR HUMID
AREAS. Black Sea Journal of Agriculture. Open Access Journal e-ISSN: 2618 – 6578. doi:
47115/bsagriculture.1401132
RNAM. (1995). Test Codes and Procedures for Farm Machinery. Economic and Social Commission for
Asia and The Pacific. Technical series No. 12.