ผลของปุ๋ยไนโตรเจนต่อการเจริญเติบโต และขนาดเมล็ดของข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ลูกผสมอายุสั้นที่ปลูกบนชุดดินวังไฮ
Main Article Content
บทคัดย่อ
ไนโตรเจนเป็นธาตุอาหารหลักมีบทบาทสำคัญต่อการเจริญเติบโตของข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งระยะสร้างเมล็ด ช่วยส่งเสริมการสร้างคลอโรฟิลล์ ทำให้พืชสามารถสังเคราะห์แสงได้ดีขึ้น งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการใช้ปุ๋ยไนโตรเจนต่อการเจริญเติบโต และขนาดเมล็ดของข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ลูกผสมอายุสั้นที่ปลูกบนชุดดินวังไฮ ดำเนินการทดลองที่ศูนย์วิจัยพืชไร่นครสวรรค์ ตำบลสุขสำราญ อำเภอตากฟ้า จังหวัดนครสรรค์ วางแผนการทดลองแบบ Randomized Complete Block Design (RCBD) จำนวน 4 ซ้ำ ประกอบด้วย 6 กรรมวิธีทดลอง ได้แก่ กรรมวิธีทดลองที่ 1 ไม่ใส่ปุ๋ยไนโตรเจน กรรมวิธีทดลองที่ 2 - 6 ใส่ปุ๋ยไนโตรเจน 5 10 15 20 และ30 กก./ไร่ (ปุ๋ยไนโตรเจน 0.5 1.0 1.5 2.0 และ3.0 เท่าของคำแนะนำตามค่าวิเคราะห์ดิน) ตามลำดับ ผลการทดลองพบว่า การใส่ปุ๋ยไนโตรเจนส่งผลให้ความสูง เปอร์เซ็นต์กะเทาะ และค่า SCMR ของข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ลูกผสมอายุสั้น เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อเปรียบเทียบกับตำรับการทดลองที่ไม่ใส่ปุ๋ยไนโตรเจน โดยการใส่ปุ๋ยไนโตรเจนในอัตรา 20 กก./ไร่ (ปุ๋ยไนโตรเจน 2.0 เท่าของคำแนะนำตามค่าวิเคราะห์ดิน) ส่งผลให้ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ให้ผลผลิต น้ำหนัก 100 เมล็ด ขนาดเมล็ด และมีความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์มากที่สุด ดังนั้น เพื่อผลิตข้าวโพดให้ได้ผลผลิตสูง คุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ และใช้ปุ๋ยได้อย่างมีประสิทธิภาพควรมีการวิเคราะห์ดินก่อนการปลูก และควรใส่ปุ๋ยในอัตรา 20-5-15 (N-P2O5-K2O) กก./ไร่ เป็นวิธีการที่เหมาะสมต่อปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ลูกผสมอายุสั้นบนชุดดินวังไฮ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความลิขสิทธิ์ที่ได้รับการตรีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารเกษตรอนุภาคภูมิภาคลุ่มน้ำโขง คณะเกษตรและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยนครพนม
References
กิตจเมธ แจ้งศิริกุล, ศุภกาญจน์ ล้วนมณี, การิตา จงเจือกลาง, สุริพัฒน์ ไทยเทศ, ดาวรุ่ง คงเทียน และวรกานต์ ยอดชมภู. (2565). ศึกษาประสิทธิภาพการใช้ไนโตรเจนของข้าวโพดเลี้ยงสัตว์พันธุ์ลูกผสมอายุเก็บเกี่ยวยาวในกลุ่มดินเหนียว-ร่วนเหนียวสีดำ จังหวัดนครสวรรค์.กรมวิชาการเกษตร. สืบค้น วันที่ 7 ตุลาคม 2567, จาก https://www.doa.go.th/research/attachment.php?aid=2947.
กรมพัฒนาที่ดิน. (2548). ลักษณะและคุณสมบัติของ จัดทำชุดดินในพื้นที่ราบภาคเหนือและภาคกลางของประเทศไทย กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กรุงเทพฯ. สืบค้น วันที่ 7 ตุลาคม 2567, จาก http://oss101.ldd.go.th/web_standard/_series_desc/D_Cseries_thai.pdf.
กรมวิชาการเกษตร. (2562). เอกสารวิชาการ: การจัดการความรู้ เทคโนโลยีการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์หลังนาในเขตพื้นที่ภาคกลาง. กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, กรุงเทพมหานคร. 77 หน้า
กลุ่มวิจัยปฐพีวิทยา. (2565). การใช้ปุ๋ยอย่างมีประสิทธิภาพ 4 ถูก. กองวิจัยพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตร กรมวิชาการเกษตร. สืบค้น วันที่ 7 ตุลาคม 2567, จาก https:// www.doa.go.th/rhizobium/?p=1216.
กองวิจัยพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตร. (2564). คำแนะนำการใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน สำหรับพืชไร่เศรษฐกิจ. กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, กรุงเทพฯ.
ชูเกียรติ พระดาเวช , ณัฐพล คงดี และวันวิสาข์ ปั้นศักดิ์. (2560). ผลของระยะเวลาการใส่ปุ๋ยไนโตรเจนต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของข้าวโพด. ในการประชุมวิชาการดินและปุ๋ยแห่งชาติ ครั้งที่ 5 ณ โรงแรมเซ็นทรา บาย เซ็นทารา แจ้งวัฒนะ กรุงเทพฯ น.110-118.
ธีระศักดิ์ สาขามุละ และบุญมี ศิริ. (2554). ผลของขนาดเมล็ดต่อความงอกและการเจริญเติบโตของต้นกล้าข้าวโพด. แก่นเกษตร 39:98-103.
บุปผา โตภาคงาม. (2549). ดินเค็มภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. ขอนแก่น: ภาควิชาทรัพยากรที่ดินและสิ่งแวดล้อม คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ประเสริฐ สองเมือง. (2543). การใช้ปุ๋ยอินทรีย์ในนาข้าว. กลุ่มงานวิจัยความอุดมสมบูรณ์ของดิน และปุ๋ยข้าวและธัญพืชเมืองหนาว กรุงเทพฯ: กองปฐพีวิทยา กรมวิชาการเกษตร.
พิทยา สรวมศิริ. (2554). ธาตุอาหารในการผลิตพืชสวน.ภาควิชาพืชศาสตร์และทรัพยากรธรรมชาติ คณะเกษตรศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. จังหวัดเชียงใหม่.
พรทิวา คล้ายเดช. (2557). การเปรียบเทียบผลของการใช้ปุ๋ยสูตรต่าง ๆ เพื่อเพิ่มผลผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท, มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
สงวนศักดิ์ ธนาพรพูนพงษ์, จักรกฤษณ์ ขันทอง, และสุชาดา เวียรศิลป์. (2544). ผลของขนาดเมล็ดที่มีต่อคุณภาพเมล็ด พันธุ ์ข้าวโพด. รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการวิจัย ภาควิชา พืชไร่ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.
ยงยุทธ โอสถสภา, อรรถศิษฐ์ วงศ์มณีโรจน์ และ ชวลิต ฮงประยูร. (2554). ปุ๋ยเพื่อการเกษตรยั่งยืน, พิมพ์ครั้งที่ 2, สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ, 519 น.
สืบสกุล ศิริยุทธ์ และ ศักดิ์ดา จงแก้ววัฒนา. (2554). การประเมินระดับคลอโรฟิลล์ในใบข้าวโพดโดยการใช้ Chlorophyll meter และความสัมพันธ์กับน้ำหนักแห้งมวลชีวภาพและผลผลิต. แก่นเกษตร. 39 (ฉบับพิเศษ): 166-175.
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. (2566). สถานการณ์สินค้าเกษตรที่สำคัญและแนวโน้มปี 2566. สืบค้น วันที่ 1 ตุลาคม 2567, จากhttps://impexpth.oae.go.th/import.
อนนท์ จันทร์เกตุ, พีรวัฒน์ พิพิธกุล, ธนารักษ์ แสงทอง, ภาษิตา ทุ่นศิริ, ปรเมศ บรรเทิง, รัตนจิรา รัตนประเสริฐ และนทีทิพย์ สวัสดิ์รักษา. (2567). ประสิทธิภาพการใช้ปุ๋ยไนโตรเจนการเจริญเติบโตและผลผลิตของมันสําปะหลัง 2 พันธุ์ที่มีลักษณะการแตกกิ่งต่างกันที่ปลูกภายใต้การให้น้ำเสริม. แก่นเกษตร 52 ฉบับที่ 1: 101-114 (2567)./doi:10.14456/kaj.2024.8
Alngiemshy, N. F., Alkharafi, J. S., Alharbi, N. S., & Al-Sowayan, N. S. (2020). Effect of seed size on germination of faba bean plant. Agriculture Sciences, 11, 465-471.
Arunah U.L., E. B. Amans., M. Mahmud; A. Ahmed; G.L. Luka., A. S. Isah., B.A. Babaji and E.C. Odion. (2014). Yield and yield components of maize as influenced by row arrangement, nitrogen and phosphorus levels in maize (Zea mays L)/ castor (Ricinus communis) mixture. IOSR Journal of Agriculture and Veterinary Science. 7:45-49.
Back, G. R., and K. H. Hartge. (1986). Bulk density. pp. 363-375. In: A. Klute, Ed. Methods of soil analysis. Part 1, Agronomy No.9, 2 nd ed. American Society of Agronomy, Madison, WI.
Black, C.A. (1965). Method of soil analysis. Part A. Agronomy 9. American Society of Agronomy Madison, Wisconsin.
Baysah, S. N., Olympio, N. S., & Asibuo, J. Y. (2018). Influence of seed size on the germination of four cowpeas (vigna unguicula (L) Walp) varieties. ISABB Journal of Food and Agricultural Sciences, 8(4), 25-29.
Cottenie, A. (1980). Soil and Plant Testing as a Basis of Fertilizer Recommendations. FAO Soil Bulletin 38/2. Food and Agriculture Organization of the United Nations, Rome.
Gardner, W. H. (1982). Water content. Chapter 21 in Klute, A., ed. Methods of soil analysis. Part 1. Physical and mineralogical methods. 2nd Ed. Soil Science Society of America, Inc. Madison, Wisconsin
Jackson, M.L. (1960). Soil Chemical Analysis. Englewood Cliff, New Jersy, 183-190.
Pervaiz, Z., Hussain K., Kazmi S.S.H. and Gill K.H. (2004). Agronomic efficiency of different N:P ratios in rain fed wheat. International Journal of Agriculture and Biology. 6(3): 455–457.
Walkley, A., and I.A. Black. (1934). An examination of the degtjareff method for determining soil organic matter and a proposed modification of the chromic acid titration method for determination of soil organic matter. Soil Science. 37: 29 – 33.