ผลของสารสกัดหยาบจากเปลือกมังคุดที่มีต่อการเจริญเติบโตของ ปลาดุกอุยที่เลี้ยงในบ่อซีเมนต์
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
ผลของการเสริมสารสกัดหยาบจากเปลือกมังคุดที่มีต่อการเจริญเติบโตของปลาดุกอุยที่เลี้ยงในบ่อซีเมนต์ ศึกษาโดยการวางแผนการทดลองแบบสุ่มอย่างสมบูรณ์ (Completely Randomized Design ; CRD) ประกอบด้วย 4 ชุดการทดลอง ๆ ละ 3 ซ้ำ โดยใช้อาหารเม็ดสำเร็จรูป (ไฮเกร์ด) ที่มีระดับโปรตีน 42 เปอร์เซ็นต์ กำหนดให้ชุดการทดลองที่ 1 (T1) อาหารสำเร็จรูป 200 กรัม ผสมสารสกัดหยาบเปลือกมังคุด 25 เปอร์เซ็นต์ ชุดการทดลองที่ 2 (T2) อาหารสำเร็จรูป 200 กรัม ผสมสารสกัดหยาบเปลือกมังคุด 50 เปอร์เซ็นต์ ชุดการทดลองที่ 3 (T3) อาหารสำเร็จรูป 200 กรัม ผสมสารสกัดหยาบเปลือกมังคุด 100 เปอร์เซ็นต์ และ ชุดการทดลองที่ 4 (T4) อาหารสำเร็จรูป 200 กรัม (ชุดควบคุม) ทำการปล่อยปลาดุกอุยน้ำหนักเริ่มต้น 6.76±0.45 กรัม ความยาว 12.54±1.39 เซนติเมตร และทำการสุ่มชั่งน้ำหนักและวัดความยาว เมื่อเลี้ยงได้ 30, 60 และ 90 วัน ของการทดลอง พบว่า T1 มีอัตราการเจริญเติบโตด้านน้ำหนักเฉลี่ยเพิ่มขึ้น ด้านความยาวเฉลี่ยที่เพิ่มขึ้น ด้านอัตราการรอดตาย ด้านอัตราการเปลี่ยนอาหารเป็นเนื้อ ด้านอัตราการเจริญเติบโตที่เพิ่มขึ้นเฉลี่ยต่อวัน และ ด้านอัตราการเจริญเติบโตจำเพาะของปลาดุกอุย มีอัตราการเจริญเติบโตทั้ง 6 ด้านดีที่สุด เมื่อเลี้ยงครบ 90 วัน นำไปวิเคราะห์ความแปรปรวนทางสถิติ พบว่า อัตราการเจริญเติบโตด้านน้ำหนักที่เพิ่มขึ้น ด้านอัตราการเปลี่ยนอาหารเป็นเนื้อ มีความแตกต่างกันทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญยิ่ง (p<0.01) ส่วนด้านความยาวเฉลี่ยเพิ่มขึ้น ด้านอัตราการรอดตาย ด้านอัตราการเจริญเติบโตเฉลี่ยที่เพิ่มขึ้นต่อวัน และด้านอัตราการเจริญเติบโตจำเพาะ ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ (p>0.05) ดังนั้นการศึกษาครั้งนี้แสดงถึงผลของการเสริมสมุนไพรมีผลต่ออัตราการเจริญเติบโตของปลาดุกอุย
คำสำคัญ : เปลือกมังคุด ปลาดุกอุย การเลี้ยง
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความลิขสิทธิ์ที่ได้รับการตรีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารเกษตรอนุภาคภูมิภาคลุ่มน้ำโขง คณะเกษตรและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยนครพนม
References
เอกสารอ้างอิง
ชินวัฒน์ ยัพวัฒนพันธ์. (2551). มังคุด. สำนักพิมพ์ เอช เอ็น กรุ๊ป จำกัด. กรุงเทพฯ. 24 หน้า
ธนพล นิจมานพ. (2564). ผลของการเสริมสารสกัดหยาบกระเทียมที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของปลานิลที่เลี้ยงในกระชัง. ปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต. คณะเกษตรและเทคโนโลยี. มหาวิทยาลัยนครพนม.
บุญศิลป์ จิตตะประพันธ์, กมลวรรณ ศุภวิญญู, ยุทธนา สว่างอารมณ์ และ ณิชาพล บัวทอง. (2558). การใช้ประโยชน์จาก
เปลือกมังคุดในการเลี้ยงปลาดุกลูกผสมด้วยระบบน้ำหมุนเวียนโดยผ่านการบำบัดด้วยผักบุ้งไฮโดรโพนิกส์. (สืบค้นวันที่ 10 มกราคม 2567) เข้าถึงได้จาก: URL: https://tarr.arda.or.th/preview/item/o8ogeG10 ZLMun kuzhEYna.
มงคล ว่องสมบัติ. (2559). การเพาะพันธุ์และการเลี้ยงปลาดุก. (สืบค้นวันที่ 10 มกราคม 2567) เข้าถึงได้จาก: URL: https://imagesseed.com/ws/Storage/PDF/552230/002/5522 300024142PDF.pdf.
อโนชา อุทัยพัฒน์. (2550). คุณประโยชน์ราชินีผลไม้ : มังคุด. จุลสารข้อมูลสมุนไพร 24(4) : 4-11.