อิทธิพลของปุ๋ยอินทรีย์ที่มีต่อการออกดอก ลักษณะใบ ปริมาณธาตุอาหาร การเจริญของกิ่งและคุณภาพผลผลิตของโกโก้

Main Article Content

ฺBunjong Oupkaew

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของปุ๋ยอินทรีย์ที่มีต่อการออกดอก ลักษณะใบ ปริมาณธาตุอาหาร  การเจริญของกิ่งและคุณภาพผลผลิตของโกโก้ โดยใช้แผนการทดลองแบบ Completely randomized design (CRD) ซึ่งประกอบด้วย 5 ทรีทเมนต์ (treatment) ทรีทเมนต์ละ 5 ซ้ำ ๆ ละ 3 ต้น รวมใช้ต้นโกโก้ ที่มีอายุ 4 ปี จำนวน 75 ต้น โดยปุ๋ยใส่อินทรีย์อัตรา 0, 0.5, 1.5, 2.5 และ 3.5 กิโลกรัมต่อต้น ด้วยวิธีการหว่านรอบทรงพุ่มทุก 2 เดือน ตั้งแต่ระยะก่อนดอกบานจนถึงระยะเก็บเกี่ยวผลผลิต ในพื้นที่แปลงปลูกโกโก้อินทรีย์ วิสาหกิจชุมชนกลุ่มเกษตรอินทรีย์ตำบลบัวใหญ่ อำเภอนาน้อย จังหวัดน่าน ระหว่างเดือน 1 ตุลาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2567 จากการทดลองพบว่า เปอร์เซ็นต์การติดผลเฉลี่ยต่อช่อ จำนวนผลต่อต้น ความกว้างผล ความยาวผล น้ำหนักผล ความกว้างเมล็ด ความยาวเมล็ด ความหนาเปลือก น้ำหนักเมล็ด เปอร์เซ็นต์โปรตีน และเปอร์เซ็นต์ไขมัน มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติ (P < 0.01) โดยการให้ปุ๋ยอินทรีย์ 1.5 กิโลกรัมต่อต้น, การให้ปุ๋ยอินทรีย์ 2.5 กิโลกรัมต่อต้น และการให้ปุ๋ยอินทรีย์ 3.5 กิโลกรัมต่อต้น จะทำให้เปอร์เซ็นต์การติดผลเฉลี่ยต่อช่อ จำนวนผลต่อต้น ความกว้างผล ความยาวผล น้ำหนักผล ความยาวเมล็ด และความหนาเปลือก ต่างกันอย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติ (P < 0.01) ส่วนการให้ปุ๋ยอินทรีย์ 1.5 กิโลกรัมต่อต้น, การให้ปุ๋ยอินทรีย์ 2.5 กิโลกรัมต่อต้น และการให้ปุ๋ยอินทรีย์ 3.5 กิโลกรัมต่อต้น ทำให้เปอร์เซ็นต์โปรตีน และเปอร์เซ็นต์ไขมัน ต่างกันอย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติ (P < 0.01) ในขณะที่การให้ปุ๋ยอินทรีย์ 2.5 กิโลกรัมต่อต้น และการให้ปุ๋ยอินทรีย์ 3.5 กิโลกรัมต่อต้น มีแนวโน้มให้ผลผลิตต่อไร่สูงสุด คือ 1,412 และ 1,421 กิโลกรัมต่อไร่ และในการให้ปุ๋ยอินทรีย์ทุกอัตรามีผลทำให้ค่าความเป็นกรด-ด่าง ค่าการนำไฟฟ้า ปริมาณอินทรีย์วัตถุ ไนโตรเจนรวม ฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ โพแทสเซี่ยม อัตราส่วนคาร์บอนต่อไนโตรเจน การย่อยสลายที่สมบูรณ์ และแมกนีเซียมในดินมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตามลำดับ ผลการศึกษาในครั้งนี้สามารถนำไปใช้ในการเพิ่มประสิทธิภาพผลผลิตโกโก้และเป็นข้อมูลสนับสนุนการใช้ปุ๋ยอินทรีย์สำหรับการปลูกโกโก้อินทรีย์ต่อไป


คำสำคัญ : เกษตรอินทรีย์, ปุ๋ยอินทรีย์, การเจริญเติบโต, โกโก้, จังหวัดน่าน.

Article Details

How to Cite
Oupkaew ฺ. (2025). อิทธิพลของปุ๋ยอินทรีย์ที่มีต่อการออกดอก ลักษณะใบ ปริมาณธาตุอาหาร การเจริญของกิ่งและคุณภาพผลผลิตของโกโก้. วารสารเกษตรอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง, 2(1), 14–26. สืบค้น จาก https://li05.tci-thaijo.org/index.php/JAgriGMS/article/view/662
บท
บทความวิจัย

References

คำนึง แสงขำ, หฤษฎี ภัทรดิลก และอัจฉรา จิตตลดากร. (2555). ผลการใช้ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง ปุ๋ยชีวภาพร่วมกับปุ๋ยเคมี ต่อผลผลิตทางเศรษฐกิจของข้าวโพดหวานพันธุ์อินทรี 2. ใน: การประชุมเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ครั้งที่ 2. (1-11). มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช: นนทบุรี.

ฐิราพร จันทร์เปล่ง. (2547). อิทธิพลของปุ๋ยไนโตรเจนที่มีต่อการออกดอก ลักษณะใบ ปริมาณธาตุอาหาร การเจริญของกิ่งและคุณภาพผลของอะโวกาโด้พันธุ์บัคคาเนีย. ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (เกษตรศาสตร์). คณะเกษตร. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ณัฐกิตติ์ เพชรหมื่นไว, ศิวิไล ลาภบรรจบ, การิตา จงเจือกลาง, สามัคคี จงฐิตินนท์, สมนึก คงเทียน, อภิชาติ สุพรรณรัตน์ และสุณีย์ ชมชิด. (2567). ผลของปุ๋ยไนโตรเจนต่อการเจริญเติบโตและขนาดเมล็ดของข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ลูกผสมอายุสั้นที่ปลูกบนชุดดินวังไฮ. วารสารเกษตรอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง. 1(2), 1-14.

นิติพัฒน์ กงเพชร, สัจจา บรรจงศิริ และ บำเพ็ญ เขียวหวาน. (2567). การศึกษาการผลิตโกโก้ลูกผสมชุมพร 1 ในระบบเกษตรอินทรีย์ของบริษัทปราจีนบุรีสตาร์ชจำกัด จังหวัดปราจีนบุรี. ใน: การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติครั้งที่ 11 และระดับนานาชาติ ครั้งที่ 9. (666-675). มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ.

ปราณี สีหบัณฑ์, โสฬส แซ่ลิ้ม, พรพนา โพธินาม และสุดสงวน เทียมไธสงค์. (2560). ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงที่เหมาะสมต่อการปลูกพืชผักในชุดดินชุมพวง จังหวัดขอนแก่น: กรณีศึกษาผักคะน้า. สืบค้น วันที่ 20 พฤศจิกายน 2567, จาก http://www.r05.ldd.go.th/technical/ re_bio_2551_01.html.

ผานิต งานกรณาธิการ, ปิยนุช นาคะ, ยุพิน กสินเกษมพงษ์, สกล เพชรมณี และอานุภาพ ธีรกุล. (2540). การเปรียบเทียบพันธุ์โกโก้ลูกผสมชั่วที่ 1 ที่จังหวัดสงขลา. รายงานผลงานวิจัยประจำปี 2539-2540. ศูนย์วิจัยพืชสวนชุมพร. 75-83.

มุกดา สุขสวัสดิ์. (2544). ความอุดมสมบูรณ์ของดิน. สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์: กรุงเทพฯ.

ยงยุทธ โอสถสภา. (2528). หลักการผลิตและการใช้ปุ๋ย. สำนักพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช: กรุงเทพฯ.

ยงยุทธ โอสถสภา, อรรถศิษฐ์ วงศ์มณีโรจน์ และชวลิต ฮงประยูร. (2554). ปุ๋ยเพื่อการเกษตรยั่งยืน. สำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์: กรุงเทพฯ.

รัชณภัค อินนุกูล, ภัทรียา นวลใย และนราพร สังสะนา. (2564). ปลดล็อกโกโก้ไทยอย่างไรให้ไปต่อได้. ฝ่ายนโยบายโครงสร้างเศรษฐกิจ ธนาคารแห่งประเทศไทย. 7/2564. 1-4.

ระบบสารสนเทศการผลิตทางด้านการเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. (2566). รายงานสถิติทางการเกษตร. สืบค้น วันที่ 20 พฤศจิกายน 2567, จาก production.doae.go.th. https://production. doae.go.th/service/report-product-statistic/index.

วราวุธ ชูธรรมธัช, พลูชัย ทีปะปาล, ผานิต งานกรณาธิการ, วิทย์ สุวรรณวุธ และอานุภาพ ธีระกุล. (2534). การศึกษา แบบแผนการเจริญเติบโตการออกดอกและติดผลของโกโก้. รายงานผลงานวิจัยประจำปี 2534. ศูนย์วิจัยพืชสวนชุมพร. 295-316.

สัญญา เล่ห์สิงห์ และอรประภา อนุกูลประเสริฐ. (2559). ประสิทธิภาพของปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงต่อการเจริญเติบโตและการให้ผลผลิตของคะน้า. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. 24(2), 320-332.

สัณห์ ละอองศรี. (2558). พันธุ์โกโก้ในประเทศไทย. สืบค้น วันที่ 20 พฤศจิกายน 2567, จาก https://www.hrdi.or.th/ Articles /Detail/1541.

สถาบันวิจัยพืชสวน. (2563). สถานการณ์การผลิตโกโก้. สืบค้น วันที่ 20 พฤศจิกายน 2567, จาก https://www.doa.go.th/hort/wp-content/uploads/2020/12/%E0%B8%AA%E0%B8%96%E0%B8% B2%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%93%E0%B9%8C%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%9C%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B9%82%E0%B8%81%E0%B9%82%E0%B8%81%E0%B9%89_%E0%B8%9E%E0%B8%A4%E0%B8%A8%E0%B8%88%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%9963.pdf.

Ahmed, E.M. and C.R. Barmore. (1980). Cacao qualityb. AVI Publishing Co., Westport.

AOAC. (2000). Official method of analysis. The Association of Official Analytical Chemists Inc.

Chouhan, S., Meena, K.C., Soni, N., Patidar, D.K., Kachouli, B.K., Patidar, B.K. and Haldar. A. (2023). Response of recommended dose of fertilizers with organic manures on growth, yield and economics of kalmegh Andrographis paniculata Nees:A way to reduced use of chemical fertilizers. The Pharma Innov. J. 12, 119-124.

Department of Agricultural Extension. (2022). Cocoa production area in Nan province. February 25, 2024, Retrieved from https:// farmer.doae.go.th/index/index/1.

FAOSTAT. (2022). Production quantities of cocoa beans by country 2021.November 25, 2024, Retrieved from https://www.fao.org/faostat/en/#data/QCL/visualize.

Gomez, K. A., & Gomez, A. A. (1984). Statistical Procedures for Agricultural Research. 2nd Ed., John Wiley and Sons.

Loureiro, G. A. H. A., Araujo, Q. R., Sodre, G. A., Valle, R. R., Souza, J. O., Ramos, E. M. L. S., Comerford, N. B. and Grierson, P. F. (2016). Cacao quality: high-lighting selected attributes. Food Reviews International 2016. 23-47.

Tripathi, P. and Singh, A., (2021). Chapter19 - Biofertilizers: “An ace in the hole”in medicinal and aromatic plants cultivation. 253-263.