ผลของปุ๋ยไนโตรเจน ต่อผลผลิตและองค์ประกอบผลผลิตของอ้อยโคลนดีเด่น เพื่อการจัดการปุ๋ยไนโตรเจนสำหรับการปลูกอ้อยเขตชลประทานและน้ำเสริม
Main Article Content
บทคัดย่อ
ธาตุไนโตรเจน มีความสำคัญต่อการสังเคราะห์แสง กระตุ้นการเจริญเติบโตทางด้านลำต้นและการแตกกอ รวมถึงการสะสมน้ำตาลก่อนระยะสุกแก่ของอ้อย ซึ่งมีความสัมพันธ์กับการให้ผลผลิต ความหวาน และองค์ประกอบผลผลิต งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของปุ๋ยไนโตรเจนต่อการให้ผลผลิตและองค์ประกอบผลผลิตของอ้อยโคลนดีเด่นที่ปลูกในสภาพชลประทานและน้ำเสริม สำหรับใช้เป็นคำแนะนำการจัดการปุ๋ยไนโตรเจนในการผลิตอ้อยโคลนดีเด่น ดำเนินการวิจัย ณ แปลงทดลอง ศูนย์วิจัยพืชไร่สุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี ระหว่างปี 2565-2567 ในอ้อยปลูกและอ้อยตอ 1 วางแผนการทดลองแบบ Split plot in RCB จำนวน 3 ซ้ำ ปัจจัยหลัก (main plot) คือ โคลนอ้อยดีเด่น/พันธุ์อ้อย จำนวน 5 โคลน/พันธุ์ (UT15-060, UT15-094, UT10-044, ขอนแก่น 3, LK92-11) ปัจจัยรอง (sub plot) คือ การใส่ปุ๋ยไนโตรเจน 5 อัตรา (อ้อยปลูก อัตรา 0, 7.5, 15, 22.5, 30 และอ้อยตอ 1 อัตรา 0, 9, 18, 27, 36 กิโลกรัมไนโตรเจนต่อไร่) ร่วมกับปุ๋ยฟอสฟอรัสและโพแทสเซียม อัตรา 3 และ 6 กิโลกรัม P2O5 และ K2O ต่อไร่
ผลการทดลองพบว่า ในอ้อยปลูก ไม่มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยหลักและปัจจัยรอง ทั้งในด้านผลผลิตอ้อย ค่าซีซีเอส และผลผลิตน้ำตาล การใส่ปุ๋ยไนโตรเจน ทุกอัตรา มีผลทำให้ผลผลิตอ้อยและผลผลิตน้ำตาลเพิ่มขึ้น อยู่ระหว่าง 20.95-22.52 ตันต่อไร่ และ 2.79-3.05 ตันซีซีเอสต่อไร่ ซึ่งสูงกว่าการไม่ใส่ปุ๋ยไนโตรเจน สำหรับอ้อยตอ 1 พบว่า มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยหลักและปัจจัยรองในด้านผลผลิตอ้อย การใส่ปุ๋ยไนโตรเจนอัตราต่างๆ มีผลทำให้โคลนดีเด่นแต่ละโคลน ให้ผลผลิตอ้อยแตกต่างกัน โดยโคลนดีเด่น UT15-060, UT15-094 และ UT10-044 ให้ผลผลิตอ้อยสูงสุด เท่ากับ 19.59, 19.19 และ 20.95 ตันต่อไร่ เมื่อมีการใส่ปุ๋ยไนโตรเจน อัตรา 18, 27 และ 36 กิโลกรัมไนโตรเจนต่อไร่ ตามลำดับ ซึ่งสูงกว่าการไม่ใส่ปุ๋ยไนโตรเจน สำหรับผลผลิตน้ำตาล การใส่ปุ๋ยไนโตรเจน อัตรา 18, 27 และ 36 กิโลกรัมไนโตรเจนต่อไร่ มีผลทำให้ผลผลิตน้ำตาลเพิ่มขึ้น อยู่ระหว่าง 2.70-2.86 ตันซีซีเอสต่อไร่ ซึ่งสูงกว่าการไม่ใส่ปุ๋ยไนโตรเจน ดังนั้น การจัดการปุ๋ยไนโตรเจนสำหรับการผลิตโคลนอ้อยดีเด่น UT15-060, UT15-094 และ UT10-044 ในอ้อยปลูก ควรใส่ปุ๋ยไนโตรเจน อัตรา 7.5 กิโลกรัมไนโตรเจนต่อไร่ ร่วมกับปุ๋ยฟอสฟอรัสและโพแทสเซียม อัตรา 3 และ 6 กิโลกรัม P2O5 และ K2O ต่อไร่ และในอ้อยตอ 1 ควรใส่ปุ๋ยไนโตรเจน อัตรา 18 กิโลกรัมไนโตรเจนต่อไร่ ร่วมกับปุ๋ยฟอสฟอรัสและโพแทสเซียม อัตรา 3 และ 6 กิโลกรัม P2O5 และ K2O ต่อไร่ จะส่งผลให้ได้ผลผลิตอ้อยและผลผลิตน้ำตาลเพิ่มขึ้น มีประสิทธิภาพการใช้ไนโตรเจนเพื่อสร้างผลผลิตสูง และได้รับผลตอบแทนทางเศรษฐกิจสูงสุด
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความลิขสิทธิ์ที่ได้รับการตรีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารเกษตรอนุภาคภูมิภาคลุ่มน้ำโขง คณะเกษตรและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยนครพนม
References
กรมพัฒนาที่ดิน. (2548). ลักษณะและคุณสมบัติของดิน จัดทำชุดดินในพื้นที่ราบภาคเหนือและภาคกลางของประเทศไทย
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กรุงเทพฯ. สืบค้น วันที่ 28 มีนาคม 2568,
http://oss101.ldd.go.th/web_standard/_doc_std/series_desc/D_Cseries_thai.pdf
กองวิจัยพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตร. (2564). คำแนะนำการใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน สำหรับพืชไร่เศรษฐกิจ. กรม
วิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, กรุงเทพฯ.
ปรีชา กาเพ็ชร. (2561). โครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตอ้อยให้เหมาะสมตามศักยภาพของ
พื้นที่ ปี 2561. ใน รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตอ้อยให้
เหมาะสมตามศักยภาพของพื้นที่ ปี 2561. กรมวิชาการเกษตร, กรุงเทพฯ.
พีระศักดิ์ ศรีนิเวศน์. (2557). การประเมินสายพันธุ์อ้อยดีเด่นที่มีศักยภาพในแหล่งปลูกอ้อยทั่วประเทศ. ใน รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการวิจัยพัฒนาและวิศวกรรม ปี 2557. สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ, กรุงเทพฯ.
ยงยุทธ โอสถสภา, อรรถศิษฐ์ วงศม์ณีโรจน์ และ ชวลิต ฮงประยรู. (2554). ปุ๋ยเพื่อการเกษตรยั่งยืน, พิมพ์ครั้งที่ 2
สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ, 519 น.
วาสนา วันดี วัลลีย์ อมรพล ศุภกาญจน์ ล้วนมณี และสมบูรณ์ วันดี. (2561). การจัดการน้ำ ธาตุอาหารพืช และพันธุ์ที่เหมาะสม
เพื่อการผลิตอ้อยในดินร่วน จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารแก่นเกษตร. 46 (2), 112-120.
วัลลีย์ อมรพล พินิจ กัลยาศิลปิน ศุภกาญจน์ ล้วนมณี ศรีสุดา ทิพยรักษ์ และกอบเกียรติ ไพศาลเจริญ. (2555). การจัดการ
ธาตุอาหารพืชที่เหมาะสมเพื่อการผลิตอ้อยในภาคตะวันออก. วารสารแก่นเกษตร. 40 (3), 141-148.
ศุภกาญจน์ ล้วนมณี กอบเกียรติ ไพศาลเจริญ ชยันต์ ภักดีไทย ศรีสุดา ทิพยรักษ์ และวัลลีย์ อมรพล. (2555). การจัดการธาตุ
อาหารพืชที่เหมาะสมเพื่อการผลิตอ้อยในภาคตะวันออก. วารสารแก่นเกษตร. 40 (3), 149-158.
สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย. (2567). รายงานสถานการณ์การปลูกอ้อย ปีการผลิต 2566/2567. สืบค้น
วันที่ 30 มีนาคม 2568, จาก https:// https://www.ocsb.go.th/wp-content/uploads/2024/06/รายงาน
สถานการณ์การปลูกอ้อยปีการผลิต-2566-67.pdf.
อารันต์ พัฒโนทัย และธนรักษ์ เมฆขยาย. (2534). คู่มือการอบรมทางเศรษฐศาสตร์ ฝ่ายเศรษฐศาสตร์ ศูนย์วิจัยการปรับปรุงข้าวโพด และข้าวสาลีนานาชาติ. กรุงเทพมหานคร. 88 หน้า.
Anon. (1984). Annual Report for 1983. International Rice Research (IRRI). Los Bonos, Laguna, Philippines.
p.
Biemon, H. & Vos, J. (1992). Effect of Nitrogen on the Development and Growth of Potato Plants: the
Partitioning of Dry Matter, Nitrogen and Nitrate. Journal of Annals of Botany. 70: 37-45.
Black, C.A. (1965). Method of soil analysis. Part A. Agronomy 9. American Society of Agronomy Madison,
Wisconsin.
Cottenie, A. (1980). Soil and Plant Testing as a Basis of Fertilizer Recommendations. FAO Soil Bulletin 38/2.
Food and Agriculture Organization of the United Nations, Rome.
Fageria, N. K., V. C. Baligar, & C. A. Jones. (1997). Growth and Mineral Nutrition of Field Crop, 2nd edition.
New York, Marcel Dekker.
Marschner, H. (1995). Mineral Nutrition of Higher Plants. 2nd edition. Academic Press, London. 899 p.
Sime, M. (2013). Effect of different nitrogen rates and time of application in improving yield and quality of
seed cane of sugarcane (Saccharum spp. L.) Variety B41/227. International Journal of Scientific and
Research Publications. 3(1): 1-7.
Sreewarome, A., S. Saensupo, P. Prammannee and P. Weerathworn, (2007). Effect of rate and split
application of nitrogen on agronomic characteristics, cane yield and juice quality. Proc. Int. Soc.
Sugar Cane Technol. 26: 465-469.
Walkley, A., and I.A. Black. (1934). An examination of the degtjareff method for determining soil organic
matter and a proposed modification of the chromic acid titration method for determination of soil
organic matter. Soil Science. 37: 29-33.