การศึกษาลักษณะสมบัติของเชื้อเพลิงอัดเม็ดร่วม ขยะกำพร้า (ซองกันกระแทก) กับกากไขมันเพื่อเป็นพลังงานทดแทน

Main Article Content

Wanida Chooaksorn

บทคัดย่อ

การศึกษาลักษณะสมบัติของเชื้อเพลิงอัดเม็ดร่วมจากขยะกำพร้า (ซองกันกระแทก) และกากไขมันในน้ำเสียของร้านอาหารอินเดีย (คลองโอ่งอ่าง-พาหุรัด) กรุงเทพมหานคร มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะสมบัติทางกายภาพและทางเคมี โดยดำเนินการวิเคราะห์ ปริมาณความหนาแน่น ปริมาณความชื้น ปริมาณเถ้า ปริมาณสารระเหย และปริมาณความร้อน ตามมาตรฐานของสมาคมการทดสอบวัสดุแห่งอเมริกา (American Society for Testing and Materials; ASTM)  ศึกษาอัตราส่วนของขยะกำพร้าประเภทซองกันกระแทก และกากไขมัน 4 : 1 3 : 2 และ 2 : 3 โดยน้ำหนัก พบว่า อัตราส่วน 2 : 3 มีประสิทธิภาพเหมาะสมที่สุด มีปริมาณความหนาแน่น 1.60 กรัมต่อลูกบาศก์เซนติเมตร แตกร่วนได้เล็กน้อย ปริมาณความชื้น ปริมาณเถ้า และปริมาณสารระเหย ร้อยละ 8 4 และ 94 โดยน้ำหนัก ตามลำดับ ปริมาณความร้อน 8,815 กิโลแคลอรีต่อกิโลกรัม ซึ่งมีลักษณะสมบัติที่เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานแนวทางและเกณฑ์คุณสมบัติของเสียเพื่อการแปรรูปเป็นแท่งเชื้อเพลิง และบล็อกประสานของกรมโรงงานอุตสาหกรรม

Article Details

How to Cite
Chooaksorn, W. (2025). การศึกษาลักษณะสมบัติของเชื้อเพลิงอัดเม็ดร่วม ขยะกำพร้า (ซองกันกระแทก) กับกากไขมันเพื่อเป็นพลังงานทดแทน. วารสารเกษตรอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง, 2(1), 1–7. สืบค้น จาก https://li05.tci-thaijo.org/index.php/JAgriGMS/article/view/590
บท
บทความวิจัย

References

กรมควบคุมมลพิษ. (2551). คู่มือแนวทางการจัดการน้ำมันและไขมันจากบ่อดักไขมัน และการนำไปใช้ประโยชน์สำหรับชุมชน. สืบค้น 19 ธันวาคม 2566, จาก http://infofile.pcd.go.th/water/manual_Commu09.pdf?CFID= 180918&CFTOKEN=57069603.

กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน. (2565). ฐานข้อมูลศักยภาพชีวมวลในประเทศไทยปี 2556. สืบค้น 21 พฤศจิกายน 2566, จาก https://today.line.me/th/v2/article/DOQ9eo

กรมโรงงานอุตสาหกรรม. (2555). คู่มือแนวทางและเกณฑ์คุณสมบัติของเสียเพื่อการแปรรูปเป็นแท่งเชื้อเพลิง และบล็อกประสาน. สืบค้น 9 มกราคม 2567, จาก http://webintra.diw.go.th/iwmb/paper.asp

โกสินทร์ จิรนิรามัย และวนิดา ชูอักษร. (2567). การผลิตเชื้อเพลิงอัดเม็ดร่วมจากกากตะกอนน้ำเสียชุมชนและขยะกำพร้า. วารสารวิทยาศาสตร์บูรพา. 29(2). 481-493

จุฑาพล จำปาแถม ลำพูน เหลาราช ภิตินันท์ อารยางกูร, และสุรสิงห์ อารยางกูร. (2565). การศึกษาอัตราส่วนที่เหมาะสมและสมบัติถ่านอัดแท่งจากไม้ไผ่. วารสารเกษตรศาสตร์และเทคโนโลยี มทร.อีสาน. 3(3) 81-93.

ณพัฐอร บัวฉุน. (2563). การพัฒนารูปแบบการผลิตแท่งเชื้อเพลิงจากขยะย่อยสลายได้ผสมกับกากไขมัน. วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. 15(3), 53-61.

ธนิยา เกาศล, วัฒนา ศรีเกตุ, และวิชัยรัตน์ แก้วเจือ. (2562). ถ่านอัดแท่งจากเถ้าหนักของโรงไฟฟ้าชีวมวลจาก

รากไม้ยางพารา. ใน: การประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 24. (29-36). โรงแรมเซ็นทาราและคอนเวนชันเซ็นเตอร์: อุดรธานี.

ธรพร บุศย์น้ำเพชร และนิพนธ์ ตันไพบูลย์กุล. (2567). การผลิตเชื้อเพลิงขยะจากขยะพลาสติกภายในมหาวิทยาลัย. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ. 10(1) 14-28.

ปุญญภพ ตันติปิฎก. (2565). เกาะติดตลาดขนส่งพัสดุ 2022. SCB Economic Intellingence Center. สืบค้น 21 พฤศจิกายน 2566, จาก https://www.scbeic.com/th/detail/product/8322

พันธวัศ สัมพันธ์พานิช, เพ็ญรดี จันทร์ภิวัฒน์ และกรองแก้ว ทิพยศักดิ์. (2562). ปุ๋ยหมักกากไขมัน ... จากของเสียเหลือทิ้งของอุตสาหกรรมโรงแรม สู่ต้นแบบงานวิจัยการพัฒนาปุ๋ยปรับปรุงบำรุงดิน. วารสารสิ่งแวดล้อม. 23 (1), 1-14.

วนิดา ชูอักษร. (2566). ฤๅขยะกำพร้า จะช่วยแก้ปัญหาพลังงาน?. Sustainability กรุงเทพธุรกิจ. สืบค้น 19 พฤศจิกายน 2566, จาก https://www.bangkokbiznews.com/environment/1073488

ศิริพร คำวานิล และณรงค์ศักดิ์ หนูสอน. (2563). ขยะมูลฝอย: ในช่วงสถานการณ์ COVID-19 เป็นอย่างไร. วารสารพยาบาลสาธารณสุข. 34(2). 144-157.

สำรวม โกศลานันท์, พิพัฒน์ ปราโมทย์ และณัฐสิทธิ์ พัฒนะอิ่ม. (2553). การหาค่าพลังงานความร้อนจากวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรและกากไขมันในบ่อดักไขมันของสถานที่จำหน่ายอาหาร. วารสารวิศวกรรมศาสตร์ ราชมงคลธัญบุรี. 8(2), 37-41.