ลักษณะคุณภาพซากโคขุนของเกษตรกรรายย่อยในจังหวัดสกลนคร
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลที่มีผลต่อลักษณะคุณภาพซาก ได้แก่ ลักษณะน้ำหนักซากอุ่น และเปอร์เซ็นต์ซาก ที่เลี้ยงโดยเกษตรกรรายย่อย ดำเนินการวิจัยโดยใช้ข้อมูลที่รวบรวมจากสหกรณ์การเลี้ยงโคเนื้อขุนแห่งหนึ่งในจังหวัดสกลนครในระหว่างปี พ.ศ. 2556 - 2566 จำนวนทั้งหมด 4,544 ข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา และการวิเคราะห์ความแปรปรวนโดยเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยโดยใช้วิธีการทดสอบ Tukey’s range test ผลการวิจัยจากการวิเคราะห์สถิติเชิงพรรณนา พบว่า ค่าเฉลี่ย±ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของลักษณะน้ำหนักซากอุ่น เปอร์เซ็นต์ซาก น้ำหนักเริ่มขุน น้ำหนักสิ้นสุดการขุน และระยะเวลาการขุน มีค่าเท่ากับ 325±40.9 กิโลกรัม/ตัว, 54.9±2.3 เปอร์เซ็นต์, 392.8±29.2 กิโลกรัม/ตัว, 598±66.7 กิโลกรัม/ตัว และ 360.5±88.7 วัน ตามลำดับ การศึกษาอิทธิพลต่างๆ ที่มีผลต่อลักษณะซาก พบว่า ตัวแปรร่วมระยะเวลาในการขุนและน้ำหนักเมื่อเข้าขุน มีอิทธิพลต่อลักษณะซากอย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติ (P<0.01) อิทธิพลของฟาร์ม เพศ พันธุ์ และอายุเมื่อเข้าขุน มีอิทธิพลต่อลักษณะน้ำหนักซากอุ่นและเปอร์เซ็นต์ซาก โดยโคเนื้อขุนเพศผู้จะมีลักษณะซาก (330.3 กิโลกรัม/ตัว และ 55.3 เปอร์เซ็นต์) สูงกว่าเพศเมีย (323.1 กิโลกรัม/ตัว และ 54.3 เปอร์เซ็นต์) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) ในขณะที่ลักษณะน้ำหนักซากอุ่นและเปอร์เซ็นต์ซากของโคเนื้อลูกผสมลีมูซีน (316.2 กิโลกรัม/ตัว และ 53.2 เปอร์เซ็นต์) น้อยกว่าโคเนื้อลูกผสมชาร์โรเลส์ (332.5 กิโลกรัม/ตัว และ 56.7 เปอร์เซ็นต์) และบราห์มัน (328.7 กิโลกรัม/ตัว และ 54.8 เปอร์เซ็นต์) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) และ โคเนื้อที่เข้าขุนเมื่ออายุตั้งแต่ 2 ปีขึ้นไปไม่เกิน 4 ปี จะมีลักษณะซากดีกว่าโคเนื้อที่เข้าขุนเมื่ออายุประมาณ 1 ปี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) สำหรับปฏิกิริยาร่วมระหว่างอิทธิพลดังกล่าว พบว่า ไม่มีอิทธิพลต่อลักษณะซากอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความลิขสิทธิ์ที่ได้รับการตรีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารเกษตรอนุภาคภูมิภาคลุ่มน้ำโขง คณะเกษตรและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยนครพนม
References
ญาณิน โอภาสพัฒนกิจ, จุฑารัตน์ เศรษฐกุล และกันยา ตันติวิสุทธิกุล. (2547). การผลิตเนื้อโคคุณภาพสูงจากโคลูกผสมเลือดชาร์โรเล่ส์: คุณภาพซากและคุณภาพเนื้อ. การประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 42: สาขาสัตว์ สาขาสัตว์แพทย์ (298-306). สำนักงานกองทุนสนับสนุนงานวิจัย: กรุงเทพฯ.
นลินี คงสุบรรณ, ศิริพร กิรติการกุล, ฑีฆา โยธาภักดี และเก นันทะเสน. (2564). ประสิทธิภาพทางเทคนิคการผลิตโคเนื้อของสมาชิกสหกรณ์เครือข่ายโคเนื้อ จำกัด. วารสารเศรษฐศาสตร์และกลยุทธ์การจัดการ. 8(1), 97-114.
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. (2566). สถิติการเกษตรของประเทศไทย ปี 2566. สำนักวิจัยเศรษฐกิจเกษตร, สำนักเศรษฐกิจการเกษตร, กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. สืบค้นเมื่อ 9 มกราคม 2568, จาก https://www.oae.go.th/assets/portals/1/files/jounal/2567/statistic2566.pdf
Bureš D. and L. Barton. (2012). Growth performance, carcass traits and meat quality of bulls and heifers slaughtered at different ages. Czech Journal of Animal Science. 57: 34-43.
Kause, A., L. Mikkola, I. Strandén, and K. Sirkko. (2015). Genetic parameters for carcass weight, conformation and fat in five beef cattle breeds. Animal. 9: 35-42.
R program. (2024). R: A language and environment for statistical computing. R Foundation for Statistical Computing, Vienna, Austria. URL: http://www.R-project.org/.
Pelmuş R. S., H. Grosu, M. C. Rotar, M. A. Gras, and C. Van. (2023). Genetic parameters for growth traits of Charolais and Limousine cattle breeds. Acta Fytotechnica et Zootechnica. 26: 342-346.
Pogorzelska-Przybylek, P., Z. Nogalski, M. Sobczuk-Szul, and M. Momot. (2021). The effect of gender status on the growth performance, carcass and meat quality traits of young crossbred Holstein-Friesian × Limousin cattle. Animal Bioscience. 34: 914-921.
Yüksel S., A. Karaçuhalilar, B. Balta, U. Şimşek, F. Yüksel, M. Memiş, and M. Çelik. (2024). Effect of breed and sex on carcass traits, meat quality and fatty acid composition of young cattle formed based on animal protein production and qualified meat in plateau condition. Archives Animal Breeding. 409-420.