การประเมินระดับความเสียหายทางเศรษฐกิจของแมลงศัตรูข้าว ในพื้นที่นาหลังน้ำท่วม

Main Article Content

VARANGRAT PENGCHAIMO
กัมปนาท วงค์เครือสอน

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจปริมาณประชากรแมลงศัตรูข้าวและศัตรูธรรมชาติในพื้นที่ปลูกข้าวนาปีของเขตจังหวัดสกลนคร และนครพนมหลังน้ำท่วม เพื่อประเมินหาระดับความเสียหายที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงประชากรของแมลงศัตรูข้าวเปรียบเทียบกับปริมาณประชากรแมลงศัตรูธรรมชาติ โดยคัดเลือกพื้นที่ศึกษา 3 พื้นที่ได้แก่ อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร, อำเภอโคกศรีสุพรรณ จังหวัดสกลนคร และอำเภอนาหว้า จังหวัดนครพนม แต่ละอำเภอจะทำการสำรวจอำเภอละ 4 แปลง ซึ่งจะแบ่งเก็บข้อมูลแมลงตามอายุการเจริญเติบโตของข้าวได้แก่ ระยะต้นกล้า ระยะข้าวตั้งท้อง และระยะเก็บเกี่ยวหรือสุกแก่ โดยการใช้สวิงสำหรับโฉบแมลงในการสำรวจประชากรแมลงและจะทำการโฉบแมลงจนครบทั้ง 5 จุดตามแผนการสุ่มสำรวจแบบทแยงมุม จากการศึกษาพบว่าปริมาณประชากรแมลงที่อำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนครมีสัดส่วนแมลงศัตรูข้าวต่อศัตรูธรรมชาติคิดเป็น 2.23 เท่าตัวโดยพบแมลงศัตรูข้าวเฉลี่ยร้อยละ 69.03  ศัตรูธรรมชาติเฉลี่ยร้อยละ 30.97 ส่วนอำเภอโคกศรีสุพรรณ จังหวัดสกลนครมีสัดส่วนแมลงศัตรูข้าวต่อศัตรูธรรมชาติคิดเป็น 2.35 เท่าตัวซึ่งพบว่ามีแมลงศัตรูข้าวเฉลี่ยร้อยละ 70.12  ศัตรูธรรมชาติเฉลี่ยร้อยละ 29.88 และอำเภอนาหว้า จังหวัดนครพนมมีสัดส่วนแมลงศัตรูข้าวต่อศัตรูธรรมชาติคิดเป็น 3.04 เท่าตัวโดยพบแมลงศัตรูข้าวเฉลี่ยร้อยละ 75.26 ศัตรูธรรมชาติเฉลี่ยร้อยละ 24.74 นอกจากนี้ยังพบว่าในระยะที่ข้าวตั้งท้องมีสัดส่วนปริมาณของแมลงศัตรูข้าวสูงกว่าศัตรูธรรมชาติ รองลงมาได้แก่ ระยะต้นกล้า และระยะเก็บเกี่ยวตามลำดับ และผลจากสัดส่วนปริมาณแมลงศัตรูข้าวต่อแมลงศัตรูธรรมชาติสามารถนำมาประเมินหาระดับความเสียหายทางเศรษฐกิจที่เกิดจากแมลงศัตรูข้าวในพื้นที่ศึกษาทั้ง 3 เขตอำเภอ พบว่าแมลงศัตรูข้าวเข้าทำลายข้าวตลอดอายุการเจริญเติบโตอยู่ในระดับต่ำจนถึงระดับกลาง ซึ่งเป็นความเสียหายที่เกิดกับต้นข้าวไม่เกินร้อยละ 25 หรืออยู่ในระดับสมดุลตามธรรมชาติ ทั้งนี้เป็นผลจากปริมาณการมีแมลงศัตรูธรรมชาติในกลุ่มตัวห้ำที่สามารถเข้าทำลายควบคุมแมลงศัตรูข้าวได้ตั้งแต่ระยะไข่จนกระทั่งเป็นตัวเต็มวัยซึ่งพบในทั้ง 3 อำเภอ

Article Details

How to Cite
PENGCHAIMO, V., & วงค์เครือสอน ก. . . (2025). การประเมินระดับความเสียหายทางเศรษฐกิจของแมลงศัตรูข้าว ในพื้นที่นาหลังน้ำท่วม . วารสารเกษตรอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง, 2(1), 27–36. สืบค้น จาก https://li05.tci-thaijo.org/index.php/JAgriGMS/article/view/665
บท
บทความวิจัย

References

จตุรงค์ พวงมณี และคณะ. (2549). การศึกษาจำนวนแมลงศัตรูพืชและแมลงศัตรูธรรมชาติใน

ระบบการผลิตผักปลอดสารพิษ. รายงานการประชุมวิชาการ ศวพก. ศูนย์วิจัยเพื่อเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ประชาชาติธุรกิจ ออนไลน์. (2560). ผอ.ชลประทานยอมรับ”ทำนบดิน”อ่างห้วยทรายขมิ้นแตก 20 เมตรจนน้ำ 1 ล้าน

ลบ.ม. ทะลัก. สืบค้น วันที่ 25 กรกฎาคม 2566, จาก https://www.prachachat.net/general/news-12922.

ศานิต รัตนภุมมะ. (2545). กีฏวิทยาแม่บท.สิรินาฎการพิมพ์. เชียงใหม่

สำนักวิจัยและพัฒนาข้าว กรมการข้าว. (2559). องค์ความรู้เรื่องข้าว. สืบค้น วันที่ 29 พฤษภาคม 2566, จาก http:// www.ricethailand.go.th.

ศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวกาฬสินธุ์. (2565). เมล็ดพันธุ์. สืบค้น วันที่ 25 กรกฎาคม 2566, จาก https://kls-rsc.ricethailand.go.th/category.php?type=1246.

อวบ สารถ้อย. (2543). ศัตรูพืชและการควบคุมในอดีต.กรุงเทพฯรั้วเขียว.

Khaosod Online. (2560). รวมภาพวิกฤตน้ำท่วม"สกลนคร" จมบาดาลทั้งเมือง ประชาชนเดือดร้อนหนักเร่งอพยพ. สืบค้น วันที่ 25 กรกฎาคม 2566, จาก https://www.khaosod.co.th/special-stories/news_455740.