ผลของการใช้เชื้อราไมคอร์ไรซาร่วมกับการใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในชุดดินจัตุรัส

ผู้แต่ง

  • นพดล การดี -
  • วิรุธ คงเมือง
  • ณภัทร น้อยน้ำใส

คำสำคัญ:

ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์, เชื้อราไมคอร์ไรซา, ปุ๋ยเคมี, ชุดดินจัตุรัส

บทคัดย่อ

การศึกษาผลของการใช้เชื้อราไมคอร์ไรซาร่วมกับการใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินต่อการเจริญเติบโต และผลผลิตของข้าวโพดเลี้ยงสัตว์พันธุ์ไพโอเนีย 1463  และพันธุ์นครสวรรค์ 3 ในชุดดินจัตุรัส มีวัตถุประสงค์  ดังนี้ 1) ศึกษาการใช้เชื้อราไมคอร์ไรซา ร่วมกับปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินที่มีผลต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของข้าวโพดเลี้ยงสัตว์  2) ศึกษาคุณสมบัติทางเคมีของดินก่อน และหลังการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์  3) ศึกษาปริมาณเชื้อราไมคอร์ไรซาที่อาศัยอยู่ในดินก่อนการปลูก และช่วงระยะการเจริญเติบโตของข้าวโพดเลี้ยงสัตว์  โดยวางแผนการทดลองแบบ Randomized Complete Block Design (RCBD) ปรากฏผลภาพรวมดังนี้ คือ  การใช้เชื้อราไมคอร์ไรซาร่วมกับการใช้ปุ๋ยเคมีตามค่าวิเคราะห์ดิน 75 เปอร์เซ็นต์ หรือการใช้ปุ๋ยเคมีตามค่าวิเคราะห์ดิน 75 เปอร์เซ็นต์อย่างเดียว  ไม่มีผลต่อค่าความสูงต้นข้าวโพดอายุ 60 วัน และอายุ 120 วัน ทุกตำรับการทดลองพบว่า ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ  การปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์พันธุ์ไพโอเนีย 1463 ร่วมกับปุ๋ยเคมี 75 เปอร์เซ็นต์  ตามค่าวิเคราะห์ดิน มีค่าน้ำหนักเมล็ดแห้ง  ค่าน้ำหนักต้นสด  ค่าน้ำหนักฝักปอกเปลือก  และค่าน้ำหนักฝักไม่ปอกเปลือก มีค่ามากที่สุด เท่ากับ  14.70,  24.33,  23.67  และ  26.00 กิโลกรัม  การปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์พันธุ์นครสวรรค์ 3 ร่วมกับปุ๋ยเคมี 75 เปอร์เซ็นต์  ตามค่าวิเคราะห์ดิน จำนวนฝักสมบูรณ์  จำนวนฝักไม่สมบูรณ์  และน้ำหนัก 100 เมล็ด มีค่ามากที่สุด เท่ากับ 100 ฝัก, 37 ฝัก และ 30.17 กรัม ขณะที่การปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์พันธุ์ไพโอเนีย 1463 ร่วมกับการใช้เชื้อราไมคอร์ไรซาและปุ๋ยเคมี 75 เปอร์เซ็นต์ ตามค่าวิเคราะห์ดิน มีค่าต่ำที่สุด  การใช้เชื้อราไมคอร์ไรซาร่วมกับการใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน มีผลให้ความเป็นกรดเป็นด่าง (pH) ของดินอยู่ในระดับกรดเล็กน้อยถึงปานกลาง  และมีค่าการนำไฟฟ้า (ECe) ของดินอยู่ในระดับไม่เค็ม นอกจากนี้ การปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์พันธุ์ไพโอเนีย 1463 ร่วมกับปุ๋ยเคมี 75 เปอร์เซ็นต์  ตามค่าวิเคราะห์ดิน มีผลให้ปริมาณธาตุอาหารในดินมีค่าสูงสุด อย่างไรก็ตามการใช้เชื้อราไมคอร์ไรซาร่วมกับการใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน หรือใช้ปุ๋ยเคมีอย่างเดียวติดต่อกัน 1 ปี มีผลให้สมบัติทางเคมีของดินในแนวโน้มที่ดีขึ้น  สำหรับการใช้เชื้อราไมคอร์ไรซา ร่วมกับการใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินมีผลต่อปริมาณจำนวนสปอร์เชื้อราไมคอร์ไรซาที่ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์อายุ 60 วัน และอายุ 90 วัน พบว่าการเจริญเติบโตของข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่เพิ่มขึ้นทำให้การเจริญเติบโตของเชื้อราไมคอร์ไรซาเพิ่มขึ้นตามด้วย

Downloads

Download data is not yet available.

References

กรมพัฒนาที่ดิน. (2566). พื้นที่เพาะพืชเศรษฐกิจ ตำบลตะเคียน อำเภอด่านขุนทด จังหวัดนครราชสีมา. สืบค้นเมื่อวันที่ 30 มกราคม 2567 เข้าถึงได้จาก https://Agri-Map Online moac.go.th.

กลุ่มวางแผนการใช้ที่ดิน สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 3 กรมพัฒนาที่ดิน. 2561. แผนที่ทรัพยากรดิน ตำบลตะเคียน

อำเภอด่านขุนทด จังหวัดนครราชสีมา. สืบค้นเมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2567. เข้าถึงได้จาก http://r03.ldd.go.th/Data/map_soil/Map62_Nakornratchasima/%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%94%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%95%E0%B8%B3%E0%B8%9A%E0%B8%A5/11.amp%20dankhuntod/11.5ta_khian.jpg

จามีกร ศรีสุมล. (2537). การใช้อินทรียวัสดุเหลือใช้บางชนิดเป็นปุ๋ยไนโตรเจนสำหรับข้าวโพดหวานที่ปลูกในชุดดินกำแพงแสน. (วิทยานิพนธ์ปริญญาโท) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ชัยสิทธิ์ ทองจู. (2538). การใช้อินทรีย์วัสดุเหลือใช้บางชนิดเป็นปุ๋ยไนโตรเจนสำหรับกวางตุ้ง และข้าวโพดฝักอ่อนที่ปลูกในชุดดินกำแพงแสน. (วิทยานิพนธ์ปริญญาโท) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ทัศนีย์ อัตตะนันท์ และจงรักษ์ จันทร์เจริญสุข. (2542). แบบฝึกหัดและคู่มือปฏิบัติการวิเคราะห์ดินและพืช. ภาควิชาปฐพีวิทยา คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.

ธนัตศรี สอนจิตร. (2552). การใช้ประโยชน์ของวัสดุเหลือใช้โรงงานอุตสาหกรรมเยื่อกระดาษในแง่การเจริญเติบโตและผลผลิตมวลชีวภาพของยูคาลิปตัสที่ปลูกในชุดดินกำแพงแสน. (วิทยานิพนธ์ปริญญาโท) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

สิริพร สิริชัยเวชกุล, นิจพร ณ พัทลุง, สำราญ มากมาย และวรุต กรึงไกร. (2564). ผลของเชื้อราอาร์บัสคูลาร์ไมคอร์ไรซาต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของข้าวโพดหวานภายใต้สภาวะธรรมชาติ. วารสารเกษตรพระจอมเกล้า. 39(2), 89-94.

FAO Project Staff and Land Classification Division. (1973). Soil interpretation handbook for Thailand. Department of Land Development, Ministry of Agriculture and Cooperatives, Bangkok.

Thongjoo, C., Miyagawa, S. & Kawakubo, N. (2005). Effect of soil moisture and temperature on decomposition rates of some waste materials from agriculture and agro-industry. Plant Production Science, 8(4), 475-481.

Thongjoo, C., Miyagawa, S. & Kawakubo, N. (2006). Soil productivity after decomposition of waste materials under different soil moisture and temperature. Plant Production Science, 9(2), 106-114.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-21