การหาความสัมพันธ์ระหว่างอุณหภูมิพื้นผิวกับดัชนี NDVI NDWI และ NDBI ในเขตเทศบาลนครนครราชสีมา

ผู้แต่ง

  • กิติยา แหนงกระโทก
  • สโรชินี แก้วธานี -

คำสำคัญ:

อุณหภูมิพื้นผิว, ดัชนีผลต่างพืชพรรณ , ดัชนีความต่างความชื้นของน้ำ , ดัชนีผลต่างและความปกติสิ่งก่อสร้าง

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อคำนวณอุณหภูมิพื้นผิวจากข้อมูลจากดาวเทียม Landsat 5 TM และดาวเทียม Landsat 8 OLI/TIRS และวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ระหว่างอุณหภูมิพื้นผิวกับดัชนีผลต่างพืชพรรณ (Normalized Differences Vegetation Index: NDVI) ดัชนีความต่างความชื้นของน้ำ (Normalized Differences Water Index : NDWI) และดัชนีผลต่างและความปกติสิ่งก่อสร้าง (Normalized Differences Built-up Index: NDBI) ในพื้นที่เขตเทศบาลนครนครราชสีมาในปี พ.ศ. 2552 และ ปี พ.ศ. 2564 โดยใช้ซอฟต์แวร์รหัสเปิด Google Earth Engine ผลการวิเคราะห์พบว่า ปี พ.ศ. 2552 ในช่วงฤดูร้อนอุณหภูมิพื้นผิวสูงสุดจาก 29.71 องศาเซลเซียสในปี พ.ศ. 2552 เพิ่มขึ้นเป็น 34.78 องศาเซลเซียสในปี พ.ศ. 2564 และในฤดูหนาวอุณหภูมิพื้นผิวสูงสุดจาก 30.12 องศาเซลเซียสในปีพ.ศ. 2552 เพิ่มขึ้นเป็น 31.82 องศาเซลเซียสในปี พ.ศ. 2564 นอกจากนี้การศึกษาแสดงให้เห็นว่า อุณหภูมิพื้นผิวกับดัชนี NDVI และ NDWI มีความสัมพันธ์เชิงลบและแปรผกผันกัน ส่วนอุณหภูมิพื้นผิวกับดัชนี NDBI มีความสัมพันธ์เชิงบวกแปรผันตรงต่อกัน ผลจากการศึกษานี้สามารถนำไปใช้ในการวางแผนใช้ประโยชน์ที่ดินที่เหมาะสมและรับมือกับปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

Downloads

Download data is not yet available.

References

กมลวรรณ ปรีเปรมโมทย์. (2561). การหาดัชนีความสัมพันธ์ของการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินกับปรากฏการณ์เกาะความร้อนของเมืองไมซ์พัทยา. (วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต) มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

กรมอุตุนิยมวิทยา. (2563). สถิติอุณหภูมิอากาศ อุณหภูมิสูงสุด. สืบค้นเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2566 เข้าถึงได้จาก http://www.tmd.go.th/programs /uploads/tempstat/max_stat_latest.pdf.

ญาโณทัย แก้วทอง. (2564). การศึกษาและวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของอุณหภูมิพื้นผิวต่อพื้นที่สีเขียวด้วยเทคนิคการรับรู้ ระยะไกล กรณีศึกษา : อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก. (ปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต) มหาวิทยาลัยนเรศวร.

นราธิป เพ่งพิศ สุพรรณ กาญจนสุธรรม แก้ว นวลฉวี และ ภัทราพร สร้อยทอง. (2560). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างอุณหภูมิพื้นผิวดินกับพื้นที่ชุมชน และสิ่งปลูกสร้าง กรณีศึกษา อำเภอเมืองจังหวัดระยอง. วารสารเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ มหาวิทยาลัยบูรพา. 2(3) , 27-40.

ปริยานุช โสภา. (2562 ). การหาความสัมพันธ์อุณหภูมิพื้นผิวจากข้อมูลจากดาวเทียม LANDSAT 8 ระบบ TIRS กับ ค่าดัชนีพืชพรรณค่าเน้นภาพพืชพรรณและดัชนีสิ่งปลูกสร้างในพื้นที่เขตกรุงเทพและปริมณฑล. (วิทยานิพนธ์ปริญญาวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานกองทุนสนับสนุนงานวิจัย. 2559. รายงานการสังเคราะห์และประมวลผลสถานภาพองค์ความรู้ด้านเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ครั้งที่ 2 พ.ศ. 2559. สำนักงานกองทุนสนับสนุนงานวิจัย: กรุงเทพมหานคร.

เสาวนีย์ วิจิตรโกสุม. (2552). การจัดการทรัพยากรน้ำในลุ่มน้ำลำตะคองแบบบูรณาการ. (วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Dousset, B., & Gourmelon, F. (2003). Satellite multi-sensor data analysis of urban surface temperatures and land cover. ISPRS Journal of Photogrammetry and Remote Sensing. 58, 43-54.

Faizan, O. M. (2021). Monitoring land use/land cover change and its impact on variations of land surface temperature rapidly urbanizing island using google earth engine (GEE)-a case study of Delhi, India. Plan Insights Res Paper, 1–25.

USGS. (2013). Using the USGS Landsat 8 Product. Accessed March 24, 2024, Retrieved from http://landsat.usgs.gov/Landsat8_Using_Product.php.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-21