ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความเมื่อยล้าของผู้ประกอบอาชีพเสริมสวย ตำบลเมืองศรีไค อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี
คำสำคัญ:
ความเมื่อยล้า, เสริมสวย , ความเสี่ยงการยศาสตร์ , โรคระบบกล้ามเนื้อและโครงสร้างกระดูกบทคัดย่อ
การศึกษาเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวาง (Cross-sectional analytical study) นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเมื่อยล้า และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความเมื่อยล้าของผู้ประกอบอาชีพเสริมสวย ตำบลเมืองศรีไค อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี จำนวน 45 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ แบบสอบถาม แบบประเมินความเสี่ยงด้านการยศาสตร์ทั่วร่างกาย (Rapid Entire Body Assessment: REBA) และแบบประเมินความเมื่อยล้า (Cornell Musculoskeletal Disorder Questionnaire: CMDQ) วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และสถิติอนุมานโดยใช้สถิติครัสคาล-วอลลิส (Kruskal-Wallis Test) และสถิติไคสแคว์ (Chi – Square) ผลการศึกษาผู้ประกอบอาชีพเสริมสวย ตำบลเมืองศรีไค อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (ร้อยละ 62.22) อายุมากกว่า หรือเท่ากับ 33 ปี (ร้อยละ 53.33) ดัชนีมวลกายอยู่ในเกณฑ์น้ำหนักปกติ (ร้อยละ 37.78) ไม่มีโรคประจำตัว (ร้อยละ 91.11) และออกกำลังกายน้อยกว่า 3 ครั้งต่อสัปดาห์ (ร้อยละ 62.23) ชั่วโมงทำงาน มากกว่า หรือเท่ากับ 9 ชั่วโมง ต่อวัน (ร้อยละ 55.56) จำนวนวันทำงาน น้อยกว่า 6 วัน ต่อสัปดาห์ (ร้อยละ 53.33) ระยะเวลาในการพัก น้อยกว่า 4 ชั่วโมง ต่อวัน (ร้อยละ 51.11) และระยะเวลาทำอาชีพเสริมสวย น้อยกว่า 8 ปี (ร้อยละ 60.00) ปัจจัยด้านการยศาสตร์ ได้แก่ ลักษณะท่าทางการทำงาน การเอี้ยวลำตัว การออกแรง การทำงานซ้ำ ๆ ภาพรวมอยู่ในระดับน้อย (x̅ = 0.38, S.D. = 0.46) ใช้แบบสอบถาม CMDQ ประเมินความเมื่อยล้าในส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ผู้ประกอบอาชีพเสริมสวย และวิเคราะห์ความแตกต่างค่าเฉลี่ยคะแนนความเมื่อยล้าส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย พบว่า ไม่แตกต่างกัน และพบว่าปัจจัยด้านการยศาสตร์ มีความสัมพันธ์กับความเมื่อยล้าของผู้ประกอบอาชีพเสริมสวย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ 0.05 (χ2= 15.616, p-value = 0.009) ส่วนปัจจัยอื่นไม่มีความสัมพันธ์กับความเมื่อยล้าของผู้ประกอบอาชีพเสริมสวย การศึกษาครั้งนี้จึงเสนอแนะให้มีการส่งเสริมความรู้และแนวปฏิบัติด้านการยศาสตร์ในผู้ประกอบอาชีพเสริมสวยเพื่อป้องกันความผิดปกติทางระบบโครงร่างกล้ามเนื้อต่อไป
Downloads
References
วัชราภรณ์ วงศ์สกุลกาญจน์, วนิดา เทพณรงค์ และอุทัย กายบุตร. (2559). ปัจจัยทีมีความสัมพันธ์กับระดับความเมื่อยล้าของพนักงานร้าน เสริมสวยในเขตตำบลคลองหนึ่ง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี. วารสารวิชาการสาธารณสุข, 2(1), 380-386.
สาธิตา แสวงลาภ. (2562). การประเมินความเสี่ยงด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย ในการทำงานของอาชีพ ช่างเสริมสวย กรณีศึกษา บริเวณโดยรอบมหาวิทยาลัยนเรศวร จังหวัดพิษณุโลก. วารสารความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อม, 4(2), 43-52.
สำนักงานกองทุนเงินทดแทน. (2566). สถานการณ์การประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย เนื่องจากการทำงาน ปี 2561 – 2565. สืบค้นเมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2567, เข้าถึงได้จาก https://www.sso.go.th/wpr/main/privilege/ข้อมูลสถิติกองทุนเงินทดแทน_sub_category_list-bel_1_169_745
Hedge, A., Morimoto, S. & McCroibe, D. (1999). Effects of keyboard tray geometry on upper body posture and comfort. Ergonomics, 42, 1333–1349.
Human Factors and Ergonomics Laboratory at Cornell University. Cornell Musculoskeletal Discomfort Questionnaires (CMDQ). Accessed July 7, 2024, Retrieved from https://ergo.human. cornell.edu/ahmsquest.html
Martolia, D., Gupta, R., & Gill, J. K. (2020). Assessment of musculoskeletal problems of Hairsalon workers. Pharma Innovation, 9(5), 302–305.
Oğuzhan, E., Kubilay, H., & Murat, Ö. (2008). Cross-cultural adaptation, validity and reliability of Cornell musculoskeletal discomfort questionnaire (cmdq) in turkish language. Accessed July 7, 2024, Retrieved from https://ergo.human.cornell.edu/Pub/AHquest/Turkish_adaptation _validation_of_ CMDQ__ report.pdf
Tolera, S. T., & Kabeto, S. K. (2020). Occupational-related musculoskeletal disorders and associated factors among beauty salon workers, Adama Town, South-Eastern Ethiopia, 2018. Journal of Ergonomics, 9, 1-8.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.