การวิเคราะห์หาปริมาณฟอสเฟตในเนื้อหมู โดยเทคนิคดิจิทัลอิมเมจคัลเลอริเมตรีเปรียบเทียบกับเทคนิคยูวี-วิสิเบิล สเปกโทรโฟโตเมตรี

ผู้แต่ง

  • ปริญญา มาสวัสดิ์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, สถานวิจัยเพื่อความเป็นเลิศทางวิชาการ ด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีการตรวจและวัสดุขั้นสูง
  • ธนธรณ์ คำมุข คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • ณัฐริการ์ ฤทธิ์เอี่ยม คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • ธิติสรณ์ ขวัญวงค์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

คำสำคัญ:

เครื่องดิจิทัลอิมเมจคัลเลอริมิเตอร์ที่ใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่อัจฉริยะ , เครื่องยูวี-วิสิเบิลสเปกโทรโฟโตมิเตอร์ , ฟอสเฟต, สารละลายที่ทำให้เกิดสี , การย่อยด้วยแสงยูวี

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์และที่มา : จากปัญหากรณีพบเนื้อหมูในร้านหมูกระทะมีการนำสารฟอสเฟตมาใช้ในการหมัก เพื่อทำให้เนื้อเกิดการอุ้มน้ำได้ดี คงความนุ่ม รักษารสชาติ และมีแนวโน้มว่ามีการใช้อย่างแพร่หลาย ทำให้ผู้บริโภคส่วนใหญ่มีความกังวลว่าจะได้รับสารฟอสเฟตเข้าไปสู่ร่างกายที่เกิดจากการตกค้างในเนื้อหมู และทำให้เกิดอันตรายต่อร่างกาย ดังนั้นในงานวิจัยนี้จึงได้ใช้วิธีการเตรียมตัวอย่างเนื้อหมูที่ผ่านการปรุงแต่งโดยการย่อยด้วยแสงยูวีที่ได้พัฒนาขึ้น ก่อนนำไปวิเคราะห์หาปริมาณฟอสเฟต โดยใช้สารละลายที่ทำให้เกิดสีในการทำให้เกิดสารประกอบเชิงซ้อนที่มีสีกับสารฟอสเฟต แล้วนำไปตรวจวัดด้วยเทคนิคดิจิทัลอิมเมจคัลเลอริเมตรี โดยการถ่ายภาพสีของสารในกล่องควบคุมแสงด้วยกล้องของโทรศัพท์เคลื่อนที่อัจฉริยะและวัดค่าสีแดง  สีเขียวและสีน้ำเงิน ด้วยแอปพลิเคชัน และเปรียบเทียบผลที่ได้จากเทคนิคที่พัฒนาขึ้นนี้กับเทคนิคขั้นสูงคือ ยูวี-วิสิเบิล สเปกโทรโฟโตเมตรี

วิธีดำเนินการวิจัย : ชั่งตัวอย่างเนื้อหมู 0.10 กรัม แล้วนำมาเติมสารผสมระหว่างกรดไนตริกเข้มข้นและไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ (ในอัตราส่วน 2 : 1) จากนั้นนำไปย่อยด้วยแสงยูวีจนสารละลายแห้ง และเติมน้ำปราศจากไอออนในตัวอย่างที่ย่อยแล้ว ก่อนนำไปทำให้เกิดสารประกอบเชิงซ้อนกับสารละลายที่ทำให้เกิดสี สารประกอบเชิงซ้อนที่เกิดขึ้นระหว่างสารละลายที่ทำให้เกิดสีและฟอสเฟตจะมีสีน้ำเงิน แล้วนำไปวิเคราะห์หาปริมาณฟอสเฟตด้วยเทคนิคดิจิทัลอิมเมจคัลเลอริเมตรี และเทคนิคยูวี-วิสิเบิล สเปกโทรโฟโตเมตรี

ผลการวิจัย : เมื่อนำไปวิเคราะห์ด้วยเทคนิคดิจิทัลอิมเมจคัลเลอริเมตรี จะพบช่วงความเป็นเส้นตรงระหว่าง 0.10-0.50 มิลลิกรัมต่อลิตร มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เท่ากับ 0.996 ร้อยละการกลับคืนอยู่ในช่วง 87.2 – 100 มีค่าขีดจำกัดต่ำสุดของการตรวจวัดและค่าขีดจำกัดต่ำสุดของการวิเคราะห์เชิงปริมาณเท่ากับ 0.09 และ 0.30 มิลลิกรัมต่อลิตรตามลำดับ

สรุปผลการวิจัย : การวิเคราะห์หาปริมาณฟอสเฟตในตัวอย่างเนื้อหมูด้วยสารละลายที่ทำให้เกิดสี โดยเทคนิคดิจิทัลอิมเมจคัลเลอริเมตรีนั้นมีความถูกต้อง แม่นยำ สะดวก รวดเร็ว และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และเมื่อเปรียบเทียบกับเทคนิคยูวี-วิสิเบิล สเปกโทรโฟโตเมตรี เพื่อยืนยันความถูกต้องของวิธี พบว่าผลที่ได้ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญโดยการทำ paired t-test  ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%

References

AOAC. (1995). Official Methods of Analysis of AOAC International, (16th ed.). Washington D.C.European Parliament and Council Directive No 95/2/EC of 20 February 1995. Food additives other than colors and sweeteners. Retrieved July 16, 2024, from https://eurlex.europa.eu/LexUriServ/LexUriServ.do?uri=CONSLEG:1995L0002:20060815:EN:PDF

Gałuszka, A., Migaszewski, Z.M., Konieczka, P., & Namieśnik, J. (2012). Analytical Eco-Scale for assessing the greenness of analytical procedures. Trends in Analytical Chemistry, 37, 61-72.

Kheamphet P., & Masawat, P. (2022). A simple and cost-effective smartphone-based digital imaging device for the quantification of selected heavy metals in Thai rice. Analytical Methods, 14(2), 165-173.

Masawat, P., Panwong, B., & Udnan, Y. (2014). Development of UV digestion unit for natural rubber latex preparation before the determination of phosphorus residue with artificial neural network-digital image-based colorimetry. Scientific Research and Essays, 9(2), 2370-2377.

Masawat, P., Yenkom, T., Sitsirata, C., & Thongmeea, T. (2022). Smartphone-based digital image colorimetry for determination of iron in cereals and crispy seaweed using Terminalia chebula retz. extract as a natural reagent. Analytical Methods, 14, 4321-4329.

Mazzaracchio, V., Sassolini, A., Mitra, K.Y., Mitra, D., Stojanovic, G.M., Willert, A., Sowade, E., Baumann, R.R., Zichner, R., Moscone, D., & Arduini, F. (2022). A fully-printed electrochemical platform for assisted colorimetric detection of phosphate in saliva: Greenness and whiteness quantification by the AGREE and RGB tools. Green Analytical Chemistry, 1, 100006.

Puljic, L., Kartalovac, B., Grbavac, J., Grbavac, M.J., Kovacevic, D., Petrovic, J.,& Mastanjevic, K. (2019). Chemical composition and microbial safety of pork meat products originating form Herzegovina. Arhiv veterinarske medicine, 12(2), 83 – 94.

Sringarm, C., Numthuam, S. ,& Rungchang, S. (2019). Determination of phosphate residues in frozen shrimp product using near infrared spectroscopy. Agricultural Science Journal, 50 : 1 (Suppl.), 130-136. (in Thai)

Wongthanyakram, J., Harfield, A., & Masawat, P. (2019). A smart device-based digital image colorimetry for immediate and simultaneous determination of curcumin in turmeric. Computers and Electronics in Agriculture, 166, 104981.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-08-06

How to Cite

มาสวัสดิ์ ป. . ., คำมุข ธ. . ., ฤทธิ์เอี่ยม ณ. . ., & ขวัญวงค์ ธ. . . (2024). การวิเคราะห์หาปริมาณฟอสเฟตในเนื้อหมู โดยเทคนิคดิจิทัลอิมเมจคัลเลอริเมตรีเปรียบเทียบกับเทคนิคยูวี-วิสิเบิล สเปกโทรโฟโตเมตรี. วารสารวิทยาศาสตร์บูรพา, 29(2 May-August), 853–868. สืบค้น จาก https://li05.tci-thaijo.org/index.php/buuscij/article/view/232