สารสกัดแคโรทีนอยด์จากเปลือกปูม้าต่อการเร่งสีของปลาซิวข้างขวานเล็ก

ผู้แต่ง

  • ดลฤดี พิชัยรัตน์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการประมง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตตรัง
  • นพรัตน์ มะเห คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการประมง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตตรัง
  • วรวุฒิ เกิดปราง คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการประมง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตตรัง

คำสำคัญ:

ปลาซิวข้างขวานเล็ก , เปลือกปูม้า , แอสตาแซนทิน , การเร่งสี

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์และที่มา : การนำเปลือกของปูม้าซึ่งเป็นเศษเหลือจากอุตสาหกรรมประมงมาใช้ให้เกิดประโยชน์ และเป็นแนวทางในการเพิ่มมูลค่าเศษเหลือจากการประมง โดยการสกัดสารแคโรทีนอยด์จากเปลือกปูม้า จากนั้นทำการผสมในอาหารเพื่อการกระตุ้นสีของปลาซิวข้างขวานเล็กให้มีสีสันเข้มขึ้น เพื่อหลีกเลี่ยงการใช้สารเร่งสีสังเคราะห์ และเพิ่มมูลค่าของปลาซิวข้างขวานเล็กให้สูงขึ้นก่อนส่งขายสู่ตลาดปลาสวยงาม

วิธีดำเนินการวิจัย : สกัดแคโรทีนอยด์จากเปลือกปูม้าด้วยเอทานอล และทดสอบประสิทธิภาพของสารสกัดในการเร่งสีของปลาซิวข้างขวานเล็ก โดยอาหารผสมสารสกัดแคโรทีนอยด์จากเปลือกปูม้าที่ระดับต่าง ๆ ดังนี้ ปริมาณ 0 (กลุ่มควบคุม), 25, 50, 75 และ 100 มิลลิกรัมแอสตาแซนทินต่ออาหาร 1 กิโลกรัม และอาหารสำเร็จรูปผสมแอสตาแซนทิน  ทางการค้า เลี้ยงปลาซิวข้างขวานเล็กเพศผู้ ขนาดความยาวประมาณ 2.50±0.19 เซนติเมตร ในตู้กระจกบรรจุน้ำปริมาตร 10 ลิตร จำนวน 15 ตัวต่อตู้ ชุดการทดลองละ 3 ซ้ำ เป็นเวลา 4 สัปดาห์ โดยทำการวัดค่าสีแดง (+a*)  ค่าสีเหลือง (+b*) และค่าความสว่าง (L*) การเจริญเติบโตและอัตรารอดตายของปลาซิวข้างขวานเล็ก

ผลการวิจัย : ปลาซิวข้างขวานเล็กที่เลี้ยงด้วยอาหารสำเร็จรูปผสมสารสกัดแคโรทีนอยด์ปริมาณ 25, 50 และ 75 มิลลิกรัมแอสตาแซนทิน พบว่าปลามีค่าสีแดง 4.39±0.09, 4.64±0.21 และ 4.53±0.18 ตามลำดับ ไม่แตกต่างจากปลาที่เลี้ยงด้วยอาหารสำเร็จรูปผสมแอสตาแซนทินทางการค้า (4.19±0.17) แต่มากกว่าปลาที่เลี้ยงด้วยอาหารกลุ่มควบคุม (2.37±0.21) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ขณะที่ปลาที่เลี้ยงด้วยอาหารผสมสารสกัดปริมาณ 100 มิลลิกรัมแอสตาแซนทิน มีค่าสีแดง 5.27±0.24 และมากกว่าทุกกลุ่มอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ค่าสีเหลืองของปลาที่เลี้ยงด้วยอาหารผสมสารสกัดปริมาณ 25, 50, 75 และ 100 มิลลิกรัมแอสตาแซนทิน ไม่แตกต่างจากปลาที่เลี้ยงด้วยอาหารสำเร็จรูปผสมสารแอสตาแซนทินทางการค้า แต่จะมีค่าเหลืองมากกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) โดยสารสกัดแคโรทีนอยด์จากเปลือกปูม้าไม่มีผลต่อค่าความสว่าง การเจริญเติบโตและอัตรารอดตายของปลาทุกกลุ่มการทดลอง (p>0.05)

สรุปผลการวิจัย : สารสกัดแคโรทีนอยด์จากเปลือกปูม้าสามารถเร่งสีแดงและสีเหลืองในปลาซิวข้างขวานเล็กได้ ซึ่งทำให้สีผิวของปลาเข้มขึ้น อีกทั้งยังเป็นแนวทางในการพัฒนาการใช้ประโยชน์และเพิ่มมูลค่าปูม้าเศษเหลือจากอุตสาหกรรมประมงปูม้าต่อไป

References

Akkathaweewat, S., & Pongchawee, K. (2000). Taxonomy of Ornamental Fishes for Export of Thailand. Department of fisheries, Ministry of Agriculture and Co-operative. (in Thai)

Chankaew, S., Wanna, J., Penprapai, P., & Chankaew, W. (2020). Potential of Carotenoid from Freshwater Red Alga, Caloglossa beccarii DeToni on Color Enhancement in Harleguin Rasbora (Trigonostigma espei) and Blue Danio (Davario regina). Princess of Naradhiwas University Journal, 12(2), 241-258. (in Thai)

García-Chavarría, M., & Lara-Flores, M. (2013). The use of carotenoid in aquaculture. Research Journal Fisheries and Hydrobiology, 8(2), 38-49.

Gupta, S.K., Jha, A.K., Pal, A.K., & Venkateshwarlu, G. (2007). Use of natural carotenoids for pigmentation in fishes. Natural Product Radiance, 6(1), 46-49.

Hamdi, M., Nasri, R., Dridi, N., Moussa, H., Ashour, L., & Nasri, M. (2020). Development of novel high-selective extraction approach of carotenoproteins from blue crab (Portunus segnis) shells, contribution to the qualitative analysis of bioactive compounds by HR-ESI-MS. Food Chemistry, 302, 125-344.

Hamrang, O.A., Bahri, A., Khara, H., & Mohammadizadeh, F. (2019). The effects of lucantin red, yellow and astaxanthin on growth, hematological, immunological parameters and coloration in the Tiger Oscar (Astronotus ocellatus Agassiz, 1831). Iranian Journal of Fisheries Sciences, 18(4),798-811.

Kraisurasre, S., & Kraisurasre, A. (2008). Breeding of Trigonostigma espei on different material spawning. Bangkok: Department of Fisheries. (in Thai)

Mirzaee, S., Mohammad Beygi, M., Nekoubinand, H., & Shabani, A. (2013). Effect of placement carrot (Daucus carota) and red pepper (Capsicum annuum) in diets on coloration of Jewel Cichlid (Hemichromis bimaculatus). World Journal of Fish and Marine Sciences, 5(4), 445-448.

Rodloy, A., Invichien, N., Tebsun, K., Jintasataporn, J., & Phosa, R. (2018). The Effect of Spirulina platensis and Astaxanthin on Color and Growth of Crossbreed Cichlid (Cichlasoma sp.). Bangkok: Department of Fisheries. (in Thai)

Sanchez-Camargo, A.P., Meireles, M.A.A, Lopes, B.L.F., & Cabral, F.A. (2011). Proximate composition and extraction of carotenoids and lipids from Brazilian redspotted shrimp waste (Farfantepenaeus paulensis). Journal of Food Engineering, 102(1), 87-93.

Samranrat, N., & Jaritkhuan, S. (2019). Effects of different carotenoids on growth and pigmentation of Spine-cheek anemonefish (Premnas biaculeatus Bloch, 1790). Princess of Naradhiwas University Journal, 11(1), 135-148. (in Thai)

Samranrat, N., Tamtin, M., Thongrod, S., & Chaikul, S.L. (2011). Concentration of dietary astaxanthin on coloration of False percula clownfish (Amphiprion ocellaris Cuvier, 1830). Bangkok: Department of Fisheries. (in Thai)

Tamtin, M., Samranrat, N., & Kademuan, K. (2014). Effect of dietary pigment sources on growth, survival rate, moulting and carotenoids profile of blue swimming crab (Portunus pelagicus, Linnaeus 1758). Bangkok: Department of Fisheries. (in Thai)

Takashi, M. (2011). Carotenoids in Marine Animals. Marine. Drugs, 9, 278-293.

Torrisen, O.J., Hardy, R.W., & Shearer, K.D. (1989). Pigmentation of salmonids-carotenoid deposition and metabolism. Aquatic Sciences, 1(2), 209-225.

Wisespongpand, P., Eamsa-ard, D., Vareevanich, D., & Khaodon, K. (2015). Carotenoids form shells of wasted crab caught by bottom gill net. In Proceedings The 53rd Kasetsart University Annual Conference. (pp 1342-1349). Bangkok: Kasetsart University. (in Thai)

Wongkittiveja, S. (2000). Freshwater Fishes of Thailand. Bangkok: AM Supply Co., Ltd. (in Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-09

How to Cite

พิชัยรัตน์ ด. ., มะเห น. . ., & เกิดปราง ว. (2024). สารสกัดแคโรทีนอยด์จากเปลือกปูม้าต่อการเร่งสีของปลาซิวข้างขวานเล็ก. วารสารวิทยาศาสตร์บูรพา, 29(1 January-April), 392–401. สืบค้น จาก https://li05.tci-thaijo.org/index.php/buuscij/article/view/290