ไฮเพอร์กรุปวัฏจักรบางชนิดกับสมบัติของดัชนีไฮเพอร์กรุปย่อย

ผู้แต่ง

  • นิสรา สิรสุนทร คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • ดรัณภพ จงจิต คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • พรหทัย ศรีไชย คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • วิภาวนีย์ ขวัญตา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

คำสำคัญ:

ไฮเพอร์กรุปวัฏจักร , ไฮเพอร์กรุปย่อย , ดัชนีของไฮเพอร์กรุปย่อย

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์และที่มา : กรุปวัฏจักรเป็นหนึ่งในกรุปที่มีความสำคัญที่มีการศึกษาในลักษณะเฉพาะต่าง ๆ สมบัติ(D) ของกรุป G  คือสมบัติที่ว่าสำหรับกรุปย่อยที่แตกต่างกันของ G  มีดัชนีที่แตกต่างกันใน G  ด้วยการพิจารณาแยกกันทั้งในกรุปจำกัดและกรุปอนันต์ ได้ถูกพิสูจน์ว่ากรุป G  เป็นกรุปวัฏจักรก็ต่อเมื่อกรุป G  มีสมบัติ(D) นั่นหมายความว่ากรุป  (Z,+) และ (Zn,+n) มีสมบัติ(D) และไฮเพอร์กรุปเป็นลักษณะทั่วไปของกรุป ในงานวิจัยนี้จึงได้ขยายการศึกษาจากกรุปไปยังไฮเพอร์-กรุป เพื่อตรวจสอบความเป็นไฮเพอร์กรุปวัฏจักร และสมบัติ(D) ของไฮเพอร์กรุป (Z,ok) และ (Zn,o'k)

วิธีดำเนินการวิจัย : ใช้การดำเนินการไฮเพอร์และผลแบ่งกั้นเซต Z และ Zn เพื่อตรวจสอบความเป็นไฮเพอร์กรุปวัฏจักร การหาเอกลักษณ์ทั้งหมดและไฮเพอร์กรุปย่อยทั้งหมด พร้อมกับการหาตัวผกผันได้ เพื่อพิจารณาดัชนีของแต่ละไฮเพอร์กรุปย่อย และพิสูจน์การมีสมบัติ(D) ของไฮเพอร์กรุปทั้งสอง

ผลการวิจัย : ไฮเพอร์กรุป (Z,ok) และ (Zn,o'k) เป็นไฮเพอร์กรุปวัฏจักร ยกเว้น k = 0 ใน (Z,ok) และไฮเพอร์กรุปทั้งสองมีสมบัติ(D)

สรุปผลการวิจัย : ในไฮเพอร์กรุปทั่วไป เราได้ว่าสมบัติ(D) ไม่เป็นลักษณะเฉพาะของไฮเพอร์กรุปวัฏจักร ซึ่งต่างจากผลในกรุป อย่างไรก็ตามดัชนีของไฮเพอร์กรุปย่อยของ (Z,ok) และ (Zn,o'k) มีผลเหมือนกับดัชนีของกรุปย่อยของ (Z,+) และ (Zn,+n)  ตามลำดับ     

References

Corsini, P. (1993). Prolegomena of Hypergroup Theory. Udine: Aviani Editore.

Davvaz, B. (2013). Polygroup Theory and Related Systems. Toh Tuck: World Scientific Publishing Co. Pte. Ltd.

Marty, F. (1934). Sur une generalization de la notion de group. Eight Congress Math. Scandenaves, 45-49.

Omen, G., & Slattum, V. (2016). A characterization of the cyclic groups by subgroup Indices. The College Mathematics Journal, 47(1), 29-33.

Phanthawimol, W., & Yoosomran, P. (2014). Soft homomorphisms of k- soft hypergroups, In Proceedings of 19th Annual Meeting in Mathematics. (pp.209-216). Pathum Thani: Rangsit Center.

Triphop, N., Harnchoowong, A., & Kemprasit, Y. (2007). Multihomomorphisms between cyclic groups. Set- valued Math. and Appl., 1(1), 9-18.

Vougiouklis, T. (1994). Hyperstructures and Their Representations, Plam Harbor: Hadronic Press.

Zhan, J., Mousavi, S.Sh., & Jafarpour, M. (2011). On hyperactions of hypergroups. U.P.B. Sci. Bull., Series A, 73(1), 118-119.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-09-09

How to Cite

สิรสุนทร น. . ., จงจิต ด. ., ศรีไชย พ. . ., & ขวัญตา ว. . . (2024). ไฮเพอร์กรุปวัฏจักรบางชนิดกับสมบัติของดัชนีไฮเพอร์กรุปย่อย. วารสารวิทยาศาสตร์บูรพา, 29(3 September-December), 889–901. สืบค้น จาก https://li05.tci-thaijo.org/index.php/buuscij/article/view/432