สังคมพืชในพื้นที่โครงการพัฒนาป่าชุมชนท่าช้าง (มูลนิธิชัยพัฒนา) จังหวัดจันทบุรี

ผู้แต่ง

  • เบญจวรรณ ชิวปรีชา ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ประเทศไทย
  • พิทักษ์ สูตรอนันต์ ภาควิชาชีวเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ประเทศไทย
  • ทักษิณ วรศรี ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ประเทศไทย

คำสำคัญ:

สวนยางพาราร้าง , ป่าในเมือง , ความหลากหลายพืช , ดัชนีความสำคัญ

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์และที่มา : จันทบุรีเป็นจังหวัดที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจสูงแห่งหนึ่งของภาคตะวันออกทั้งด้านการเกษตร การค้าอัญมณีและการท่องเที่ยว ทำให้มีประชากรในพื้นที่และประชากรแฝงจำนวนมากจนเกิดการแออัดของพื้นที่เมือง อย่างไรก็ตามพบว่าในเขตอำเภอเมืองซึ่งเป็นศูนย์กลางด้านธุรกิจและการอยู่อาศัย มีป่าชุมชนแทรกอยู่โดยเป็นพื้นที่ของโครงการพัฒนาป่าชุมชนท่าช้าง (มูลนิธิชัยพัฒนา) เป็นป่าในเมืองที่มีความสำคัญต่อสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีของประชาชน ปัญหาจากการขยายตัวของชุมชนเมือง ที่ไม่สอดคล้องกับพื้นที่สีเขียวซึ่งเป็นส่วนสำคัญต่อการใช้ชีวิตของสังคมเมืองอย่างมีคุณภาพ ป่าแห่งนี้ถือเป็นปอดกลางเมืองให้แก่ชุมชน ช่วยลดมลภาวะทางอากาศ กักเก็บคาร์บอน กรองฝุ่น PM 2.5 เป็นแหล่งรองรับน้ำหลากในฤดูฝน และมีศักยภาพด้านแหล่งเรียนรู้พรรณไม้ท้องถิ่นของจันทบุรีแก่เยาวชนวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความหลากชนิดและสังคมพืชสำหรับใช้เป็นข้อมูลวางแผนการอนุรักษ์และฟื้นฟูป่าเสื่อมโทรม

วิธีดำเนินการวิจัย : ศึกษาสังคมพืชในพื้นที่โครงการพัฒนาป่าชุมชนท่าช้าง(มูลนิธิชัยพัฒนา)ซึ่งเดิมเป็นสวนยางพาราร้างมีขนาดพื้นที่ประมาณ 18 ไร่ ตั้งอยู่ตำบลท่าช้าง อำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี ลักษณะทั่วไปเป็นที่ราบลุ่มแทรกด้วยพรุน้ำจืดขนาดเล็ก โดยวิธีวางแปลงถาวร ขนาด 20 x 50 เมตร จำนวน 3 แปลงแบ่งแปลงย่อยขนาด 10 x 10 เมตร (30แปลงย่อย)ติดหมายเลขประจำต้นวัดไม้ต้นที่มีขนาดเส้นรอบวงระดับสูงเพียงอก     14 เซนติเมตรขึ้นไป ระบุชนิดพืชที่พบในแปลงตามเอกสารพรรณพฤกษชาติของไทย ตรวจสอบชื่อวิทยาศาสตร์ออนไลน์จากThePlantList(http://www.theplantlist.org/) วิเคราะห์หาดัชนีความสำคัญ ดัชนีความหลากหลาย ดัชนีความคล้ายคลึงและความหนาแน่นของพืชระยะเวลาดำเนินการระหว่างเดือนพฤศจิกายน 2565 ถึงกันยายน 2566

ผลการวิจัย : พบพรรณไม้ 31 วงศ์ 35 สกุล 45 ชนิด ไม่สามารถระบุได้ 4 ชนิด มีสถานะเป็นไม้หวงห้ามประเภท ก 15 ชนิดได้แก่สะเดาปัก พะวา สะตอ กระบาก มะพอก คอแลน หว้าน้ำ อะราง ติ้วขาว พะยูง ลำบิด ก่อน้ำ ตีนนก ส้านใบเล็ก จันดำ แบ่งชั้นไม้ตามความสูงในแนวดิ่งได้3 ระดับคือไม้เรือนยอด (20-23 เมตร)ได้แก่ไม้วงศ์ยาง (Dipterocarpaceae) เช่น กระบาก ยางขน ถัดลงมาเป็นไม้ชั้นรอง (14-18 เมตร) ได้แก่ สะเดาปัก มะพอก มะหาด จันดำ ตีนนก เลือดแรด ชะมวง กะอวม พะวา ลำบิด สะท้อนรอก ปลากริม อะราง ไม้วงศ์ชมพู่ (Myrtaceae) สกุลชมพู่ (Syzygium spp.) ไม้ชั้นล่าง (3-8 เมตร) ได้แก่ พลองใบเล็ก ผักหวาน ลำดวน การทดแทนของหมู่ไม้ในพื้นที่วิจัยมีครบทุกชั้นและพื้นดินมีการสะสมอินทรียวัตถุจากการร่วงหล่นของไม้ผลัดใบบางชนิด (ยางพารา พะยูง สะเดาปัก ตะแบก) บางส่วนของพื้นที่มีลักษณะเป็นพรุน้ำจืดขนาดเล็ก จึงพบสังคมพืชป่าพรุ ได้แก่ ตังหน ชมพู่น้ำ และเข็มแดงป่า พันธุ์ไม้เด่นเมื่อพิจารณาจากดัชนีความสำคัญ (IVI) ได้แก่ ยางพารา สะเดาปัก ปลากริม คอแลน และกระบาก มีค่าเท่ากับร้อยละ 79.17, 42.24, 21.46, 20.1 และ 13.25 ตามลำดับ ความหลากชนิดพืช (H/) มีค่าเท่ากับ 2.84 ดัชนีความคล้ายคลึงมีค่าเท่ากับร้อยละ 63.62 ความหนาแน่นของไม้ต้นมีค่าเท่ากับ 216 ต้นต่อไร่ ยางพารามีพื้นที่หน้าตัดต้น (basal area) รวมมีค่าเท่ากับ 152.39 ตารางเมตร แสดงให้เห็นว่าต้นยางพาราในพื้นที่มีขนาดใหญ่และหนาแน่นมากมีอิทธิพลต่อการลดความเร็วในการฟื้นตัวของป่าไม้ด้วยการแก่งแย่งปัจจัยในการเจริญเติบโตอย่างไรก็ตามจากการสำรวจพบกล้าไม้ยางพาราปริมาณน้อยอาจเนื่องมาจากความสามารถในการแข่งขัน ของลูกไม้ยางพาราต่ำกว่าลูกไม้ของพืชท้องถิ่น ได้แก่ สะเดาปัก ปลากริม คอแลน ตะแบก ติ้วขาว ตังหน และผักหวาน เป็นต้น

สรุปผลการวิจัย : ผลวิจัยชี้ให้เห็นว่าป่าชุมชนท่าช้าง มีการฟื้นตัวตามธรรมชาติอยู่ในระยะทดแทนจากพืชท้องถิ่นที่เข้ามาเจริญได้หลากหลายชนิด โดยมีสังคมสะเดาปักเป็นพรรณไม้เด่น ชนิดพืชท้องถิ่นหลากหลายที่พบ ได้แก่ ปลากริม คอแลน กระบาก ติ้วขาว ตังหน ก่อหนาม สะท้อนรอก ลำดวน และผักหวาน จะถูกคัดเลือกสำหรับใช้ปลูกเสริมร่วมกับต้นยางพาราที่ยังคงเจริญได้ดีในพื้นที่เพื่อย่นระยะเวลาการฟื้นฟูป่าและเป็นแนวทางการจัดการพื้นที่เพื่อการอนุรักษ์พืชท้องถิ่นและปรับปรุงบริเวณโดยรอบให้เกิดประโยชน์ทางสันทนาการแก่ชุมชนต่อไป

References

Adnan N.S., Abdul Karim, M.F., Mazri, N.H., Fikri, N.A., Saharizan, N., Mohd Ali, N.B., Amaludin, N.A., & Zakaria, R. (2020). Plants Diversity in Small Rubber Plantations at Segamat, Johor. IOP Series: Earth and Environmental Science, 549(2020), 1-12.

Bumrungsri, S., Sripao-raya, E., & Leelatiwong, C. (2006). A quantitative analysis of plant community structure in an abandoned rubber plantations on Kho-Hong Hill, southern Thailand. Songklanakarin Journal of Science and Technology, 28(3), 479-491.

Bumrungsri, S., & Leeratiwong, C. (2022). Successional Status of Plant Communities of Different Ages in Rubber Plantations at Songkhla and Phattalung Provinces. Thai Journal of Forestry, 41(1), 48- 62. (in Thai)

Chayamarit, K., & Chamchumroon, V. (2016). Plant Identification Handbook. Bangkok: Sittichoke Printing LTD. (in Thai)

Chiarawipa, R., & Keawdoung, M. (2010). Growth development and yield of Melientha suavis Pierre in southern Thailand. KKU Research Journal, 15(10), 941-950. (in Thai)

Duangjai, S., & Trisurat, Y. (2015). Study of Plant communities by sampling plot. In S. Sookchaloem, S. Suksaed, & Y. Trisurat. (Eds.), Thai Forestry Handbook. (pp. 107-120). Bangkok: U-Open, Ltd. (in Thai)

Elliott, S., Blakesley, D., & Chairuangsri, S. (2008). Research for Tropical Forests Ecology Restoring: Pratical Guidelines. Chiang Mai: Forest Restoration Research Unit, Biology Department, Science Faculty, Chiang Mai University.

Happer, K.A., Macdonald, S.E., Burton, P.J., Chen, J., Brosofske, K.D., Saunders, S.C., Buskirchen, E.S., Roberts, D., Jaiteh, M.S., & Esseen, P.A. (2005). Edge influence on forest structure and composition in fragmental landscapes. Conservatio Biology, 19(3), 768-782.

Hernández, J.P., & Gavilán, R.G. (2021). Impacts of Land-Use Changes on Vegetation and Ecosystem Functioning: Old-Field Secondary Succession. Plants, 990(10),1-18.

Hu, G., Liu, H., Yin, Y., & Song, Z. (2016). The role of legumes in plant community succession of degraded grasslands in northern China. Land Degradation and Development, 27, 366–372.

Junsawung, W., Sunthornhao, P., & Teejuntuk, S. (2020). Suitable Tree Species for Forest Restoration of a Para Rubber Plantation to an Economic Forest. Thai Journal of Forestry, 39(1), 176-190. (in Thai)

Kongdem, P., Pimprasit, S., Vacharinrat, C., & Marod, D. (2016). Forest structure and species composition in restoration by Teak plantation at Jedkhod-Pongkhosao Natural Study and Ecotourism Center, Kheang Khoi District, Saraburi Province. Thai Journal of Forestry, 35(1), 11-23. (in Thai)

Lan, G., Chen, B., Yang, C., Sun, R., Wu, Z., & Zhang, X. (2022). Main drivers of plant diversity patterns of rubber plantations in the Greater Mekong Subregion. Biogeosciences, 2002(19), 1995–2005.

Kansuntisukmongkol, K., Brockelman, W. Y., Wongprom, P., & Maxwell, J.F. (2022). A comparison of forest regeneration in an abandoned rubber plantation and logged over forest with implications for forest ecosystem restoration in southeast Thailand. The Natural History Bulletin of the Siam Society, 64(2), 5–48.

Piotto, D., Flesherb, K., Nunesa, A.C.P., Rolima, S., Ashton, M., & Montagnini, F. (2020). Restoration plantings of non-pioneer tree species in open fields, young secondary forests, and rubber plantations in Bahia, Brazil. Forest Ecology and Management, 474, 1-6.

Pooma, R. (2002). Further note on Thai Dipterocarpaceae. Thai Forest Bulletin (Botany), 30, 7-27.

Rapport, D., & Montagnini, F. (2014). Tree species growth under a rubber (Hevea brasiliensis) plantation: native restoration via enrichment planting in southern Bahia, Brazil. New Forest, 45, 715-731.

Strategy and Data for Development Subdivision. (2021). Chanthaburi Development Planning. Chanthaburi: Chanthaburi Division. (in Thai)

Trirattanasuwan, P., Diloksamphan, S., Sathaporn, D., & Rattanakaew, J. (2008). Research Report: Carbondioxide uptake of some tree species at the Puparn Royal Development Study Centre, Sakonnakhon Province III Carbon Storage in Biomass. Sakonnakhon: The Puparn Royal Development Study Centre, Sakonnakhon Province. (in Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-02-26

How to Cite

ชิวปรีชา เ., สูตรอนันต์ พ. . ., & วรศรี ท. . . (2025). สังคมพืชในพื้นที่โครงการพัฒนาป่าชุมชนท่าช้าง (มูลนิธิชัยพัฒนา) จังหวัดจันทบุรี . วารสารวิทยาศาสตร์บูรพา, 30(1 January-April), 111–127. สืบค้น จาก https://li05.tci-thaijo.org/index.php/buuscij/article/view/436