การสังเคราะห์อนุพันธ์ทริปตามีนสามขั้นตอนจากอินโดล-3-คาร์บอกซาลดีไฮด์
คำสำคัญ:
ทริปทามีน , อะลิฟาติกเอมีน , นิกเกิล(II) อะซิเตตเตตระไฮเดรต , โซเดียมโบโรไฮไดรด์ , รีดักชันบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์และที่มา : วิธีการทั่วไปในการสังเคราะห์อนุพันธ์ทริปทามีนเกี่ยวข้องกับการรีดักชัน 3-(2-ไนโตรไวนิล)อินโดล โดยใช้ลิเทียมอะลูมิเนียมไฮไดรด์เป็นตัวรีดิวซ์ในตัวทำละลายเตตระไฮโดรฟูแรนที่ปราศจากความชื้น อย่างไรก็ตามวิธีนี้นำไปสู่การกำจัดฮาโลเจนบางส่วนของ 3-(2-ไนโตรไวนิล)อินโดล ที่มีอะตอมฮาโลเจนบนวงอินโดลส่งผลให้เกิดผลิตภัณฑ์ผสมระหว่างทริปทามีนและฮาโลทริปทามีน นอกจากนี้ ข้อจำกัดของการใช้วิธีการที่เคยรายงานไว้ประกอบด้วยสภาวะการทดลองที่รุนแรง ลิเทียมอะลูมิเนียมไฮไดรด์เป็นตัวรีดิวซ์ที่ไวต่ออากาศ ความชื้น และมีราคาแพง ในการศึกษานี้ได้พัฒนาการสังเคราะห์อนุพันธ์ทริปทามีน สาม ขั้นตอน จากอินโดล-3-คาร์บอกซาลดีไฮด์ที่หาได้ง่ายในท้องตลาดด้วยปฏิกิริยาเฮนรี และปฏิกิริยารีดักชันหมู่ไวนิลไนโตรให้ได้เป็นเอทิลเอมีนโดยใช้โซเดียมโบโรไฮไดรด์ และนิกเกิลอะซิเตตเตตระไฮเดรต เป็นตัวรีดิวซ์
วิธีดำเนินการวิจัย : ศึกษาการสังเคราะห์อนุพันธ์ทริปทามีน ผ่านสามขั้นตอนจากอินโดล-3-คาร์บอกซาลดีไฮด์ที่หาได้ง่ายในท้องตลาด ด้วยปฏิกิริยาเฮนรี และปฏิกิริยารีดักชันของหมู่ไวนิลไนโตรให้ได้เป็นเอทิลเอมีน โดยใช้โซเดียมโบโรไฮไดรด์ และนิกเกิลอะซิเตตเตตระไฮเดรต เป็นตัวรีดิวซ์ วิธีการนี้ได้ศึกษาการสังเคราะห์อนุพันธ์ทริปทามีนโดยใช้สารตั้งต้น 3-(2-ไนโตรไวนิล)อินโดลที่หลากหลาย
ผลการวิจัย : ในขั้นตอนแรกอนุพันธ์ 3-(2-ไนโตรไวนิล)อินโดลถูกสังเคราะห์ได้ในร้อยละที่สูงจากอินโดล-3-คาร์บาลดีไฮด์ ด้วยปฏิกิริยาเฮนรี จากนั้นรีดิวซ์อนุพันธ์ 3-(2-ไนโตรไวนิล)อินโดลที่ได้ด้วยโซเดียมโบโรไฮไดรด์ได้เป็น 3-(2-ไนโตรเอทิล)อินโดล ในขั้นตอนสุดท้าย 3-(2-ไนโตรเอทิล)อินโดลถูกเปลี่ยนเป็นอนุพันธ์ของทริปทามีนโดยใช้โซเดียมโบโรไฮไดรด์ (4 เท่า) เป็นตัวรีดิวซ์และนิกเกิลอะซิเตตเตตระไฮเดรต (1 เท่า) เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาในตัวทำละลายผสมของอะซิโตไนไตรล์และน้ำ (60:1) ที่อุณหภูมิห้องเป็นเวลา 20 นาที ส่งผลให้เกิดผลิตภัณฑ์อนุพันธ์ทริปทามีนร้อยละ 35-80
สรุปผลการวิจัย : วิธีการสังเคราะห์นี้แสดงให้เห็นถึงแนวทางการสังเคราะห์ทริปทามีนรวมถึงทริปทามีนที่มีฮาโลเจนเป็นองค์ประกอบโดยผ่านสามขั้นตอนจากสารตั้งต้นอินโดล-3-คาร์บาลดีไฮด์ที่หาซื้อได้ง่าย ขั้นตอนสำคัญของการศึกษาได้แก่การใช้สารผสมระหว่างโซเดียมโบโรไฮไดรด์และนิกเกิลอะซิเตตเตตระไฮเดรตในการรีดิวซ์สาร 3-(2-ไนโตรเอทิล)อินโดลให้เป็นอนุพันธ์ทริปทามีน
References
Asghar, S., Mushtaq, N., Ahmed, A., Anwar, L., & Munawar, R. (2024). Potential of tryptamine derivatives as multi-target directed ligands for Alzheimer’s disease: AChE, MAO-B, and COX-2 as molecular targets. Molecules, 29(2), 490.
Bifulco, G., Bruno, I., & Riccio, R. (1995). Further brominated bis- and tris-indole alkaloids from the deep-water new caledonian marine sponge orina sp. Journal of Natural Products, 58(8), 1254-1260.
Brogan, J. T., Stoops, S. L., Crews, B.C., Marnett, L. J., & Lindsley, C. W. (2011). Total synthesis of (+)-7-bromotrypargine and unnatural analogues: biological evaluation uncovers activity at CNS targets of therapeutic relevance. Chemical Neuroscience, 2(11), 633-639.
Chantana, C., Sirion, U., Iawsipo, P., & Jaratjaroonphong, J. (2021). Short total synthesis of (±)-gelliusine E and 2,3'-bis(indolyl)ethylamines via PTSA-catalyzed transindolylation. Journal of Organic Chemistry, 86(19), 13360-13370.
Campana, R., Favi, G., Baffone, W., & Lucarini, S. (2019). Marine alkaloid 2,2-bis(6-bromo-3-indolyl) ethylamine and its synthetic derivatives inhibit microbial biofilms formation and disaggregate developed biofilms. Microorganisms, 7(2), 28.
Fahy, E., Potts, B. C. M., & Faulkner, D. J. (1991). 6-bromotryptamine derivatives from the gulf of california tunicate didemnum candidum. Journal of Natural Products, 54(2), 564-569.
Karamyan, A. J. K., & Hamann, M. T. (2010). Marine indole alkaloids: potential new drug leads for the control of depression and anxiety. Chemical reviews, 110(8), 4489-4497.
Schumacher, R. W., & Davidson, B. S. (1999). Synthesis of didemnolines A-D, N9-substituted β-carboline alkaloids from the marine ascidian didemnum sp. Tetrahedron Letters, 55, 935-942.
Setamdideh, D., Khezri, B., & Mollapour, M. (2011). Convenient reduction of nitro compounds to their corresponding amines with promotion of NaBH4/Ni(OAc)2.4H2O system in wet CH3CN. Oriental Journal of Chemistry, 27(3), 991-996.
Scott, P. W., Jerry, L. J., & Gordon, W. G. (2021). Concerning the preparation of 6-bromotryptamine. Tetrahedron Letters, 85, 132055.
Ye, Y., Cheung, K. P. S., He, L., & Tsui, G. C. (2018). Synthesis of 2 (Trifluoromethyl)indoles via domino trifluoromethylation/cyclization of 2-alkynylanilines. Organic Letters, 20(6), 1676-1679.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
Burapha Science Journal is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0) licence, unless otherwise stated. Please read our Policies page for more information