ความสัมพันธ์ระหว่างมวลโมเลกุลของพอลิสไตรีนและความเข้มข้นของอนุภาค ซิงค์ออกไซด์ระดับนาโนเมตรที่มีผลต่อการยับยั้งพฤติกรรมการเสื่อมสภาพ

ผู้แต่ง

  • คัทลียา สุจรูญ ภาควิชาฟิสิกส์อุตสาหกรรมและอุปกรณ์การแพทย์ คณะวิทยาศาสตร์ประยุกต์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ประเทศไทย
  • พนาวรรณ หวังดี ภาควิชาฟิสิกส์ประยุกต์ คณะวิทยาศาสตร์และศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน ประเทศไทย
  • น้ำผึ้ง ผังไพบูลย์ ภาควิชาฟิสิกส์อุตสาหกรรมและอุปกรณ์การแพทย์ คณะวิทยาศาสตร์ประยุกต์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ประเทศไทย

คำสำคัญ:

ฟิล์มบางพอลิสไตรีน , อนุภาคระดับนาโนของซิงค์ออกไซด์ , พฤติกรรมการเสื่อมสภาพ , การยับยั้งการเสื่อมสภาพ

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์และที่มา : ฟิล์มบางพอลิเมอร์เป็นวัสดุที่มีความหนาน้อยกว่า 100 นาโนเมตร และมีบทบาทสำคัญในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เช่น เซลล์แสงอาทิตย์ ตัวเก็บประจุ และเซนเซอร์ ปัจจุบัน อุตสาหกรรมเทคโนโลยีมีแนวโน้มในการพัฒนาอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ให้มีขนาดเล็กลงเพื่อความสะดวกในการพกพาและลดการใช้พลังงาน ส่งผลให้ฟิล์มพอลิเมอร์ชั้นฉนวนมีความหนาลดลงตามไปด้วย เนื่องจากความหนาของชั้นฟิล์มพอลิเมอร์ลดลงส่งผลให้ประสิทธิภาพการยึดติดระหว่างฟิล์มบางพอลิเมอร์กับฐานรองลดลง และเมื่อได้รับการกระตุ้นจากปัจจัยทางแวดล้อม เช่น การสัมผัส ความชื้น หรือความร้อน ฟิล์มพอลิเมอร์จะเกิดการแยกตัวออกจากกันกลายเป็นหลุมและไม่สามารถยึดติดกับฐานรองได้อีกต่อไป ส่งผลให้ประสิทธิภาพของฟิล์มบางพอลิเมอร์ลดลงและจำกัดอายุการใช้งานของอุปกรณ์ การเติมอนุภาคระดับนาโนเป็นเทคนิคหนึ่งที่ถูกนำมาใช้เพื่อเพิ่มความสามารถในการยึดติดของฟิล์มบาง ตำแหน่งของอนุภาคระดับนาโนภายในฟิล์มบางพอลิเมอร์ขึ้นอยู่กับพลังงานพื้นผิวของฐานรอง พลังงานพื้นผิวของอนุภาคระดับนาโน และความเข้มข้นของอนุภาคระดับนาโน ซึ่งมีผลต่อประสิทธิภาพในการยับยั้งพฤติกรรมการเสื่อมสภาพของฟิล์มบาง งานวิจัยนี้มีความสนใจที่จะศึกษาพฤติกรรมการเสื่อมสภาพของฟิล์มบางพอลิสไตรีนเมื่อได้รับการกระตุ้นด้วยความร้อน และหาความเข้มข้นของอนุภาคระดับนาโนของซิงค์ออกไซด์ที่เหมาะสมในการยับยั้งพฤติกรรมการเสื่อมสภาพของฟิล์มบางพอลิสไตรีนที่มวลโมเลกุลแตกต่างกัน

วิธีดำเนินการวิจัย : เตรียมสารละลายพอลิสไตรีน มวลโมเลกุล 13,000 กรัมต่อโมล, 30,000 กรัมต่อโมล, และ 50,000 กรัมต่อโมล (PS13K, PS30K และ PS50K ตามลำดับ) และสารแขวนลอยอนุภาคระดับนาโนของซิงค์ออกไซด์ (~ 50 นาโนเมตร) ในโทลูอีนที่ความเข้มข้น 0.5 เปอร์เซ็นต์โดยน้ำหนัก ผสมสารแขวนลอยอนุภาคระดับนาโนของซิงค์ออกไซด์ลงในสารละลายพอลิสไตรีนที่สัดส่วนความเข้มข้น 0, 0.3, 0.5, 0.7, และ 1.0 เปอร์เซ็นต์โดยน้ำหนัก จากนั้นขึ้นรูปฟิล์มบางพอลิสไตรีนบนฐานรองซิลิกอนด้วยกระบวนการเคลือบผิวแบบหมุนเหวี่ยง ศึกษามุมสัมผัสระหว่างหยดของเหลวกับพื้นผิวฟิล์มตัวอย่างด้วยเครื่องวัดมุมสัมผัส เพื่อนำไปคำนวณพลังงานพื้นผิวของฟิล์มบาง ต่อมาให้ความร้อนกับฟิล์มบางเพื่อกระตุ้นให้เกิดพฤติกรรมการเสื่อมสภาพ จากนั้นตรวจสอบลักษณะทางสัณฐานวิทยาพื้นผิวของฟิล์มบางทั้งก่อนและหลังการให้ความร้อนด้วยกล้องจุลทรรศน์แบบใช้แสง สุดท้ายคำนวณหาเปอร์เซ็นต์พื้นที่ที่เกิดการเสื่อมสภาพของฟิล์มบาง

ผลการวิจัย : ฟิล์มบาง PS มีค่าพลังงานพื้นผิวเฉลี่ย 45.083 มิลลิจูลต่อตารางเมตร และฟิล์มบาง PS-ZnO มีค่าพลังงานพื้นผิวเฉลี่ย 45.263 มิลลิจูลต่อตารางเมตร ผลลัพธ์นี้สอดคล้องกับข้อสันนิษฐานว่าการเติมอนุภาคระดับนาโนของซิงค์ออกไซด์ไม่ได้ส่งผลต่อสมบัติทางกายภาพของฟิล์มบางพอลิสไตรีน และการยับยั้งพฤติกรรมการเสื่อมสภาพของฟิล์มบางไม่ได้เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของพลังงานพื้นผิว อย่างไรก็ตาม พลังงานพื้นผิวถูกนำไปทำนายลักษณะการเคลื่อนที่ของอนุภาคระดับนาโนของซิงค์ออกไซด์ในฟิล์มบางพอลิสไตรีนต่อไป การกระตุ้นฟิล์มบางด้วยความร้อนส่งผลให้ฟิล์มบาง PS และฟิล์มบาง PS-ZnO แสดงพฤติกรรมการเสื่อมสภาพ โดยเกิดหลุมบนพื้นผิวของฟิล์มบาง เมื่อฟิล์มบางได้รับการกระตุ้นด้วยความร้อนอย่างต่อเนื่องเป็นเวลาติดต่อกันหลุมเกิดการขยายตัวและเคลื่อนที่มารวมกัน ในท้ายที่สุดฟิล์มบางจะเกิดการเสื่อมสภาพจนกลายเป็นหยดของพอลิสไตรีน การเติมอนุภาคระดับนาโนของซิงค์ออกไซด์ในปริมาณที่เหมาะสมสามารถช่วยเพิ่มเสถียรภาพและยับยั้งพฤติกรรมการเสื่อมสภาพของฟิล์มบางดังกล่าวได้ โดยพบว่าความเข้มข้นของอนุภาคระดับนาโนของซิงค์ออกไซด์ที่ 0.3, 0.7, และ 0.7 เปอร์เซ็นต์โดยน้ำหนัก เป็นความเข้มข้นที่มีประสิทธิภาพในการยับยั้งการเสื่อมสภาพของฟิล์มบาง PS13K, PS30K, และ PS50K ได้ดีที่สุดตามลำดับ

สรุปผลการวิจัย : ฟิล์มบาง PS และฟิล์มบาง PS-ZnO ถูกขึ้นรูปบนฐานรองซิลิกอนด้วยเทคนิคการเคลือบผิวแบบหมุนเหวี่ยง ฟิล์มบางเกิดการแข็งตัวจากการระเหยของตัวทำละลายอย่างรวดเร็วส่งผลให้เกิดความเครียดภายในฟิล์มบาง เมื่อฟิล์มบางถูกกระตุ้นด้วยความร้อนอย่างต่อเนื่อง สายโซ่พอลิเมอร์เกิดการปลดปล่อยความเครียดด้วยการเคลื่อนที่รวมตัวกัน ส่งผลให้เหลือพื้นที่ว่างเกิดเป็นหลุมของนิวเครียส หลุมเกิดการขยายตัวกลายเป็นพื้นที่ที่ฟิล์มบางพอลิสไตรีนไม่สามารถยึดติดกับฐานรองได้ ฟิล์มบาง PS และฟิล์มบาง PS-ZnO ถูกกระตุ้นด้วยความร้อนเป็นเวลาติดต่อกัน ฟิล์มบางแสดงพฤติกรรมการเสื่อมสภาพ อย่างไรก็ตาม การเติมอนุภาคระดับนาโนของซิงค์ออกไซด์ปริมาณเพียงเล็กน้อยส่งผลให้ฟิล์มบางพอลิสไตรีนมีเสถียรภาพการยึดติดบนฐานรองซิลิกอนได้ดีขึ้น และสามารถยับยั้งการเสื่อมสภาพของฟิล์มบางพอลิสไตรีนบนฐานรองซิลิกอนได้ พลังงานพื้นผิวของฟิล์มบางมีค่าใกล้เคียงกันอย่างไม่มีนัยสำคัญ การเติมอนุภาคระดับนาโนของซิงค์ออกไซด์ไม่ส่งผลต่อลักษณะทางกายภาพของฟิล์มบางพอลิสไตรีน พลังงานพื้นผิวบ่งบอกถึงแนวทางการเคลื่อนที่ของอนุภาคระดับนาโนในฟิล์มบางพอลิเมอร์ โดยคาดว่าอนุภาคระดับนาโนของซิงค์ออกไซด์เคลื่อนที่ไปยังบริเวณรอยต่อระหว่างฐานรองซิลิกอน และกดทับสายโซ่ของพอลิเมอร์ ส่งผลให้การเคลื่อนที่ของสายโซ่พอลิเมอร์ถูกจำกัดและการขยายตัวของหลุมลดลง ความแตกต่างของมวลโมเลกุลส่งผลต่ออุณหภูมิที่ใช้ในการกระตุ้นด้วยความร้อน การเคลื่อนที่ของสายโซ่ และลักษณะของการเกิดหลุมบนพื้นผิว ฟิล์มบางมวลโมเลกุลสูงมีความเสถียรต่อความร้อนได้มากกว่าฟิล์มบางมวลโมเลกุลต่ำ เนื่องจากสายโซ่พอลิเมอร์เคลื่อนที่ช้าและมีการเกี่ยวพันกันมากขึ้น ลักษณะการเกิดหลุมของฟิล์มบางมวลโมเลกุลต่ำมีรูปร่างไม่สมมาตร บริเวณขอบหลุมมีลักษณะคล้ายคลื่น ซึ่งเกิดจากความคล่องตัวในการเคลื่อนที่ของสายโซ่พอลิเมอร์ที่มีขนาดสั้น สายโซ่สามารถเคลื่อนที่แทรกออกไปผ่านช่องว่างระหว่างอนุภาคระดับนาโน ในขณะที่ลักษณะการเกิดหลุมของฟิล์มบางมวลโมเลกุลสูงจะมีรูปร่างสมมาตร เนื่องจากสายโซ่พอลิเมอร์ยาวทำให้ความคล่องตัวในการเคลื่อนที่ถูกจำกัด ส่งผลให้ฟิล์มบางสร้างหลุมขึ้นมาใหม่แทนการขยายตัวของหลุมเดิม

References

Abou Zeid, S., & Leprince-Wang, Y. (2024). Advancements in ZnO-Based Photocatalysts for Water Treatment: A Comprehensive Review. Crystals, 14(7), 611.

Alizadeh Pahlavan, A., Cueto-Felgueroso, L., Hosoi, A. E., McKinley, G. H., & Juanes, R. (2018). Thin films in partial wetting: stability, dewetting and coarsening. Journal of Fluid Mechanics, 845, 642-681.

Arora, A., Choudhary, V., & Sharma, D. K. (2011). Effect of clay content and clay/surfactant on the mechanical, thermal and barrier properties of polystyrene/organoclay nanocomposites. Journal of Polymer Research, 18(4), 843-857.

Arsyad, W. S., Suhardiman, R., Usman, I., Aba, L., Suryani, S., Ramadhan, L.O.A.N., Nurdin, M., & Hidaya, R. (2024). Improvement of Dye-Sensitized Solar Cells (DSSCs) performance using Crude Brazilein Extract from Sappanwood (Caesalpinia Sappan L.) with the incorporation of ZnO nanoparticles. Journal of Molecular Structure, 1303, 137548.

Baglioni, M., Montis, C., Brandi, F., Guaragnone, T., Meazzini, I., Baglioni, P., & Berti, D. (2017). Dewetting acrylic polymer films with water/propylene carbonate/surfactant Mixtures – Implications for cultural heritage conservation. Physical Chemistry Chemical Physics, 19(35), 23723-23732.

Barkley, D. A., Jiang, N., Sen, M., Endoh, M. K., Ruidick, J. G., Koga, T., Zhang, Y., Gang, O., Yuan, G., Satija, S. K., Kawaguchi, D., Tanaka, K., & Karim, A. (2017). Chain Conformation near the Buried Interface in Nanoparticle-Stabilized Polymer Thin Films. Macromolecules, 50(19), 7657-7665.

Barnes, K. A., Karlim, A., Douglas, J. F., Nakatani, A. I., Gruell, H., & Amis, E. J. (2000). Suppression of Dewetting in Nanoparticle-Filled Polymer Films. Macromolecules, 33(11), 4177-4185.

Barnes, K. A., Douglas, J. F., Liu, D. W., & Karim, A. (2001). Influence of nanoparticles and polymer branching on the dewetting of polymer films. Advances in Colloid and Interface Science, 94, 83-104.

Bhatt, B., Mukhopadhyay, S., & Khare, K. (2023). Frequency-Dependent Dewetting of Thin Liquid Films Using External ac Electric Field. American Chemical Society, 39(38), 13512-13520.

Chang, J. S., Saint, C. P., Chow, C. W.K., Bahnemann, D., & Chong, M. N. (2024). Recent innovations in engineering Zinc Oxide (ZnO) nanostructures for water and wastewater treatment: Pushing the boundaries of multifunctional photocatalytic and advanced biotechnological applications. International Materials Reviews, 69(7-8), 337-379.

Cui, J., Rebollar, E., Ezquerra, T., & Nogales, A. (2023). Dewetting Effects in Poly(vinylidene fluoride-trifluoroethylene) Thin Films on Poly(3-hexylthiophane) Substrates. ACS Applied Polymer Materials, 5, 8005-8011.

Ghaffar, S., Abbas, A., Naeem-ul-Hassan, M., Assad, N., Sher, M., Ullah, S., Alhazmi, H. A., Najmi, A., Zoghebi, K., Al Bratty, M., Hanbashi, A., Makeen, H. A., & Amin, H. M. A. (2023). Improved Photocatalytic and Antioxidant Activity of Olive Fruit Extract-Mediated ZnO Nanoparticles. Antioxidants, 12(6), 1201.

Javed, U., Sohail, H. A., Nazneen, A., Atif, M., Mustafa, G. M., & Khan, M.I. (2024). Tuning of structural, magnetic, and optical properties of ZnO nanoparticles by Co and Cu doping. Solid State Communications, 390, 115616.

Kato, T., Liu, Y., Murai, Y., Kubo, M., Shoji, E., Tsukada, T., Takami, S., & Adschiri, T. (2018). Effect of Surface Modifier of Nanoparticles on Dewetting Behaviors of Polymer Nanocomposite Thin Films. Journal of Chemical Engineering of Japan, 51, 282-288.

Khalid, A., Ahmad, P., Memon, R., Gado, L. F., Khandaker Uddin, M., Almukhlifi, H. A., Modafer, Y., Bashir, N., Abida, O., Alshammari, Ayed F., & Timoumi, A. (2023). Structural, Optical, and Renewable Enegy-Assisted Photocatalytic Dye Degradation Studied of ZnO, CuZnO, and CoZnO Nanostructures for Wastewater Treatment. Separations, 10(3), 184.

Krishnaswamy,S.,Panigrahi,P., S.K.S.,& Nagarajan,G.S. (2020). Effect of conducting polymer on photoluminescence quenching of green synthesized ZnO thin film and its photocatalytic properties. Nano-Structures & Nano-Objects, 22, 100446.

Kubo, M., Takahashi, Y., Fuiji, T., Liu, Y., Sugioka, K. I., Tsukada, T., Minami, K., & Adschiri, T. (2014). Thermal Dewetting Behavior of Polystyrene Composite Thin Films with Organic-Modified Inorganic Nanoparticles. Langmuir, 30, 8956-8964.

Kumar, M.N., Rahale,C. S.,Shanmugam, H.,Vanitha, K., Saranya, N., & Prasanthrajan, M. (2023). Eco-friendly Synthesis of Zinc Oxide Nanoparticles Using Camellia sinensis (Green Tea) and Its Characterization. International Journal of Plant & Soil Science, 35(20), 56-61.

Kwon, D.Y., & Neumann, A.W. (1999). Contact angle measurement and contact angle interpretation. Advances in Colloid and Interface Science, 81(3), 167-249.

Lapawae,K.,Sirirat,T.,Wutikhun,T.,Treetong,A.,Klamchuen,A.,Kumnorkaew,P., Pangpaiboon,N.,&Sinthiptharakoon, K. (2023). Chain length dependence of ZnO nanofiller-polystyrene blend coating nanofilm: Morphology, surface mechanics, photochemistry, and chain packing. Progress in Organic Coatings, 182, 107596.

Lee, S., Lee, W., Yamada, N. L., Tanaka, K., Kim, J. H., Lee, H., & Ryu, D. Y. (2019). Instability of Polystyrene Film and Thermal Behaviors Mediated by Unfavorable Silicon Oxide Interlayer. Macromolecules, 52(19), 7524-7530.

Leite, R. R., Colombo, R., Bimbi Junior, F. E., Roberto de Vasconcelos Lanza, M., da Silva Barud, H., Ramos Moreira Afonso, C., & Ines Basso Bernardi, M. (2024). Precursor effect on the hydrothermal synthesis of pure ZnO nanostructures and enhanced photocatalytic performance for norfloxacin degradation. Chemical Engineering Journal, 496, 154374.

Li, B.,Chen, L.,Zhang, S.,Tao, Q.,Ma,YH.,Hu, P., Lu, X., Chou, K. C., & Chen, Z. (2023). Absolute molecular structure of the polystyrene at the buried polystyrene/silica interface and its relationship to dewetting during annealing. Applied Surface Science, 611(A), 155715.

Lynch, A.L., Murray, C. P., Roy, E., Downing, C.,& McCloskey, D.(2024). Extreme Dewetting Resistance and Improved Visible Transmission of Ag Layers Using Sub-Nanometer Ti Capping Layers. ACS Omega, 9(8), 9714-9719.

Mackay, M. E., Tuteja, A., Duxbury, P. M., Hawker, C. J., Van Horn, B.,Guan, Z.,Chen, G., & Krishnan,R.S. (2006). General Strategies for Nanoparticle Dispersion. Science, 311(5768), 1740-1743.

Madhusudanan, M., & Chowdhury, M. (2024). An entropy generation approach to the molecular recoiling stress relaxation in thin nonequilibrated polymer films. The Journal of Chemical Physics, 160(1), 14904.

Na, J. Y., Kang, B. S., & Park, Y.D. (2019). Influence of Molecular Weight on the Solidification of a Semiconducting Polymer during Time-Controlled Spin-Coating. The Journal of Physical Chemistry, 123(28), 17102-17111.

Narayan, S.R., Day,J. M., Thinakaran, H.L., Herbots, N., Bertram, M.E., Cornejo, C. E., Diaz, T.C., Kavanagh,K. L., Culbertson, J. R.,Ark, F. J.,Ram, S., Mangus, M.W., & Islam, R.(2018).Comparative Study of Surface Energies of Native Oxides of Si(100) and Si(111) via Three Liquid Contact Angle Analysis. MRS Advances, 3, 3379-3390.

Pangpaiboon, N., Kotpech, W., Ketkaew, T., Arthibenyakul, B., Klaewklar, N., Chanprasopchai, V., Sutthi, C., Lapawae, K., & Sinthiptharakoon, K. (2023). Dewetting Behavior of PS-ZnO Thin Film Coated on Ultrathin Au Layer Grown on Su Substrate. Current Applied Science and Technology, 23(6).

Rajakumaran, R.,Kumar, M.,& Chetty, R.(2020).Morphological effect of ZnO nanostructures on desalination performance and antibacterial activity of thin-film nanocomposite (TFN) membrane. Desalination, 495, 114673.

Ren, Z., Chen, G., Wei, Z., Sang, L. & Qi, M. (2013). Hemocompatibility Evaluation of Polyurethane Film with Surface-Grafted Poly(ethylene glycol) and Carboxymethyl-Chitosan. Journal of Applied Polymer Science, 127(1).

Roy, S., Bandyopadhyay,D.,Karim, A.,&Mukherjee, R.(2015).Interplay of Substrate Surface Energy and Nanoparticle Concentration in Suppressing Polymer Thin Film Dewetting. Macromolecules, 48(2), 373-382.

Schulman, R. D., Niven, J. F., Hack, M. A., Dimaria, C., & Dalnoki-Veress, K. (2018). Liquid dewetting under a thin elastic film. Soft Matter, 14, 3557-3562.

Shoeb, M., Ahmad, S., Mashkoor, F., Khan, M. N.,Hasan, I., Singh, B.R.,& Jeong, C. (2024). Investigating the size-dependent structural, optical, dielectric, and photocatalytic properties of benign-synthesized ZnO nanoparticles. Journal of Physics and Chemistry of Solids, 184, 111707.

Sujaroon, K., Whangdee, P.,& Pangpaiboon, N. (2020). Effect of polystyrene molecular weight and zinc oxide concentration on dewetting behavior of polymeric thin films. Journal of Metals, Materials and Minerals, 30(2), 58-66.

Thapoung, J., Tasurin, K.,Traiphol, N., & Pangpaiboon, N. (2018).The effect of concentrations of ZnO nanoparticles on dewetting suppression of PS thin films. Journal of Metals, Materials and Minerals, 28(2), 89-93.

Trino, L.D., Dias, L.FG., Albano, L.G.S., Bronze-Uhle, E.S., Rangel, E.C., Graeff, C.F.O., & Lisboa Filho, P.N. (2018). Zinc oxide surface functionalization and related effects on corrosion resistance of titanium implants. Ceramic International, 44(4), 4000-4008.

Tumsarp, P.,Pangpaiboon, N.,Sujaroon, K.,Deejai, S.,Treetong, A.,Sae-Ueng,U., & Sinthiptharakoon,K. (2020). Inorganic nanoparticle-blended polymer nanofilm and its wettability improvement: Film grading and dewetting cause analysis. Applied Surface Science, 521.

Wang, G., Melkonyan, F. S., Facchetti, A., & Marks, T.J. (2019). All-Polymer Solar Cells: Recent Progress, Challenges and Prospects. Angewandte Chemie International Edition, 58(13), 4129-4142.

Wongtrakul, A., Watchana,K., & Pangpaiboon, N.(2017).Thermal stability of zinc oxide – polystyrene composite thin film. The Journal of Applied Science and Emerging Technology, 16, 82-86.

Xue, L., & Han, Y. (2012). Inhibition of dewetting of thin polymer films. Progress in Materials Science, 57(6), 947-979.

Yaklin, M. A., Duxbury, P. M., & Mackey, M. E. (2008). Control of nanoparticle dispersion in thin polymer films. Soft Matter, 12(4), 2441-2447.

Zhang, J., Zhang, Y., Tse, K., Deng, B., Xu, H., & Zhu, J. (2016). New approaches for calculating absolute surface energies of wurtzite (0001)/(0001): A study of ZnO and GaN. Journal of Applied Physics, 119(20), 205302.

Zheng, Y., Zhang, S.,Tok, J. B.-H.,& Bao, Z.(2022).Molecular Design of Stretchable Polymer Semiconductors: Current Progress and Future Directions. Journal of the American Chemical Society, 144(11), 4699-4715.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-04-11

How to Cite

สุจรูญ ค., หวังดี พ. . ., & ผังไพบูลย์ น. (2025). ความสัมพันธ์ระหว่างมวลโมเลกุลของพอลิสไตรีนและความเข้มข้นของอนุภาค ซิงค์ออกไซด์ระดับนาโนเมตรที่มีผลต่อการยับยั้งพฤติกรรมการเสื่อมสภาพ. วารสารวิทยาศาสตร์บูรพา, 30(1 January-April), 246–267. สืบค้น จาก https://li05.tci-thaijo.org/index.php/buuscij/article/view/481