อัลกอริทึมความฉลาดแบบกลุ่มและการประยุกต์ใช้งาน

ผู้แต่ง

  • ดารานาถ แต่นสุ่ย คณะะวิทยาการสื่อสาร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  • อาริต ธรรมโน คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

คำสำคัญ:

อัลกอริทึมความฉลาดแบบกลุ่ม , หลักการทำงาน , ประสิทธิภาพ, การวิเคราะห์ข้อดีข้อเสีย , การประยุกต์ใช้งาน

บทคัดย่อ

ที่มาและวัตถุประสงค์ : การพัฒนาและประยุกต์ใช้อัลกอริทึมที่เรียนรู้จากพฤติกรรมของกลุ่มสิ่งมีชีวิตเป็นการนำแรงบันดาลใจจากธรรมชาติเพื่อนำมาแก้ไขปัญหาในด้านต่าง ๆ ของชีวิตประจำวัน โดยเฉพาะด้านวิทยาศาสตร์ การแพทย์ วิศวกรรมศาสตร์ เทคโนโลยี อุตสาหกรรม และการจัดการทางธุรกิจ อัลกอริทึมที่พัฒนาขึ้นมีสองแนวคิดหลัก คือ อัลกอริทึม  การวิวัฒนา (Evolutionary Algorithms) ซึ่งใช้หลักการคัดเลือกโดยธรรมชาติของ Darwin ในการคัดเลือกสิ่งมีชีวิตที่เหมาะสมที่สุดในสภาพแวดล้อมที่มีอุปสรรค และอัลกอริทึมความฉลาดแบบกลุ่ม (Swarm Intelligence Algorithms) ซึ่งเลียนแบบพฤติกรรมการทำงานร่วมกันของกลุ่มสิ่งมีชีวิต เช่น ฝูงนกหรือฝูงปลา การประยุกต์ใช้รวมถึงการวิเคราะห์ข้อมูลทางการแพทย์เพื่อวินิจฉัยโรค การวางแผนการจัดสรรทรัพยากรในโครงการก่อสร้าง การออกแบบระบบการจราจรเพื่อปรับปรุงความปลอดภัย การวิเคราะห์ข้อมูลพันธุกรรมเพื่อค้นหาความสัมพันธ์ระหว่างยีนและโรค และการวิเคราะห์ข้อมูลธุรกิจเพื่อทำนายพฤติกรรมการซื้อของลูกค้า อัลกอริทึมเหล่านี้ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ ความแม่นยำ และความยั่งยืนในการแก้ปัญหาต่าง ๆ โดยอาศัยหลักการที่ได้แรงบันดาลใจจากธรรมชาติ โดยวัตถุประสงค์ของบทความนี้เพื่ออธิบายหลักการทำงาน ประสิทธิภาพ วิเคราะห์ข้อดีและข้อเสียและการประยุกต์ใช้งานของอัลกอริธึมความฉลาดแบบกลุ่ม

วิธีดำเนินการวิจัย : วิธีการดำเนินการวิจัยในบทความนี้มีขั้นตอน ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 การศึกษารวบรวมเอกสารของนักวิจัย จำนวน 10 อัลกอริทึม ได้แก่  อัลกอริทึมมด (Ant Colony Optimization) อัลกอริทึมหาค่าความเหมาะสมที่สุดแบบอาณานิคมผึ้ง (Artificial Bee Colony Algorithm) อัลกอริทึมค้างคาว (Batt  Algorithm) อัลกอริทึมหาค่าความเหมาะสมที่สุดแบบกลุ่มอนุภาค (Particle Swarm Optimization) อัลกอริทึมผสมเกสรดอกไม้ (Flower Pollination Algorithm) อัลกอริทึม     หาค่าความเหมาะสมที่สุดแบบการแพร่ของวัชพืช (Weed Optimization Algorithm) อัลกอริทึมหาค่าความเหมาะสมที่สุดแบบการหาคู่ของผึ้ง (Bee Colony Optimization) อัลกอริทึมค้นหาแบบนกดุเหว่า (Cuckoo Search Algorithm) อัลกอริทึมการ จับกลุ่มของนก (Bird Flocking Algorithm) อัลกอริทึมการจับกลุ่มของไก่ (Chicken Swarm Optimization) อัลกอริทึมความฉลาดแบบกลุ่ม (Swarm intelligence algorithms) ขั้นตอนที่ 2 วิเคราะห์หลักการทำงานและประสิทธิภาพ 10 อัลกอริทึม  ขั้นตอนที่ 3 วิเคราะห์ข้อดีและข้อเสียของ 10 อัลกอริทึม ขั้นตอนที่ 4  สรุปการประยุกต์ใช้งานของ 10 อัลกอริทึม ขั้นตอนที่ 5  ผลการวิจัย และสรุปผลการวิจัยเพื่อหาข้อดีและข้อเสียของอัลกอริทึม รวมถึงการวิเคราะห์ความเหมาะสมของการใช้งานในงาน 5 ด้าน ได้แก่ ปัญหาการหาค่าความเหมาะสมที่สุดแบบต่อเนื่อง ปัญหาการหาค่าความเหมาะสมที่สุดแบบไม่ต่อเนื่อง ปัญหาการจัดตารางการผลิตแบบตามงาน ปัญหาการจัดตารางการผลิตที่มีความยืดหยุ่น และปัญหาการจำแนกประเภท

ข้อมูลสำคัญ : บทความนี้กล่าวถึงการใช้อัลกอริทึมที่เรียนรู้จากพฤติกรรมของกลุ่มสิ่งมีชีวิตเพื่อแก้ไขปัญหาทางด้านวิทยาศาสตร์, การแพทย์, วิศวกรรมศาสตร์, เทคโนโลยี,อุตสาหกรรม และการจัดการทางธุรกิจ โดยใช้อัลกอริทึมที่ได้รับแรงบันดาลใจจากธรรมชาติเพื่อพัฒนาและประยุกต์ใช้ในการแก้ไขปัญหาที่มีความซับซ้อน หลากหลายและการพัฒนาที่ยั่งยืนในสังคมและธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ การใช้อัลกอริทึมความฉลาดแบบกลุ่มในการวิเคราะห์ข้อมูลทางการแพทย์ เช่น การวินิจฉัยโรคหรือการจัดการสิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อสุขภาพ การพัฒนาและประยุกต์ใช้อัลกอริทึมเพื่อช่วยในการวิเคราะห์ภาพทางการแพทย์ เพื่อช่วยในการวินิจฉัยและรักษาโรคอย่างมีประสิทธิภาพ ด้านวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี การใช้อัลกอริทึมที่เรียนรู้จากพฤติกรรมของกลุ่มสิ่งมีชีวิตในการวางแผนและออกแบบโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อปรับปรุงความปลอดภัยและประสิทธิภาพในการดำเนินงาน การวางแผนการจัดสรรทรัพยากรในโครงการสร้างสิ่งก่อสร้างหรือการออกแบบระบบการจราจรเพื่อปรับปรุงความปลอดภัยและประสิทธิภาพในการเดินทาง  ด้านการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ การใช้อัลกอริทึมความฉลาดแบบกลุ่มในการค้นหาและวิเคราะห์พันธุกรรม เพื่อค้นหาคุณสมบัติหรือความสัมพันธ์ระหว่างยีนและโรคที่เกี่ยวข้อง การใช้อัลกอริทึมเพื่อวิเคราะห์ข้อมูลและทำนายเพื่อใช้ในการวิจัยในหลากหลายสาขาวิทยาศาสตร์  ด้านการบริหารจัดการทางธุรกิจ การใช้อัลกอริทึมเพื่อวิเคราะห์ข้อมูลลูกค้าเพื่อทำนายพฤติกรรมการซื้อหรือการวางแผนการตลาด การวิเคราะห์ข้อมูลการตลาดเพื่อการวางแผนการตลาดและการทำนายยอดขายและกำไร การนำเสนอและการใช้อัลกอริทึมที่มีความเหมาะสมจากธรรมชาติสามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและความสามารถในการแก้ไขปัญหาที่ซับซ้อนและมีการประยุกต์ใช้ได้ในงาน    5 ด้าน ดังนั้น ผลจากการศึกษาของบทความวิชาการนี้เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาและประยุกต์ใช้อัลกอริทึมความฉลาดแบบกลุ่มอย่างมีประสิทธิภาพ

แนวทางการใช้ประโยชน์ : บทความอัลกอริทึมความฉลาดแบบกลุ่มช่วยพัฒนางานหลายด้านด้วยหลักการเลียนแบบพฤติกรรมการทำงานร่วมกันของฝูงสิ่งมีชีวิต สามารถนำมาใช้ประโยชน์ ในด้านวิทยาศาสตร์โดยใช้ค้นหาแหล่งน้ำมันหรือ    แร่ธาตุใต้ดิน โดยใช้วิธีการสแกนและสำรวจข้อมูลจากสัญญาณเซ็นเซอร์ที่ทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการหาตำแหน่งที่มีโอกาสพบแหล่งทรัพยากร ด้านการแพทย์นำมาวิเคราะห์ภาพถ่ายเพื่อวินิจฉัยโรคและการผ่าตัดที่ซับซ้อน อัลกอริทึมความฉลาดแบบกลุ่มช่วยในการควบคุมการเคลื่อนไหวของหุ่นยนต์ผ่าตัด โดยจำลองการเคลื่อนไหวให้คล้ายการทำงานของกลุ่มสัตว์ที่ต้องการความแม่นยำและความร่วมมือสูง ด้านวิศวกรรมศาสตร์ใช้พัฒนาระบบจราจรอัจฉริยะอัลกอริทึมความฉลาดแบบกลุ่มช่วยในการออกแบบและปรับปรุงระบบจราจรอัจฉริยะ เช่น การจำลองการเคลื่อนไหวของรถยนต์ตามเส้นทางต่าง ๆ เพื่อลดการจราจรติดขัด และเพิ่มความปลอดภัยโดยการวางแผนเส้นทางที่ปลอดภัยที่สุดด้านเทคโนโลยี การพัฒนาหุ่นยนต์ร่วมมือในการผลิต หุ่นยนต์สามารถใช้การควบคุมที่เลียนแบบพฤติกรรมกลุ่ม ช่วยให้หุ่นยนต์ทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น สายการผลิตที่ต้องการการร่วมมือระหว่างหุ่นยนต์หลายตัว ด้านการเกษตรใช้บริหารฟาร์มอัจฉริยะและควบคุมโดรนกำจัดศัตรูพืช ส่วนด้านธุรกิจนำมาทำการวิเคราะห์พฤติกรรมผู้บริโภค อัลกอริทึมความฉลาดแบบกลุ่มสามารถใช้ในการวิเคราะห์พฤติกรรมของลูกค้า โดยพิจารณารูปแบบและแนวโน้มการซื้อสินค้า เพื่อให้สามารถทำนายและปรับกลยุทธ์ทางการตลาดให้ตรงกับความต้องการของลูกค้าได้อย่างเหมาะสม

ข้อสรุป : จากการศึกษาการใช้อัลกอริทึมความฉลาดแบบกลุ่มที่เรียนรู้จากพฤติกรรมของกลุ่มสิ่งมีชีวิต พบว่า อัลกอริทึมความฉลาดแบบกลุ่ม 10 อัลกอริทึมมีหลักการทำงานและประสิทธิภาพที่แตกต่างกันในการนำไปใช้งาน รวมทั้ง ข้อดีข้อจำกัดที่แตกต่างกัน พบว่าอัลกอริทึมแต่ละประเภทมีข้อดีที่เหมือนและแตกต่างกัน เช่น อัลกอริทึมที่ประยุกต์ใช้ในการประมวลผลแบบคู่ขนานได้ คือ อัลกอริทึมมดและอัลกอริทึมหาค่าความเหมาะสมที่สุดแบบกลุ่มอนุภาค อัลกอริทึมที่นำมาใช้แล้วค้นพบคำตอบได้อย่างรวดเร็ว ได้แก่ อัลกอริทึมมด อัลกอริทึมค้างคาว อัลกอริทึมหาค่าความเหมาะสมที่สุดแบบกลุ่มอนุภาค และอัลกอริทึมหาค่าความเหมาะสมที่สุดแบบการแพร่ของวัชพืช ส่วนอัลกอริทึม  ที่นำมาใช้แล้วลู่เข้าสู่กลุ่มคำตอบที่แท้จริงได้อย่างแน่นอน ได้แก่ อัลกอริทึมมด และอัลกอริทึมผสมเกสรดอกไม้ เป็นต้น สำหรับอัลกอริทึมแต่ละประเภทมีข้อเสียที่เหมือนและแตกต่างกัน เช่น อัลกอริทึมที่นำมาใช้แล้วจะพบปัญหาติดอยู่ในคำตอบเฉพาะที่ ได้แก่ อัลกอริทึมหาค่าความเหมาะสมที่สุดแบบกลุ่มอนุภาค อัลกอริทึมผสมเกสรดอกไม้ และอัลกอริทึมการจับกลุ่มของนก อัลกอริทึมที่นำมาใช้แล้วอาจเกิดภาวะเกินพอดี คือ อัลกอริทึมหาค่าความเหมาะสมที่สุดแบบการแพร่ของวัชพืช และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในงาน 5  ด้าน ได้แก่ ปัญหาการหาค่าความเหมาะสมที่สุดแบบต่อเนื่อง ปัญหาการหาค่าความเหมาะสมที่สุดแบบไม่ต่อเนื่อง ปัญหาการจัดตารางการผลิตแบบตามงาน ปัญหาการจัดตารางการผลิตที่มีความยืดหยุ่น และปัญหาการจำแนกประเภท

References

Adam, S., Senior, M., & Halina, K. (2018). Nature Inspired Methods and Their Industry Applications-Swarm Intelligence Algorithms. IEEE Transactions on Industrial Informatics, 14(3), 1004-1015.

Adis, A., & Milan, T. (2014). Improved Bat Algorithm Applied to Multilevel Image Thresholding. The Scientific World Journal, 1-16.

Ajchara, P., & Arit, T. (2013). Memetic algorithm based on marriage in honey bees optimization for flexible job shop scheduling problem. Memetic Computing, 9, 295-309.

Anguluri, R., Nandar, L., Swagatam, D., & Ponnuthura, N. S. (2017). Computing with the Collective Intelligence of Honey Bees- A Survey. Swarm and Evolutionary Computation, 32, 25-48.

Anuja, S. J., Omkar, K., Kakandikar, G. M., & Nandedkar, V. M. (2017). Cuckoo Search Optimization- A Review. Materials Today: Proceedings, 4(8), 7262-7269.

Chao, Z., Lei, M., Ryad, C., & Yongkun, Z. (2018). An Improved Bird Swarm Algorithm with Adaptive Characteristics. in Proc. the 2018 International Symposium on Communication Engineering & Computer Science, Hohhot, China, 230-235.

Chawalsak, P., Juthawut, C., & Napatsarun, C., (2017). Training Adaptive Neuro-Fuzzy Inference System Using Invasive Weeds Optimization for Predicting Tourist Arrivals to Thailand. in Proc. National Conference on Innovation and Technology Conference, 201-209. (in Thai)

Chen, W., Lincoln, C. W., Heng, L., Zhenye, A., & Abolfazl, K. (2018). Applied Artificial Bee Colony Optimization Algorithm in Fire Evacuation Routing System. Journal of Applied Mathematics, 1-17.

Chenguang, Y., & Qiaoge, L. (2013). Algorithm of Marriage in Honey Bees Optimization Coperate with Linear Method. Advanced Materials Research, 871, 330-337.

Chiwen, Q., Shian, Z., Yanming, F., & Wei, H. (2017). Chicken Swarm Optimization Based on Elite Opposition-Based Learning. Mathematical Problems in Engineering.

Dorin, M., Viorica, C., Cristina, P., Tudor, C., Ionut, A., & Ioan, S. (2018). Chicken Swarm Optimization and Deep Learning for Manufacturing Processes. in Proc. Conference: Networking in Education and Research, Cluj-Napoca, Romania, 1-6.

Faycal, C., Mohammed, E. R., Amine, A., Soukaina, C. B. S., & Abdelfattah, H. (2018). Improved Chicken Swarm Optimization Algorithm to Solve the Travelling Salesman Problem. Indonesian Journal of Electrical Engineering and Computer Science, 12(3), 1054-1062.

Gu, P., Xiu, C., Cheng, Y., Luo, J., & Li, Y. (2014). Adaptive Ant Colony Optimization Algorithm. in Proc. International Conference on Mechatronics and Control, Jinzhou, China, 95-98.

Kashif, H., Mohd, N. M. S., Yuli, A. P., & Shi, C. (2018). Personal best Cuckoo search algorithm for global optimization. International Journal on Advanced Science Engineering and Information Technology, 8(4), 1209 -1217.

Lbrahim, A., Hossam, F., Seyedali, M., Nailah. A., Alaa, S., & Majdi, M. (2019). Evolving neural networks using bird swarm algorithm for data classification and regression applications. Cluster Computing, 22, 317-1345.

Le, A. D., & Vo, N. D. (2015). Application of Cuckoo Search Algorithm for Optimal Power Flow in Power System. GMSARN International Journal, 9(2).

Mandeep, K., & Monika. S. (2016). Parallel Scheduling of Jobs using Flower Pollination Process. International Journal of Advanced Computational Engineering and Networking, 4(10), 19-24.

Manzoor, A., Nadeem, J., Iftikhar, A. N., Sundus, S., Rehman, Obaid. U. R., & Hafiz, M. H. (2018). Application of Bird Swarm Algorithm for Solution of Optimal Power Flow Problems. Advances in Intelligent Systems and Computing, 772, 280-291

Mandeep, K., & Monika. S. (2016). Parallel Scheduling of Jobs using Flower Pollination Process. International Journal of Advanced Computational Engineering and Networking, 4(10), 19-24.

Min, L., Yiwen, Zhong., Juan, L., & Xiaoyu, L. (2018). Discrete Bird Swarm Algorithm Based on Information Entropy Matrix for Traveling Salesman Problem. Mathematical Problems in Engineering, 2018, 1-15.

Mohammed, A., Moad, A. Q., Abdelaziz, I. H., Mohd, S. A., & Saleh, A. (2020). Flower Pollination Algorithm for Solving Classification Problems. International Journal of Advances in Soft Computing and its Applications, 12(1), 15-34.

Mojgan, M., & Mahdi, Y. (2019). Improved invasive weed optimization algorithm (IWO) based on chaos theory for optimal design of PID controller. Journal of Computational Design and Engineering, 6(3), 284-295.

Nursyiva, I., Aris, T., & Dian, E. W. (2017). Chicken Swarm as a Multi Step Algorithm for Global Optimization. International Journal of Engineering Science Invention, 6(1), 8-14.

Osama, A., Mohamed, A., & Ibrahim, E. (2014). An Improved Chaotic Bat Algorithm for Solving Integer Programming Problems. I.J. Modern Education and Computer Science, 2014(8),18 -24.

Peng, Z., Hong, L., & Yanhui, D. (2014). Dynamic bee colony algorithm based on multi-species co-evolution. Applied Intelligence, 40(3).

Pirapong, S., & Jeerayut, W. (2018). Solving Continuous Optimization Problems by Ant Colony Optimization with Domain Partitioning Technique. in Proc. 23 rd. Annual Meeting in Mathematics 2018, Mathematical Sciences for Thailand 4.0, Bangkok, Thailand, 257-262.

Ramli, M. R., AbalAbas, Z., Desa, M. I., Abidin, Z. Z., & Alazzam, M. B. (2019). Enhanced convergence of Bat Algorithm based on dimensional and inertia weight factor. Journal of King Saud University- Computer and Information Sciences, 31(4), 452-458.

Roozbeh, R., Vasile, P., & Enrico, Z. (2014). Invasive weed classification. Neural Computing and Applications, 26, 525-539.

Sangeeta, S., & Pawan, B. (2016). Artificial Bee Colony Algorithm: A Survey. International Journal of Computer Applications, 149(4), 0975-8887.

Sasan, H., Madjid, Kh., Javad, M., & Sadoullah, E. (2020). Optimizing a Neuro-Fuzzy System based on nature inspired Emperor Penguins Colony optimization algorithm. IEEE Transactions on Fuzzy Systems, 1(1), 1-15.

Satyasai, J. N., & Ganapati, Panda. (2017). A survey on nature inspired metaheuristic algorithms for partitional clustering. Swarm and Evolutionary Computation, 16, 1-18.

Selim, Y., & Ecir, U. K. (2014). A New Modification Approach on Bat Algorithm for Solving Optimization Problems. Applied Soft Computing, 28, 259 -275.

Souad, M., & Besma, C., F. (2014). A Modified Invasive Weed Optimization Algorithm for Multiobjective Flexible Job Shop Scheduling Problems. in Proc. Third International Conference on Advanced Information Technologies and Applications, 51-60.

Sweta, S., & Sudip, K. (2019). Application of Bat Algorithm for Transport Network Design Problem. Applied Computational Intelligence and Soft Computing, 2019,1-12.

Teja, C., & Vandana, P. (2015). Solving vehicle routing problem using ant colony optimization with nodal demand. International Journal of Engineering Research & Technology, 4(9), 679-682.

Xianneng, L., & Guangfei, Y. (2016). Artificial bee colony algorithm with memory. Applied Soft Computing, 41, 362 - 372.

Xian, B.M., Xiao, Z. G., Lihua, L., Yu, L., & Hengzhen, Z. (2016). A new bio-inspired optimisation algorithm: Bird Swarm Algorithm. Journal of Experimental & Theoretical Artificial Intelligence, 28(4)1-15.

Xianbing, M., Yu, L., Xiaozhi, G., & Hengzhen, Z. (2014). A New Bio-inspired Algorithm: Chicken Swarm Optimization. in Proc. International Conference in Swarm Intelligence, Advances in Swarm Intelligence, Hefei, China, 86-94.

Xu, H., Bao, Z.R., & Zhang, T. (2017). Solving dual flexible job-shop scheduling problem using a Bat Algorithm. Advances in Production Engineering & Management, 12(1), 5 -16.

Yahong, Z., Lian, L., & Khaled, M. (2014). Comparative Study of Heuristics Algorithms in Solving Flexible Job Shop Scheduling Problem with Condition Based Maintenance. Journal of Industrial Engineering and Management, 7(2), 518-531.

Yi, Z., Fazhi, H., Neng, H., & Yimin, Q. (2018). Parallel ant colony optimization on multi-core SIMD CPUs. Future Generation Computer Systems, 79(2), 473-487.

Yin, G., Xiujuan, L., & Cai, D. (2016). Cuckoo Search Algorithm Inspired by Artificial Bee Colony and Its Application. in Proc. International Conference on ICSI 2016, Bali, Indonesia, 74-85.

Yuksel, C., & Erkan, U. (2013). An Improved Marriage in Honey Bees Optimization Algorithm for Single Objective Unconstrained Optimization. The Scientific World Journal, 1-11.

Zeineb, A., Adel, G., Lazhar, B., Mohamed, H., & Nasser, A. (2017). Review of optimization techniques applied for the integration of distributed generation from renewable energy sources. Renewable Energy, 113,

-280.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-17

How to Cite

แต่นสุ่ย ด., & ธรรมโน อ. (2024). อัลกอริทึมความฉลาดแบบกลุ่มและการประยุกต์ใช้งาน. วารสารวิทยาศาสตร์บูรพา, 29(3 September-December), 1217–1246. สืบค้น จาก https://li05.tci-thaijo.org/index.php/buuscij/article/view/500