ตำแหน่งและสัณฐานวิทยารังของนกแอ่นกินรัง (Aerodramus germani) ในบ้านนกต้นทุนต่ำ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
คำสำคัญ:
นกแอ่นกินรัง, รังนก, บ้านนก, ลักษณะรังนกบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์และที่มา : นกแอ่นกินรัง (Aerodramus germani) เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองของประเทศไทย อาศัยและสร้างรังวางไข่ในธรรมชาติตามถ้ำบนเกาะและในอาคารสิ่งปลูกสร้างที่มนุษย์สร้างขึ้น มีพฤติกรรมบินโฉบจับแมลงขนาดเล็กในอากาศกินเป็นอาหาร รังมีสีขาว สร้างจากของเหลวที่ผลิตจากต่อมน้ำลายในฤดูผสมพันธุ์ และเป็นชนิดที่รังมีมูลค่าสูง การเก็บรังจะต้องได้รับอนุญาตตามพระราชบัญญัติอากรรังนกอีแอ่น 2540 มีรายงานการศึกษาตำแหน่งรังที่มีผลต่อความสำเร็จในการสืบพันธุ์ของกลุ่มประชากรนกที่อยู่รวมกันเป็นกลุ่มขนาดใหญ่หลายชนิด พบว่า การเลือกสร้างรังในตำแหน่งที่ดีภายในโคโลนีจะช่วยลดความเสียหายและปกป้องรังให้ปลอดภัยจากปัจจัยต่างๆ เช่น สภาพแวดล้อม การแข่งขันกันภายในนกชนิดเดียวกัน และผู้ล่าได้ ที่ผ่านมายังไม่มีการศึกษาตำแหน่งและสัณฐานวิทยารังจากบ้านนก การศึกษาครั้งนี้จึงมีความสำคัญทางวิชาการและเป็นแนวทางในการศึกษาในอนาคตในการระบุตำแหน่งการสร้างรังของนกและสัณฐานวิทยาของรัง
วิธีดำเนินการวิจัย : แบ่งพื้นที่ศึกษาภายในบ้านนกต้นทุนต่ำ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ออกเป็น 9 พื้นที่ย่อย ฝั่งขวา 4 พื้นที่ย่อย และฝั่งซ้าย 5 พื้นที่ย่อย เก็บข้อมูลจำนวนรัง ตำแหน่งรัง อุณหภูมิ และความชื้นสัมพันธ์ เดือนละ 1 ครั้ง ระหว่างเดือนกรกฎาคม-เดือนพฤศจิกายน 2565 และเก็บรังเพื่อคัดแยกประเภทรังและนับจำนวน และรังจำนวน 105 รัง จากรังที่เก็บเมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2565 นำมาจัดจำแนกกลุ่มตามลักษณะและรูปร่าง วัดลักษณะทางสัณฐานวิทยาของรัง 9 ลักษณะ ดังนี้ 1) ความหนาของรังบริเวณด้านซ้ายบนในตำแหน่งที่ยึดติดกับผนังไม้ 2) ความหนาของรังบริเวณด้านขวาบนในตำแหน่งที่ยึดติดกับผนังไม้ 3) ความกว้างของรังบริเวณกึ่งกลางรังในตำแหน่งที่ยึดติดกับไม้ตีรัง 4) ความลึกของรัง วัดจากก้นถ้วยถึงขอบปากรัง 5) ความสูงของรังบริเวณถ้วย วัดจากตำแหน่งกึ่งกลางฐานรังถึงปากรัง 6) ความยาวขจัดของรัง วัดจากบนสุดของด้านซ้าย-ขวา ในตำแหน่งที่ยึดติดกับผนังไม้ 7) ความยาวของปากรัง วัดจากปากด้านซ้ายถึงปากด้านขวา 8) ความหนาของปากรัง และ 9) น้ำหนัก และนำลักษณะทางสัณฐานวิทยาของรังทั้งหมด 9 ลักษณะ มาวิเคราะห์ความแตกต่างของข้อมูลโดย Duncan 's new multiple range test ด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป SAS
ผลการวิจัย : ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม-เดือนพฤศจิกายน 2565 พบนกแอ่นกินรังสร้างรังใหม่ทั้งหมด 59 รัง โดยในพื้นที่ฝั่งซ้ายมีรังมากที่สุด 32 รัง แต่กลับพบรังมากที่สุดในพื้นที่ย่อย L1 19 รัง และในเดือนสิงหาคมนกสร้างรังใหม่มากที่สุด 31 รัง (52.54%) ในพื้นที่ย่อย L1 มากที่สุด 15 รัง และพบว่ามีการกระจายรังภายในบ้านนกต้นทุนต่ำตามการสร้างรังของนกทั้งหมด 4 โคโลนี โดยโคโลนีที่ครอบคลุมพื้นที่ย่อย L1 กับ R1 มีขนาดใหญ่ที่สุด 67 รัง (R1 18 รัง และ L1 49 รัง) ซึ่งอยู่ในพื้นที่ส่วนในสุดของบ้านนก รองลงมาคือ โคโลนีที่ครอบคลุมพื้นที่ย่อย L5 (53 รัง) เป็นพื้นที่ที่อยู่ด้านนอกสุดติดกับช่องทางนกบินเข้า-ออก ส่วนสัณฐานวิทยารัง พบว่ารังนกที่เก็บในวันที่ 15 กรกฎาคม 2565 105 รัง เป็นรังสีขาว แบ่งรังออกเป็น 3 ประเภท คือ รังมุมชั้นเดียว มากที่สุด 72 รัง (68.57%) รองลงมาเป็นรังรูปเปล (22.85%) และรังมุมหลายชั้น และจากการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของข้อมูลลักษณะทางสัณฐานวิทยา ทั้ง 9 ลักษณะ ระหว่างรังรูปเปล รังมุมชั้นเดียว และรังมุมหลายชั้น โดยพิจารณาทีละลักษณะ พบว่า เฉพาะความหนาของปากรัง ของรังรูปเปล รังมุมชั้นเดียว และรังมุมหลายชั้น มีความหนาของปากรังแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ส่วนลักษณะอื่นๆ มีประเภทรังอย่างน้อย 1 คู่ ที่ผลการวิเคราะห์ไม่มีความแตกต่างกัน อุณหภูมิภายในบ้านอยู่ในช่วง 30.33-32.90°C ในขณะที่ความชื้นสัมพัทธ์อยู่ระหว่างค่าเฉลี่ย 79.00-88.40%
สรุปผลการวิจัย : ในพื้นที่ย่อย L1 มีการสร้างรังสูงที่สุด 32.20% มีรังใหม่ทั้งหมด 19 รัง เฉลี่ย 4.75 รัง/เดือน โดยในเดือนสิงหาคม นกสร้างรังใหม่มากที่สุด 31 รัง (52.54%) และภายในบ้านนกต้นทุนต่ำมีการกระจายรังตามการสร้างรังของนกทั้งหมด 4 โคโลนี โดยโคโลนีที่ครอบคลุมพื้นที่ย่อย L1 กับ R1 มีขนาดใหญ่ที่สุด ส่วนสัณฐานวิทยารัง พบว่า รังมุมชั้นเดียว มากที่สุด 72 รัง คิดเป็น 68.57% และจากการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของข้อมูลลักษณะทางสัณฐานวิทยา พบว่า เฉพาะความหนาของปากรังของรังรูปเปล รังมุมชั้นเดียว และรังมุมหลายชั้น มีความหนาของปากรังแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ส่วนลักษณะทางสัณฐานวิทยาในข้ออื่นๆ มีประเภทรังอย่างน้อย 1 คู่ ที่ผลการวิเคราะห์ไม่มีความแตกต่างกัน สำหรับอุณหภูมิภายในบ้านสูงกว่าอุณหภูมิที่นกชอบถึง 0.98-1.50°C ในขณะที่ความชื้นสัมพัทธ์อยู่ในช่วงที่นกชอบ
References
Brooke, R.K. (1970). Taxonomic & evolutionary notes on the subfamilies, tribes, genera & subgenera of the swifts (Aves: Apodidae). Nomenclator Zoologicus, 9(2), 13–24.
Buatip, S., Karntanut, W., & Swennen, C. (2013). Nesting period and breeding success of the Little Egret Egretta garzetta in Pattani province, Thailand. Forktail, 29, 120–123.
Delacour, J. (1947). Birds of Malaysia (1st ed). New York: Macmilla Company.
Dumsrisuk, Y., Chimchome, V., & Pongpattananurak, N. (2016). Breeding biology of Pale-Rumped Swiftlet (Aerodramus germani Oustalet) at Sutiwat Wararam Temple, Mueang District, Samut Sakhon Province. Journal of Wildlife in Thailand, 23(1), 63–75. (in Thai)
Hilaluddin, S.J.N., & Shawl, T.R. (2003). Nest site selection and breeding success by Cattle Egret and Little Egret in Amroha, Uttar Pradesh, India. Waterbirds, 26, 444–448.
Koon, L.C., & Cranbrook, E. (2002). Swiftlets of Borneo: Builder of Edible Nests (2nd ed.). Borneo: Natural History Publications Malaysia.
Langham, N. (1980). Breeding biology of the edible-nest swiftlet Aerodramus fuciphagus. International Journal of Avian Science, 122(4), 447-461.
Lau, A., & Melville, D.S. (1994). International trade in swiftlet nests with special reference to Hong Kong (1st ed.). Cambridge: Traffic International.
Leaksook, N. (2020). The swiftlet farming business in the Thailand (1st ed.). Pathum Thani: Vision Prepress Company Limited. (in Thai)
Lueangthuwapranit, C. (2019). Construction of Low-Cost Edible-Nest Swiftlet Houses (1st ed). Pattani: Pattani info Co.,Ltd. (in Thai)
Lueangthuwapranit, C., Bovornruangroj, N., & Kraiprom, T. (2021). A study of a low-cost Edible-Nest Swiftlet Master House. Journal of Sustainability Science and Management, 16(4), 99-112.
Medway, L. (1996). Studies on the biology of the edible-nest Swifts of South-East Asia Malayan. Natural Journal, 22, 57-63.
Nabhitabhata, J., Lekagul, K., & Sanguansombat, W. (2007). Dr. Boonsong's Bird Guide of Thailand (1st ed). Bangkok: Darnsutha Press. (in Thai)
Pakkem, K. (2022). Management of an artificial swiftlet habitat (1st ed). Pathum Thani: Vision Prepress Company Limited. (in Thai)
Phonak, P. (2004). Breeding biology of germain's swiftlet (Collocalia germani Oustalet, 1878) in Mu Koh Chang National Park, Trat Province. Bangkok: Kasetsart University. (in Thai)
Pongchu, N. (1985). Biology of edible-nest swiftlet, Collocalia fuciphaga (Thunberg, 1821). Bangkok: Kasetsart University. (in Thai)
Pongpattananurak, N., Phumsathan, S., Ruksakul, D., & Toyting, J. (2018). Guidelines for Implementing Protocols for Good Swiftlet House Practices. Bangkok: Kasetsart University. (in Thai)
Pongpattananurak, N., Phumsathan, s., Dumsrisuk, Y., Somleewong, T., & Rasri, P. (2021). Basic knowledge of edible-nest swiftlet for sustainable biodiversity utilization. Thai Journal of Forestry, 40(1), 167-184. (in Thai)
Pothieng, D. (2004). Ecology and distribution of edible-nest swiftlet (Collocalia fuciphaga). Bangkok: Wildlife Research Division, Department of National Parks, Wildlife and Plant Conservation. (in Thai)
Ratree, P. (2003). Habitat type, nesting and fledging development of black-nest Swiftlet (Collocalia maxima Hume, 1878) around Ko Chang national park. Bangkok: Kasetsart University. (in Thai)
Robson, C. (2008). A Field Guide to the Birds of Thailand and South–East Asia (1st ed). Bangkok: Asia Books Co.,Ltd.
Royal Thai Government Gazette. (1997). No.114, Article 56A. (in Thai)
Royal Thai Government Gazette. (2019). No.136, Article 71. (in Thai)
SAS. (1990). SAS/STATTM User’s Guide (Release 6.03). United States: SAS Inst., Inc.
Vergara, P., & Aguirre, J.I. (2006). Age and breeding success related to nest position in a White stork Ciconia ciconia colony. Acta Oecologica, 30(3), 414-418.

Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2025 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
Burapha Science Journal is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0) licence, unless otherwise stated. Please read our Policies page for more information