ผลการปรับสภาพความเป็นกรด-ด่างในน้ำเสียต่อประสิทธิภาพของพืชน้ำท้องถิ่น ในการบำบัดน้ำเสียจากโรงผลิตขนมจีนที่ผลิตในระดับครัวเรือน
คำสำคัญ:
การปรับสภาพความเป็นกรด-ด่าง , น้ำเสียจากโรงผลิตขนมจีน , พืชน้ำท้องถิ่นบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์และที่มา : น้ำเสียที่เกิดจากโรงผลิตขนมจีนจะมีลักษณะสีขาวขุ่น กลิ่นเหม็นเปรี้ยว เนื่องจากมีสารอินทรีย์จากการแปรรูปแป้งหมักให้เป็นเส้น ส่งผลให้น้ำเสียมีค่าความเป็นกรดสูงคือมี pH อยู่ในช่วง 3.25-3.56 จึงมีความสนใจที่จะศึกษาผลของการปรับและไม่ปรับสภาพความเป็นกรด-ด่างในน้ำเสียจากโรงผลิตขนมจีนต่อประสิทธิภาพของพืชน้ำที่พบทั่วไปในท้องถิ่น 3 ชนิด ได้แก่ ผักตบชวา กกกลม และพุทธรักษา ในการบำบัดน้ำเสียจากโรงผลิตขนมจีนด้วยระบบบ่อบำบัดเพื่อลดต้นทุนของระบบบำบัดให้สามารถนำไปใช้ได้ในระดับครัวเรือน
วิธีดำเนินการวิจัย : บ่อบำบัดน้ำเสียที่ใช้ทดลองเป็นบ่อปูนซีเมนต์ ขนาดกว้าง x สูง x ยาว เท่ากับ 25 x 25 x 60 เซนติเมตร ภายในบรรจุด้วยกรวดและดินปลูก ซึ่งจะอนุบาลพืชน้ำท้องถิ่นที่ศึกษาให้มีรากพืชแข็งแรงและแตกหน่อใหม่ก่อนนำไปทดลอง โดยทำการคัดเลือกพืชน้ำแต่ละชนิดที่มีขนาดลำต้นและความสูงใกล้เคียงกันแล้วทำการตัดแต่งให้มีความยาวของต้นประมาณ 50 เซนติเมตร ซึ่งแต่ละบ่อทดลองใช้พืชน้ำต่างชนิดๆ ละ 0.5 กิโลกรัม (น้ำหนักเปียก) การศึกษานี้ได้แบ่งการทดลองออกเป็น 2 ชุด ได้แก่ ชุดที่ 1 ทำการปรับสภาพความเป็นกรด-ด่างของน้ำเสียให้เป็นกลาง (pH เท่ากับ 7) ด้วยปูนขาว และไม่ปรับสภาพความเป็นกรด-ด่างในน้ำเสียในระบบบ่อบำบัด ซึ่งระบบบำบัดของชุดการทดลองนี้ประกอบด้วย 4 บ่อ ได้แก่ บ่อควบคุม (ไม่มีการปลูกพืช) บ่อผักตบชวา บ่อกกกลม และบ่อพุทธรักษา ใช้น้ำเสียบ่อละ 10 ลิตร ที่ระยะเวลาเก็บกักน้ำ 3, 5 และ 7 วัน และชุดที่ 2 ใช้ระบบบ่อบำบัดน้ำเสียด้วยพืชน้ำท้องถิ่น 2 ชนิด ที่ติดตั้งแบบอนุกรม ดังนี้ ถังพักน้ำเสีย บ่อกกกลม บ่อพุทธรักษา และบ่อพักน้ำทิ้ง โดยใช้น้ำเสียจากโรงผลิตขนมจีน 20 ลิตรต่อวัน ปรับอัตราการไหลของน้ำเสีย 14 มิลลิลิตรต่อนาที ใช้ระยะเวลาเก็บกักน้ำ 24 ชั่วโมง และทำการเดินระบบบำบัดน้ำเสียอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลา 15 วัน ทำการเก็บตัวอย่างน้ำก่อนเข้าและออกจากระบบไปวิเคราะห์คุณภาพน้ำเสียทุกวันประกอบด้วยค่าความเป็นกรด-ด่าง ของแข็งแขวนลอย บีโอดี ซีโอดี ไนโตรเจนทั้งหมด และฟอสเฟต ผลการวิเคราะห์ที่ได้นำไปวิเคราะห์ทางสถิติได้แก่ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบความแตกต่างของประสิทธิภาพการบำบัดโดยใช้สถิติ F-Test (One-way Anova) และ LSD ที่ระดับความเชื่อมั่น 0.05
ผลการวิจัย : ชุดการทดลองที่ 1 ประสิทธิภาพของพืชน้ำท้องถิ่น 3 ชนิด คือ ผักตบชวา กกกลม และพุทธรักษา ในการบำบัดน้ำเสียจากโรงผลิตขนมจีนที่มีการปรับสภาพความเป็นกรด-ด่าง ที่ 3 ช่วงระยะเวลา (3, 5 และ 7 วัน) สามารถบำบัดของแข็งแขวนลอย บีโอดี และฟอสเฟต ได้ร้อยละ 88.66-97.34, 72.33-85.47 และ 6.23-35.48 ตามลำดับ ส่วนผลของการไม่ปรับสภาพความเป็นกรด-ด่างในน้ำเสีย สามารถบำบัดของแข็งแขวนลอย บีโอดี และฟอสเฟต ได้ร้อยละ 82.40-96.62, 74.31-85.47 และ 8.90-69.41 ตามลำดับ โดยพืชที่มีประสิทธิภาพการบำบัดมากที่สุดในทั้ง 2 สภาวะ คือกกกลม โดยพบว่าในสภาวะที่ปรับและไม่ปรับสภาพความเป็นกรด-ด่างของน้ำเสียมีประสิทธิภาพเฉลี่ยร้อยละ 66.78 และ 71.63 ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพของพืชน้ำแต่ละชนิดที่มีการปรับและไม่ปรับสภาพความเป็นกรด-ด่างในน้ำเสียพบว่ามีความแตกต่างกันโดยพืชน้ำทุกชนิดมีประสิทธิภาพในการบำบัดน้ำเสียได้สูงกว่าการบำบัดโดยไม่มีพืช อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่น 0.05 ส่วนชุดการทดลองที่ 2 พบว่าคุณภาพน้ำเข้าระบบบ่อบำบัดจะมีการเปลี่ยนแปลงในแต่ละวัน เมื่อน้ำเสียไหลผ่านระบบบ่อบำบัดด้วยพืชน้ำ พบว่าคุณภาพน้ำออกของทุกพารามิเตอร์มีค่าลดลง ยกเว้นความเป็นกรด-ด่างของน้ำมีค่าความเป็นกรดสูงขึ้น โดยมีประสิทธิภาพการบำบัดแข็งแขวนลอย บีโอดี ซีโอดี ไนโตรเจนทั้งหมด และฟอสเฟต ด้วยพืชน้ำเท่ากับร้อยละ 86.96, 57.33, 76.24, 48.98 และ 24.04 ตามลำดับ
สรุปผลการวิจัย : การใช้พืชน้ำท้องถิ่น ได้แก่ กกกลมและพุทธรักษา สามารถลดค่าของแข็งแขวนลอย ค่าความสกปกรกของสารอินทรีย์ที่มีปริมาณสูงในรูปของบีโอดี ซีโอดี ไนโตรเจนทั้งหมดและฟอสเฟตได้ และที่สำคัญเมื่อผ่านการบำบัดน้ำเสียแล้วค่าความเป็นกรด-ด่างจากทุกการทดลองมีค่าเพิ่มสูงขึ้น โดยมีค่าความเป็นกรด-ด่างของน้ำเข้าอยู่ในช่วง 2.93 – 3.31 เฉลี่ยเท่ากับ 3.05 เมื่อผ่านการบำบัดมีค่าเพิ่มขึ้นอยู่ในช่วง 3.44-4.80 เฉลี่ยเท่ากับ 3.99
References
Aiamsaart, P., & Naka, S. (2021). Wastewater Treatment from the Noodles (Khanom Jeen) Flour Factory by Anaerobic Filter Tanks System with Floating Plants (Bachelor's thesis, Environmental Science). Maha Sarakham : Rajabhat Maha Sarakham University. (in Thai)
Ariyakanon, N. (2018). Water hyacinth and treatment of pollutants in water. Environmental Journal, 22(3), 49-55. (in Thai)
Boonprot, S. (2014). Treatment of Thai Fermented Rice Noodle Factory Wastewater by Limestone Equalization and Natural Treatment Systems. (Master's thesis, Environmental Science). Bangkok: Kasetsart University. (in Thai)
Department of Industrial Works. (2009). Principles of clean production technology (enhancing production efficiency and pollution prevention) in the rice noodle flour industry (1st ed.). Bangkok: Department of Industrial Works. (in Thai)
Klamjek, P. (2009). Role of wetland plants for wastewater treatment. Khon Kaen Agriculture Journal, 37(1), 79-86. (in Thai)
Muleng, S., & Jijai, S. (2019). Effect of Thai rice noodle wastewater with rice husk and dung to bio-fertilizer production (Research report). Yala: Yala Rajabhat University. (in Thai)
Pladprom, S., & Yongmanee, S. (2015). Performance analysis of Limnocharis flava (L.) Buchenau and Canna indica L. to TKN removal efficacy of effluent wastewater from Fort Suranaree Hospital, Nakhon Ratchasima. In Proceedings of the 2nd National Research Conference on "Creativity and Development towards ASEAN Community" (pp. 128-134). Nakhon Ratchasima: Nakhon Ratchasima College. (in Thai)
Pollution Control Department. (2012). Wastewater management manual for households. Bangkok: Community Wastewater Division, Water Quality Management Bureau. (1st ed.). Bangkok: Pollution Control Department (in Thai)
Pratum, C. (2016). Influence of High Organic Substances Concentrations in Fermented Rice Noodle (Khanomjeen) Factory Wastewater on Efficiency Wastewater Treatment of Vetiveria Zizanioides Nash. and Cyperus Corymbosus Rottb. Journal of Science and Technology Mahasarakham University, 36(3), 324-332. (in Thai)
Rattanapan, W. (2007). Treatment Condition of Wastewater from Thai Rice Noodle Production. (Master's thesis, Environmental Engineering). Bangkok: Kasetsart University. (in Thai)
Sawain, A., Kaipittayakorn, W.,& Sujarit, C. (2016). Modified Anaerobic Baffled Reactor (MABR) Approach and Multi Criteria Decision Analysis (MCDA) for Utilization Wastewater Treatment in Fermented Rice Noodle Factory (Research report). Songkhla: Rajamangala University of Technology Srivijaya,Trang Campus.(in Thai)
Somprasert, S., Nilratnisakorn, S., Sarnpra, P.,& Podam, S. (2016). Efficiencies of Constructed Wetland Systems Using Native Plants for Treatment of Strong Acidity Wastewater. Environmental Engineering Journal, 30(1), 49-57.
Sonraksa, P.,& Changchansri, S. (2022). Effect of pH Condition Adjustment in wastewater from the Noodles (Khanom Jeen) Flour Factory on Treatment Efficiency of Aquatic Plants (Bachelor's thesis, Environmental Science). Maha Sarakham: Faculty of Science and Technology, Rajabhat Maha Sarakham University. (in Thai)

Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2025 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
Burapha Science Journal is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0) licence, unless otherwise stated. Please read our Policies page for more information