ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงคุณภาพน้ำต่อภาวะยูโทรฟิเคชั่น และแพลงก์ตอนพืชบริเวณชายฝั่ง จังหวัดชลบุรี ปี 2565
คำสำคัญ:
คุณภาพน้ำ , ยูโทรฟิเคชั่น , แพลงก์ตอนพืช , ชลบุรีบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์และที่มา : ชายฝั่งทะเลจังหวัดชลบุรีเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศไทย โดยเฉพาะในด้านการท่องเที่ยว อุตสาหกรรม และการประมง ซึ่งมีแหล่งท่องเที่ยวและทรัพยากรธรรมชาติที่หลากหลาย เช่น หาดทราย ปะการัง และป่าชายเลน ทำให้พื้นที่นี้มีบทบาทสำคัญในเศรษฐกิจของประเทศ อย่างไรก็ตาม คุณภาพน้ำในบริเวณชายฝั่งมีแนวโน้มเสื่อมโทรมซึ่งเป็นผลจากกิจกรรมการใช้ประโยชน์ เช่น การระบายน้ำทิ้งจากชุมชนและแหล่งท่องเที่ยว รวมถึงการหมุนเวียนของกระแสน้ำในอ่าวไทยที่นำสารอาหารเข้าสู่พื้นที่มีผลให้เกิดภาวะยูโทรฟิเคชั่น (eutrophication) และการสะพรั่งของแพลงก์ตอนพืชอย่างต่อเนื่อง การสะพรั่งของแพลงก์ตอนพืชนี้อาจทำให้เกิดการขาดออกซิเจนในน้ำ (hypoxia) ซึ่งเป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตในทะเล ส่งผลให้เกิดการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ การวิจัยนี้จึงมุ่งเน้นศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพน้ำ ภาวะยูโทรฟิเคชั่น และองค์ประกอบของแพลงก์ตอนพืชในบริเวณชายฝั่งทะเลจังหวัดชลบุรี เพื่อประเมินปัจจัยที่บ่งชี้โอกาสการเกิดภาวะยูโทรฟิเคชั่นและการสะพรั่งของแพลงก์ตอนพืช และศึกษาเพื่อหาแนวทางการเฝ้าระวังอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน
วิธีดำเนินการวิจัย : ทำการเก็บตัวอย่างคุณภาพน้ำและแพลงก์ตอนพืชในบริเวณชายฝั่งทะเล จังหวัดชลบุรี จำนวน 4 สถานี ได้แก่ แหลมแท่น หาดวอนนภา บางพระ และเกาะลอย ระหว่างเดือนมิถุนายน ถึงธันวาคม 2565 โดยตรวจวัดคุณภาพน้ำทั่วไปได้แก่ อุณหภูมิ ความเค็ม ออกซิเจนละลายน้ำ และค่าความเป็นกรดด่าง ด้วยเครื่อง YSI Model 2030 และ pH meter ทำการเก็บตัวอย่างน้ำที่ระดับ 30 เซนติเมตร จากผิวน้ำเพื่อวิเคราะห์สารแขวนลอยรวม คลอโรฟิลล์ เอ แอมโมเนีย ไนไตรต์ ไนเตรต ฟอสเฟต ซิลิเกต ไนโตรเจนละลายน้ำรวม และฟอสฟอรัสละลายน้ำรวม ในห้องปฏิบัติการ ทำการเก็บตัวอย่าง แพลงก์ตอนพืชที่ระดับความลึก 50 เซนติเมตร โดยการกรองน้ำจำนวน 40 ลิตรผ่านถุงกรองแพลงก์ตอนขนาด 20 ไมโครเมตร นำมาจำแนกและนับจำนวนแพลงก์ตอนพืชภายใต้กล้องจุลทรรศน์ ทำการวิเคราะห์ข้อมูลเปรียบเทียบความแตกต่างของคุณภาพน้ำและแพลงก์ตอนพืชระหว่างพื้นที่และช่วงเวลาโดยใช้ One-way ANOVA พร้อมทั้งวิเคราะห์ค่าสหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson’s correlation) และวิเคราะห์ถดถอยเชิงเส้นพหุคูณ (Multiple Linear Regression) ด้วยโปรแกรม Minitab Statistical Software เพื่อระบุปัจจัยที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของคุณภาพน้ำและองค์ประกอบของแพลงก์ตอนพืชในพื้นที่ศึกษา
ผลการวิจัย : ผลการศึกษาคุณภาพน้ำทั่วไปพบว่า อุณหภูมิ ความเค็ม ความเป็นกรดด่าง ออกซิเจนละลายน้ำ ตะกอนแขวนลอย และคลอโรฟิลล์ เอ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 30.0±1.3°C, 24.4±5.4 psu, 8.1±0.3, 4.6±1.5 mg/l, 65.3±88.8 mg/l และ 15.4±29.4 µg/l ตามลำดับ ซึ่งค่าที่ตรวจวัดจาก 4 สถานี มีค่าเฉลี่ยใกล้เคียงกัน และอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพน้ำชายฝั่งเพื่อการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ยกเว้นคลอโรฟิลล์ เอ ที่มีค่าสูงกว่าค่ามาตรฐานตลอดระยะเวลาที่ศึกษา ซึ่งบ่งชี้ถึงความอุดมสมบูรณ์ที่สูงถึงระดับ Eutrophic ถึง Hypertrophic โดยเฉพาะในเดือนสิงหาคม (สถานีหาดวอนนภา) ซึ่งเกิดจากการสะพรั่งของแพลงก์ตอนพืช ในสกุล Bellerochea spp. ผลการศึกษาสารอาหารละลายน้ำพบว่า แอมโมเนีย ไนไตรต์ ไนเตรต ฟอสเฟต ซิลิเกต ไนโตรเจนละลายน้ำรวม และฟอสฟอรัสละลายน้ำรวมมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 186.8±169.0, 17.5±21.5 67.1±115.8 29.8±22.2 413.1±195.3 และ 44.7±24.9 µg/l ตามลำดับ โดยค่าแอมโมเนียมีแนวโน้มที่สูงเกินมาตรฐานโดยเฉพาะในช่วงเดือนตุลาคม ในส่วนของแพลงก์ตอนพืชพบทั้งหมด 55 สกุลจาก 4 คลาส ได้แก่ Cyanophyceae Chlorophyceae Bacillariophyceae และ Dinophyceae โดยมีสกุลเด่นที่พบคือ Chaetoceros spp. Coscinodiscus spp. และ Thalassiosira spp. ซึ่งพบสม่ำเสมอในทุกสถานี ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยต่างๆ พบว่า ปริมาณฝนมีความสัมพันธ์ในทางลบกับความเค็มของน้ำ เนื่องจากฝนสามารถลดความเค็มในพื้นที่ชายฝั่งได้ ขณะเดียวกันคลอโรฟิลล์ เอ มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับของแข็งแขวนลอยและแอมโมเนีย และพบว่าแพลงก์ตอนพืชคลาส Cyanophyceae จะมีความหนาแน่นเพิ่มขึ้นเมื่อปริมาณของแอมโมเนียในน้ำสูงขึ้น ซึ่งบ่งชี้ถึงการเกิดกระบวนการยูโทรฟิเคชั่นและการสะพรั่งของแพลงก์ตอนในพื้นที่ดังกล่าว
สรุปผลการวิจัย : ผลการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างของคุณภาพน้ำต่อภาวะยูโทรฟิเคชั่นและองค์ประกอบของแพลงก์ตอนพืชบริเวณชายฝั่งชลบุรีพบว่า โดยรวมแล้วคุณภาพน้ำไม่แตกต่างตามพื้นที่ เนื่องจากกระแสน้ำที่ไหลเรียบตามชายฝั่ง แต่จะมีความแตกต่างตามฤดูกาล โดยเฉพาะในเดือนตุลาคมที่มีปริมาณฝนมาก ทำให้แอมโมเนียสูงเกินมาตรฐาน ซึ่งมีผลกระทบต่อการเพิ่มขึ้นของคลอโรฟิลล์ เอ และความหนาแน่นของแพลงก์ตอนพืช โดยเมื่อพิจารณาจากปริมาณคลอโรฟิลล์ เอ และปริมาณสารอาหารจะพบว่า ชายฝั่งทะเล จังหวัดชลบุรีมีความอุดมสมบูรณ์อยู่ในระดับ Eutrophic ถึง Hypertrophic ในช่วงเวลาที่ทำการศึกษา แพลงก์ตอนพืชชนิดเด่นในพื้นที่คือคลาส Bacillariophyceae นอกจากนี้ความเข้มข้นของแอมโมเนียเป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการเกิดยูโทรฟิเคชั่นและการสะพรั่งของแพลงก์ตอนพืช จึงควรมีการควบคุมและเฝ้าระวังปริมาณแอมโมเนียไม่ให้สูงเกินมาตรฐานเพื่อป้องกันผลกระทบต่อระบบนิเวศและการประมงในอนาคต
References
American Public Health Association - APHA (1992). Standard Methods for the Examination of Water and Wastewater including Sediments and Sludges (18th ed.). American Public Health Association, American Water Works Association and the Water Environment Federation, Washington DC., USA.
Bi, R., Li, M., Liu, H., Li, H., Su, W., & Xu, J. (2021). Responses of marine diatom-dinoflagellate competition to multiple environmental drivers: Abundance, elemental, and biochemical aspects. Frontiers in Microbiology, 12, 731786.
Buranapratheprat, A. (2008). Circulation in the Upper Gulf of Thailand: A review. Burapha Science Journal, 13(1), 75-83. (in Thai)
Buranapratheprat, A., Kan-atireklarp, S., Yuenyong, S., & Kan-atireklap, S. (2018). Fluxes of suspended sediment and dissolved inorganic nutrients at the Welu River mouth in dry and wet seasons in 2014. Burapha Science Journal, 23(1), 546-556. (in Thai)
Chaianarong, K., & Pimprapai, S. N. A. (2018). Eastern Seaboard Industrial Development Program suggestions from people’s perspectives: A synthesis for a transition to Eastern Economic Corridor development that creates social justice. Burapha Journal of Political Economy, 6(1), 40–62. (in thai)
Conkright, M. E., Gregg, W. W., & Levitus, S. (2000). Seasonal cycle of phosphate in the open ocean.Deep-Sea Research I: Oceanographic Research Papers, 47(1), 159-175.
Deesuk, A., & Punnarak, P. (2017). Seasonal variation of phytoplankton communities at Sichang Island, Chonburi Province. Proceedings of the National and International Graduate Research Conference 2017, Khon Kaen University, 530-541. (in thai)
Department of Fisheries-DOF. (2021). Statistics of marine shellfish culture survey 2020. Department of Fisheries, Fisheries Statistics Group, Bangkok. (in Thai)
Department of Marine and Coastal Resources - DMCR. (2021). State of marine and coastal resources and coastal erosion: Thailand national report 2021. Ministry of Natural Resources and Environment, Bangkok. (in Thai)
Domingues, R. B., Anselmo, T. P., Barbosa, A. B., Sommer, U., & Galvão, H. M. (2011). Nutrient limitation of phytoplankton growth in the freshwater tidal zone of a turbid, Mediterranean estuary. Estuarine, Coastal and Shelf Science, 91(2), 282–297.
Ernst, A., Deicher, M., Herman, P. M. J., & Wollenzien, U. I. A. (2005). Nitrate and phosphate affect cultivability of cyanobacteria from environments with low nutrient levels. Applied and Environmental Microbiology, 71(6), 3379–3383.
Gassen, L., Esters, L., Ribas-Ribas, M., & Wur, O. (2024). The impact of rainfall on the sea surface salinity: A mesocosm study. Scientific Reports, 14, 6353.
Grasshoff, K., Kremling, K., & Ehrhardt, M. (1999). Methods of seawater analysis (3rd ed.). Wiley-VCH.
Heramza, K., Barour, C., Djabourabi, A., Khati, W., & Bouallag, C. (2021). Environmental parameters and diversity of diatoms in the Aïn Dalia dam, Northeast of Algeria. Biodiversitas, 22(9), 3633-3644.
Howarth, R. W., & Marino, R. (2006). Nitrogen as the limiting nutrient for eutrophication in coastal marine ecosystems: Evolving views over three decades. Limnology and Oceanography, 51(1), 364–376.
Maslukah, L., Setiawan, R. Y., Nurdin, N., Helmi, M., & Widiaratih, R. (2022). Phytoplankton chlorophyll-a biomass and the relationship with water quality in Barrang Caddi, Spermonde, Indonesia. Ecological Engineering & Environmental Technology, 23(1), 25–33.
Meteorological Department of Thailand – TMD. (2022). Average monthly rainfall in Chonburi Province. Bangkok. (in Thai)
Na-u-dom, T., Buranapratheprat, A., Homhual, K., & Intracharoen, P. (2013). Temporal and spatial variations of water qualities in the upper Gulf of Thailand during two seasons in 2009. Burapha Science Journal, 18(2), 32–42. (in Thai)
Ons Daly Yahia-Kefi, Souissi, S., De Stefano, M., & Daly Yahia, M. N. (2005). Bellerochea horologicalis and Lithodesmioides polymorpha var. tunisiense var. nov. (Coscinodiscophyceae, Bacillariophyta) in the Bay of Tunis: Ultrastructural observations and spatio-temporal distribution. Botanica Marina, 48(1), 58–72.
Pransilpa, M., Asiranan, I., & Chuenniyom, W. (2010). Species diversity and abundance of phytoplankton in the estuaries of Trat, Chantaburi, and Rayong River. Proceedings of the 4th Marine Science Conference, Prince of Songkla University, Thailand. (in Thai)
Pollution Control Department-PCD. (2006). Surface Water Quality Standards & Criteria in Thailand. Ministry of Science, Technology and Environment. (in Thai)
Smith, V. H. (2003). Eutrophication of freshwater and coastal marine ecosystems: A global problem.Environmental Science & Pollution Research, 10(2), 126-139.
Smith V.H., Tilma G.D. & Nekola J.C. (1999). Eutrophication: impacts of excess nutrient inputs on freshwater, marine, and terrestrial ecosystems. Environmental Pollution, 100 (1999),179-196.
Sobolev, D., Moore, K., & Morris, A. L. (2009). Nutrients and light limitation of phytoplankton biomass in a turbid southeastern reservoir: Implications for water quality. Southeastern Naturalist, 8(2), 255–266.
Srisunont, C., Srisunont, T., Intarachart, A., & Babel, S. (2022). Influence of climate on seawater quality and green mussel production. SCI. MAR. ,86(1).
Strickland, J.D.H., & Parsons, T.R. (1972). A Practical Handbook of Seawater Analysis. Fishery Research Board of Canada, Ottawa.
Talab, S., Munhapon, A., & Wongsudawan, W. (2010). Monitoring of phytoplankton density in marine bivalve aquaculture farms of Chon Buri Bay, Chon Buri Province. Proceedings of the 4th Marine Science Conference, Prince of Songkla University, Thailand. (in Thai)
Thaipichitburapa, P. ,& Meksumpun, C. (2021). The effects of dissolved inorganic nutrients on eutrophication situations of Trat Bay, Trat Province. Burapha Science Journal, 26(2), 771–784. (in Thai)
Thongchab, P., & Chayakulal, T. (2023). The relationship between air and water temperature in rice paddy fields. Proceedings of the 52nd Kasetsart University Annual Conference: Plant Science, 28, SGI03–1. (in Thai)
Vonnahme, T. R., Leroy, M., Thoms, S., van Oevelen, D., Harvey, H. R., Kristiansen, S., Gradinger, R.,Dietrich, U., & Volker, C. (2002). Modeling silicate–nitrate–ammonium co-limitation of algal growth and the importance of bacterial remineralization based on an experimental Arctic coastal spring bloom culture study. Marine Ecology Progress Series, 239(1), 233–239
Wongrat, L. (1999). Phytoplankton, Department of Fishery Biology, Faculty of Fisheries, Kasetsart University, Bangkok, Thailand. (in Thai)
Wongrat, L & Boonyapiwat, S. (2003). Manual of Sampling and Analytical Methods of Plankton,Kasetsart University, Bangkok, Thailand. (in Thai)
Yuan, M., Jiang, C., Weng, X., & Zhang, M. (2020). Influence of salinity gradient changes on phytoplankton growth caused by sluice construction in Yongjiang River estuary area. Water, 12, 2492.

Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2025 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
Burapha Science Journal is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0) licence, unless otherwise stated. Please read our Policies page for more information