คุณภาพของน้ำผัก/ผลไม้รวมจากของเหลือในการตัดแต่งผักสลัด ภายใต้กระบวนการแปรรูปโดยความดันสูง
คำสำคัญ:
เทคโนโลยีความดันสูง , การแปรรูปแบบไม่ใช้ความร้อน , น้ำผักและผลไม้รวม , คุณสมบัติทางกายภาพ-เคมี , จุลชีววิทยาบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์และที่มา : เทคโนโลยีการแปรรูปอาหารด้วยความดันสูงเป็นการแปรรูปแบบไม่ใช้ความร้อนซึ่งเป็นนวัตกรรมการแปรรูปอาหารที่สามารถยับยั้งจุลินทรีย์และเอนไซม์ โดยยังคงรักษาคุณค่าทางโภชนาการ สารให้กลิ่นรส และสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพไว้ได้ การแปรรูปโดยความดันสูงประยุกต์ใช้กันอย่างแพร่หลายในอุตสาหกรรมการแปรรูปอาหาร เช่น น้ำผลไม้ แยม และผลิตภัณฑ์ผลไม้อื่น ๆ ข้อดีของการแปรรูปโดยความดันสูงสามารถกำจัดการใช้ความร้อนซึ่งลดการทำลายองค์ประกอบของอาหารได้ นอกจากนี้ผักผลไม้ส่วนคัดทิ้งที่เหลือจากการตัดแต่งมีจำนวนมากซึ่งไม่สามารถขายได้เนื่องจากลักษณะที่ไม่น่ารับประทาน แต่ยังคงคุณค่าในด้านสารอาหารและสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพ เช่น สารต้านอนุมูลอิสระ เป็นต้น ไม่แตกต่างจากผักสลัดสด จึงจำเป็นต้องมีการแปรรูปเพื่อเปลี่ยนรูปลักษณ์ดังกล่าวแต่ยังคงรักษาคุณค่าของสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพไว้ให้มากที่สุด การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบของการแปรรูปด้วยความดันสูงที่ระดับของความดันและเวลาต่างๆ ที่มีผลต่อคุณสมบัติทางกายภาพ เคมีและจุลชีววิทยาของน้ำผักสลัดผสมน้ำผลไม้รวม
วิธีดำเนินการวิจัย : นำผักกรีนโอ๊ค ผักเรดโอ๊ค และผักมินิคอสที่เหลือทิ้งจากกระบวนการตัดแต่งผักสลัดในสัดส่วน 45:45:10 โดยน้ำหนัก และผลไม้ ได้แก่ องุ่นแดง แอปเปิ้ลแดง และมะนาว มาสกัดด้วยเครื่องสกัดแบบเย็นและผสมในสัดส่วนของน้ำผักสลัดผสม น้ำองุ่นแดง น้ำแอปเปิ้ลและน้ำมะนาวที่ 59.58:23.57:14.85:2 โดยน้ำหนัก บรรจุน้ำผักสลัดผสมน้ำผลไม้รวมปริมาณ 150 มิลลิลิตรในขวดพลาสติก จากนั้นนำน้ำผักสลัดผสมน้ำผลไม้รวมไปแปรรูปด้วยความดันสูงที่ระดับความดัน 300, 400, และ 500 MPa นาน 3, 6 และ 9 นาที วิเคราะห์คุณภาพทางกายภาพ เคมี และจุลินทรีย์ ได้แก่ ค่าสี ค่าความขุ่น ปริมาณของแข็งทั้งหมดที่ละลายได้ ค่าความเป็นกรดด่าง สารประกอบฟีนอลิกทั้งหมด กิจกรรมการต้านอนุมูลอิสะด้วยวิธี DPPH และ FRAP ปริมาณจุลินทรีย์ทั้งหมดและปริมาณยีสต์และรา
ผลการวิจัย : ความดันและเวลามีอิทธิพลร่วมอย่างมีนัยสำคัญต่อความเป็นสีแดง (a*) และปริมาณจุลินทรีย์ทั้งหมด (p≤0.05) นอกจากนี้ระดับความดันยังมีอิทธิพลอย่างมีนัยสำคัญต่อความสว่าง (L*) ความเป็นสีแดง (a*) ความเป็นสีเหลือง (b*) ความเป็นกรด-ด่าง และกิจกรรมของสารต้านอนุมูลอิสระที่วัดโดยวิธี FRAP (p≤0.05) การใช้ความดันที่ 500 MPa นาน 9 นาที ส่งผลต่อค่าความเป็นสีแดงมากขึ้น (a* = -0.50, p≤0.05) ในขณะที่ความดันและเวลาไม่มีผลต่อค่าความขุ่น และปริมาณของแข็งทั้งหมดที่ละลายได้ในตัวอย่างน้ำผักสลัดผสมน้ำผลไม้รวม (p>0.05) การเพิ่มระดับความดันมีความสัมพันธ์กับการลดลงของกิจกรรมต้านอนุมูลอิสระ FRAP (p≤0.05) การใช้ความดันที่ 500 MPa นาน 3-9 นาที ในน้ำผักสลัดผสมน้ำผลไม้รวม พบว่ามีค่ากิจกรรมต้านอนุมูลอิสระ FRAP ในช่วง 7.45-7.93 µg TE/100 กรัมตัวอย่าง ในขณะที่ระดับความดัน เวลา และอิทธิพลร่วมระหว่างความดันและเวลาไม่มีอิทธิพลต่อปริมาณสารประกอบฟีนอลิกทั้งหมดและกิจกรรมการต้านอนุมูลอิสระด้วยวิธี DPPH (p>0.05) ปริมาณสารประกอบฟีนอลิกทั้งหมดและกิจกรรมการต้านอนุมูลอิสระด้วยวิธี DPPH ของน้ำผักสลัดผสมน้ำผลไม้รวมมีค่าในช่วง 35.94-41.21 µg GAE/100 กรัมตัวอย่าง และ 4.26-4.56 µg TE/100 กรัมตัวอย่างตามลำดับ ส่วนระยะเวลาในการแปรรูปมีผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อความสว่างและความเป็นกรดด่าง (p≤0.05) น้ำผักสลัดผสมน้ำผลไม้รวมที่ผ่านความดัน 300 MPa นาน 3-6 นาที มีค่าความเป็นกรดด่าง ในช่วง 3.83-3.84 เมื่อระดับความดันและเวลาเพิ่มขึ้นส่งผลให้ปริมาณจุลินทรีย์ทั้งหมดลดลง (p≤0.05) ปริมาณจุลินทรีย์ทั้งหมดของตัวอย่างน้ำผักสลัดผสมน้ำผลไม้รวมที่ผ่านความดันสูงที่ระดับมากกว่า 300 MPa นาน 3-9 นาทีมีค่าในช่วง 3.33-6.00 CFU/ml. ความดัน เวลา และอันตรกิริยาระหว่างทั้งสองปัจจัยจะไม่มีผลกระทบต่อปริมาณยีสต์และราในตัวอย่างน้ำผักสลัดผสมน้ำผลไม้รวม (p>0.05) แต่พบว่าปริมาณยีสต์และราลดลงเมื่อเที่ยบกับตัวอย่างที่ไม่ผ่านความดันสูง อย่างไรก็ตาม ตัวอย่างที่ผ่านการแปรรูปทั้งหมดมีปริมาณจุลินทรีย์ทั้งหมด และยีสต์และราต่ำกว่าเกณฑ์ทั่วไปและขอบเขตที่กำหนดสำหรับผลิตภัณฑ์ที่มีความเป็นกรด (pH≤4.64) ที่ผ่านการฆ่าเชื้อด้วยความดันสูง ผลการศึกษานี้สอดคล้องกับแนวทางของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาของไทยปี พ.ศ. 2562 (Food and Drug Administration, 2019) ซึ่งแนะนำให้ใช้ความดันอย่างน้อย 400 MPa เป็นเวลา 1-20 นาที สำหรับผลิตภัณฑ์ประเภทนี้
สรุปผลการวิจัย : การแปรรูปน้ำผักสลัดผสมน้ำผลไม้รวมด้วยความดันสูงที่ 400 MPa เป็นเวลา 6 นาที เป็นวิธีการแปรรูปแบบไม่ใช้ความร้อนที่มีศักยภาพสูงสำหรับการประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรม ซึ่งสภาวะนี้สามารถรักษาปริมาณฟีนอลิกทั้งหมด กิจกรรมต้านอนุมูลอิสระ DPPH และ FRAP ในตัวอย่างน้ำน้ำผักสลัดผสมน้ำผลไม้รวมไว้ได้มาก ปริมาณจุลินทรีย์เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานด้วยต้นทุนที่เหมาะสม วิธีการนี้ไม่เพียงแต่รับประกันความปลอดภัยทางจุลชีววิทยาและคุณภาพเท่านั้น แต่ยังนำเสนอโอกาสในการเพิ่มมูลค่าให้กับผลพลอยได้จากอุตสาหกรรมผักและผลไม้ตัดแต่งพร้อมบริโภคหรือผักที่ไม่ได้มาตรฐาน โดยแปรรูปให้เป็นเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพที่มีคุณค่าทางโภชนาการ
References
AOAC. (2000). Official Methods of Analysis of the Association of Official Analytical Chemists, (17thed.). Washington D.C.
Food and Drug Administration. (2019). General criteria and product scope for using the high pressure pasteurization process (High-Pressure Processing (HPP)). (pp. 1-6). (in Thai)
Fuangpaiboon, N., Srijesdaruk, V., & Kijroongrojana, K. (2024). The effects of mixed proteins on the physical and rheological properties and the sensory qualities of a newly formulated plant-based soup for elderly consumers. Asia-Pacific Journal of Science and Technology, 29(1), 1-10.
Heremans, K. (1995). High-pressure effect on biomolecules. In D.A. Ledward, D.E. Johnston, R.G. Earnshaw, & A.P.M. Hastings. (Eds.), High Pressure Processing of Foods. (pp. 81-97). Nottingham University Press: Nottingham.
Jayachandran, L. E., Chakraborty, S., & Rao, P. R. (2015). Effect of high pressure processing on physicochemical properties and bioactive compounds in litchi based mixed fruit beverage. Innovative Food Science and Emerging Technologies, 28, 1-9.
Jiang, Y., & Li, Y. (2001). Effects of chitosan coating on postharvest life and quality of longan fruit. Food Chemistry, 73, 139-143.
Koo, A., Chew, D.X., Ghate, V., & Zhou, W. (2023). Residual polyphenol oxidase and peroxidase activities in high pressure processed bok choy (Brassica rapa subsp. chinensis) juice did not accelerate nutrient degradation during storage. Innovative Food Science and Emerging Technologies, 84, 1-9.
Li, Y., & Padilla-Zakour, O. I. (2024). Evaluation of pulsed electric field and high-pressure processing on the overall quality of refrigerated Concord grape juice. LWT - Food Science and Technology, 198, 116002.
Oey, I., Lille, M., Loey, A.V., & Hendrickx, M. (2008). Effect of highpressure processing on colour, texture and flavour of fruit- and vegetable-based food products: a review. Trends in Food Science & Technology, 19, 320-328.
Petrus, R., Churey, J., & Worobo, R. (2020). Searching for high pressure processing parameters for Escherichia coli O157:H7, Salmonella enterica and Listeria monocytogenes reduction in Concord grape juice. British Food Journal, 122(1), 170-180.
Phungamngoen, C., Eadmusik, S., & Suwan T. (2018). Influence of sterilize condition and storage time of canned bamboo shoot in Yanang juice. Italian Journal of Food Science, 30(5), 24-29.
Rios-Corripio, G., Welti-Chanes, J., Rodríguez-Martínez, V., & Guerrero-Beltr´an, J. ´A. (2024). High hydrostatic pressure processing of fresh juice and a fermented beverage of black cherry (Prunus serotina). Journal of Agriculture and Food Research, 15, 100937.
Sanguansil, S., Boonprakob, U., & Thaipong, K. (2011). Antioxidant Activity, Phenolics, Flavonoids and Fruit Quality of Dessert-type Guava. Agricultural Science Journal, 42 (Suppl), 579-582.
Sawaengpon, S. (2011). The relationship between quality changes and respiration rate of fresh-cut vegetable salad stored under modified atmosphere package. M.Sc. Thesis. Suranaree University of Technology.
Stinco, C. M., Szczepańska, J., Marszałek, K., Pinto, C. A., Inácio, R. S., Mapelli-Brahm, P., Barba, F. J., Lorenzo, J., M., Saraiva, J. A., & Meléndez-Martínez, A. J. (2019). Effect of high-pressure processing on carotenoids profile, colour, microbial and enzymatic stability of cloudy carrot juice. Food Chemistry, 299, 125112.
Szczepa´nska, J., Skąpska, S., Lorenzo, J. M., & Marszałek, K. (2021). The influence of static and multi-pulsed pressure processing on the enzymatic and physico-chemical quality, and antioxidant potential of carrot juice during refrigerated storage. Food and Bioprocess Technology, 14, 52–64.
Tangwongchai, R., Ledward, D.A., & Ames, J.M. (2000). Effect of high pressure treatment on the texture of cherry tomatoes. Journal of Agricultural and Food Chemistry, 48(5), 1434-1441.
Tangwongchai, R., & Attapolpaisarn, C. (2010). Effect of high pressure and temperature treatment on PME activity in cloudy fruit juice. Food Journal, 40(2), 42-46. (in Thai)
Thai Community Product Standard. (2014). TCPS 1307/2014 Mix Fruits Syrup. Thai Industrial Standards Institute. (in Thai)
Xia, Q., Liu, C., Cao, Y., Zhao, Y., Lu, S., Wu, D., Aniya, & Guan, R. (2023). Improving quality of sea buckthorn juice by high-pressure processing. LWT - Food Science and Technology, 185, 115149.
Yuan, B., Danao, M.C., Lu, M., Weier, S.A., & Stratton, J.S. (2018). High pressure processing (HPP) of aronia berry puree: Pilot scale processing. Innovative Food Science and Emerging Technologies, 47, 241-248.
Zou, W., Niu, H., Yi, J., & Zhou, L. (2024). Passion fruit juicing with or without seeds treated by high-pressure processing and thermal pasteurization: Effects on the storage stability of enzymes and quality properties. Innovative Food Science and Emerging Technologies, 91, 103554.

Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2025 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
Burapha Science Journal is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0) licence, unless otherwise stated. Please read our Policies page for more information