ปริมาณ ต้นทุนและผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมของการฝังกลบขยะอาหารในพื้นที่ เทศบาลเมืองชะอำ จังหวัดเพชรบุรี และเทศบาลเมืองหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
คำสำคัญ:
ขยะอาหาร, ปริมาณ, ต้นทุนการจัดการ, ผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้มบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์และที่มา : ขยะอาหารเป็นปัญหาระดับโลกที่มีผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจและสังคมอย่างมีนัยสำคัญ ขยะอาหารเป็นสาเหตุของการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก การลดลงของทรัพยากรธรรมชาติ และความไม่มั่นคงทางอาหาร (การสูญเสียอาหาร) ภาคการท่องเที่ยวเป็นแหล่งก๊าซเรือนกระจกสูงถึงร้อยละ 8 ของปริมาณการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั่วโลก โดยปริมาณนี้ยังไม่นับรวมก๊าซเรือนกระจกที่เกิดจากขยะอาหารที่มาจากกิจกรรมและกิจการที่เกี่ยวเนื่องกับการท่องเที่ยวซึ่งมีปริมาณมากแต่มักจะไม่ถูกนับรวมในการประเมิน ภาคการท่องเที่ยวและกิจการที่เกี่ยวเนื่องประกอบด้วยร้านอาหารและบริการอาหาร โรงแรมและที่พัก ตลาด และห้างสรรพสินค้า ซึ่งนับเป็นแหล่งขยะอาหารที่สำคัญโดยขยะอาหารส่วนใหญ่เกิดจากอัตราการบริโภคและความคาดหวังของการให้บริการในระดับสูง กระบวนการกำจัดขยะอาหารใช้ทรัพยากรปริมาณมาก เช่น การใช้น้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับการขนส่งและการฝังกลบ และโครงสร้างพื้นฐานสำหรับการจัดการฝังกลบ การฝังกลบขยะอาหารซึ่งส่วนใหญ่เป็นสารอินทรีย์ก่อให้เกิดก๊าซเรือนกระจกและมลพิษหลากหลายชนิดในปริมาณมากซึ่งส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม อย่างไรก็ตาม ความเข้าใจเกี่ยวกับปริมาณ ต้นทุนการจัดการและผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อมของระบบการจัดการขยะอาหารที่เกิดจากภาคส่วนนี้ยังมีน้อยมาก ดังนั้น เพื่อเป็นการปิดช่องว่างของข้อจำกัดเหล่านี้ การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินปริมาณขยะอาหารที่เกิดจากภาคการท่องเที่ยวและกิจการที่เกี่ยวเนื่องในเทศบาลเมืองชะอำและหัวหิน การวิเคราะห์ต้นทุนการจัดการและผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมของระบบการจัดการขยะอาหารโดยวิธีการฝังกลบซึ่งเป็นวิธีการจัดการขยะอาหารในปัจจุบันของทั้ง 2 เทศบาล
วิธีดำเนินการวิจัย : เพื่อประเมินสถานะของขยะอาหารในพื้นที่เทศบาลเมืองชะอำและเทศบาลเมืองหัวหิน นักวิจัยดำเนินการเก็บข้อมูลปริมาณขยะอาหารจากตัวอย่างร้านอาหารและบริการอาหาร โรงแรมและที่พัก ตลาดสด และห้างสรรพสินค้า ในช่วงเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2564 ถึงเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2565 สำหรับใช้ในการประเมินอัตราการเกิดขยะอาหาร (กิโลกรัมต่อวัน) แยกตามประเภทและขนาดของธุรกิจ จากนั้น คำนวณปริมาณขยะอาหารทั้งหมดที่เกิดจากการท่องเที่ยวและกิจการที่เกี่ยวเนื่องในรอบ 1 ปี ของทั้ง 2 เทศบาล โดยใช้ค่าอัตราการเกิดขยะอาหารคูณด้วยจำนวนประชากรของหน่วยธุรกิจนั้น ๆ วิเคราะห์ต้นทุนของการจัดการขยะอาหารโดยวิธีการปันส่วนโดยตรง (Direct allocation method) และประเมินผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมของวัฏจักรชีวิตของขยะอาหารจากการท่องเที่ยวและกิจการที่เกี่ยวเนื่องโดยการฝังกลบโดยใช้วิธีการประเมินวัฏจักรชีวิต (Life Cycle Assessment: LCA)
ผลการวิจัย : ปริมาณขยะอาหารที่เกิดจากภาคการท่องเที่ยวและกิจการที่เกี่ยวเนื่องของเทศบาลเมืองชะอำเท่ากับ 2,516.37 ตันต่อปี คิดเป็นร้อยละ 8.00 ของขยะมูลฝอยทั้งหมดที่จัดเก็บได้ ส่วนเทศบาลเมืองหัวหินมีปริมาณขยะอาหารเท่ากับ 3,844.25 ตันต่อปี คิดเป็นร้อยละ 7.88 ของขยะมูลฝอยทั้งหมด เศษอาหารที่เหลือจากการบริโภคจากร้านอาหารและบริการอาหารเป็นแหล่งขยะอาหารที่สำคัญคิดเป็นร้อยละ 25.02 และ 26.57 ของขยะอาหารจากร้านอาหารและบริการอาหารในเทศบาลเมืองชะอำและเทศบาลเมืองหัวหิน ตามลำดับ เทศบาลเมืองชะอำมีต้นทุนรวมในการจัดการขยะอาหารเท่ากับ 1,290.73 บาทต่อตัน แบ่งเป็นต้นทุนการจัดเก็บ 856.77 บาทต่อตัน (ร้อยละ 66.38) และต้นทุนในการฝังกลบ 433.96 บาทต่อตัน (ร้อยละ 33.62) ส่วนเทศบาลเมืองหัวหินมีต้นทุนรวมเท่ากับ 2,585.42 บาทต่อตัน แบ่งเป็นต้นทุนการจัดเก็บ 1,883.71 บาทต่อตัน (ร้อยละ 72.86) และต้นทุนในการฝังกลบ 701.71 บาทต่อตัน (ร้อยละ 27.14) โดยต้นทุนส่วนใหญ่เป็นต้นทุนผันแปรร้อยละ 94.52 และ 99.91 สำหรับเทศบาลเมืองชะอำและเทศบาลเมืองหัวหิน ตามลำดับ มลพิษที่เกิดจากกระบวนการจัดเก็บและที่เกิดจากหลุมฝังกลบส่งผลต่อตัวชี้วัดทางด้านสิ่งแวดล้อมแตกต่างกัน การจัดเก็บและการขนส่งขยะอาหารมีบทบาทมากต่อตัวชี้วัดสิ่งแวดล้อม 3 จาก 11 ตัวชี้วัด ได้แก่ ดัชนี Particulate Matter ดัชนี Freshwater Eutrophication Potential และดัชนี Terrestrial Eutrophication Potential ซึ่งตัวชี้วัดเหล่านี้เกิดจากมลพิษที่เกิดจากการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงจากฟอสซิลเป็นสำคัญ ในขณะที่มลพิษจากหลุมฝังกลบและน้ำชะขยะส่งผลต่อทางด้านสิ่งแวดล้อม 6 จาก 11 ตัวชี้วัด ได้แก่ ดัชนี Climate Change ดัชนี Ozone Depletion Potential ดัชนี Non-cancer ดัชนี Cancer ดัชนี Photochemical Ozone Formation Potential และดัชนี Ecotoxicity for Freshwater Ecosystem โดยตัวชี้วัดเหล่านี้เกิดจากมลพิษที่มาจากก๊าซต่าง ๆ จากหลุมฝังกลบและมลพิษที่อยู่ในน้ำชะขยะ สำหรับมลพิษที่เกิดจากการจัดเก็บขยะอาหารและจากหลุมฝังกลบมีบทบาทใกล้เคียงกันต่อตัวชี้วัดสิ่งแวดล้อม 2 จาก 11 ตัวชี้วัด ได้แก่ ดัชนี Acidification Potential และดัชนี Marine Eutrophication Potential
สรุปผลการวิจัย : ภาคการท่องเที่ยวและกิจการที่เกี่ยวเนื่องเป็นแหล่งกำเนิดขยะอาหารที่สำคัญของทั้งเทศบาลเมืองชะอำ และเทศบาลเมืองหัวหิน การจัดการขยะอาหารโดยการฝังกลบในปัจจุบันมีต้นทุนสูงและส่งผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อมที่สำคัญซึ่งเกิดจากการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกและการปนเปื้อนของน้ำชะขยะ เพื่อเป็นการยกระดับความยั่งยืนและลดผลกระทบที่เกิดการจัดการขยะอาหารการกำหนดยุทธศาสตร์ที่เหมาะสมมีความสำคัญมาก ยุทธศาสตร์ที่สำคัญ ได้แก่ การเพิ่มประสิทธิภาพระบบการจัดเก็บขยะอาหาร เช่น ลดการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงจากฟอสซิลหรือเพิ่มการใช้พลังงานหมุนเวียน และการจัดการก๊าซที่เกิดจากหลุมฝังกลบอย่างมีประสิทธิภาพ เช่น การรวบรวมก๊าซจากหลุมฝังกลบ (ก๊าซมีเทน) แล้วนำมาใช้เป็นเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้า รวมถึงการจัดการน้ำชะขยะ (leachate) อย่างมีประสิทธิภาพโดยไม่ให้เกิดการรั่วไหลปนเปื้อนสิ่งแวดล้อม การใช้เทคโนโลยีทันสมัยเหล่านี้จะช่วยเพิ่มความยั่งยืนของการจัดการขยะอาหารในพื้นที่เทศบาลเมืองชะอำและเทศบาลเมืองหัวหิน
References
Alexander, A., Burklin, C., & Singleton, A. (2005). Landfill Gas Emissions Model (LandGEM) Version 3.02 User’s Guide.
Anh, L.H., Thanh, T.N., Tuyen, N.T.K., Bang, H.Q., Son, N.P., Schneider, P., Lee, B.K., & Moustakas, K. (2002). Site-specific determination of methane generation potential and estimation of landfill gas emissions from municipal solid waste landfill: a case study in Nam Binh Duong, Vietnam. Biomass Conversion and Biorefinery, 12, 3491–3502.
Banar, M., Cokaygil, Z., & Ozkan, A. (2009). Life cycle assessment of solid waste management options for Eskisehir, Turkey. Waste Management, 29, 54–62.
Batool, F., Kurniawan, T.A., Mohyuddin, A., Othman, M.H.D., Aziz, F., Al-Hazmi, E.H., Goh, H.H., & Anouzla, A. (2024). Environmental impacts of food waste management technologies: A critical review of life cycle assessment (LCA) studies. Trends in Food Science & Technology ,143, 104287.
Bovea, M. D., & Powell, J. C. (2006). Alternative scenarios to meet the demands of sustainable waste management. Journal of Environmental Management, 79, 115-132.
da Silva, N.F., Schoeler, G.P., Lourenço, V.A., deSouza, P.L., Caballero, C.B., Salamoni, R.H., & Romano, R.F. (2020). First order models to estimate methane generation in landfill: a case study in south Brazil. Journal of Environmental Chemical Engineering, 8, 104053.
ecoinvent Centre. (2018). ecoinvent data v3.4. Swiss Centre for Life Cycle Inventories, St. Gallen.
Emkes, H., Coulon, F., & Wagland, S. (2015). A decision support tool for landfill methane generation and gas collection. Waste Management, 43, 307-318.
Fallahizadeh, S., Rahmatinia, M., Mohammadi, Z., Vaezzadeh, M., Tajamiri, A., & Soleimani, H. (2019). Estimation of methane gas by LandGEM model from Yasuj municipal solid waste landfill Iran. MethodsX, 6, 391-398.
Filimonau, V., & Uddin, R. (2021). Food waste management in chain-affiliated and independent consumers’ places: A preliminary and exploratory study. Journal of Cleaner Production, 319, 128721.
Food SCP RT. (2013). ENVIFOOD Protocol, Environmental Assessment of Food and Drink Protocol. European Food Sustainable Consumption and Production Round Table (SCP RT), Working Group 1, Brussels, Belgium.
International Organization for Standardization. (2006a). ISO 14040: Environmental management—Life cycle assessment—Principles and framework. International Organization for Standardization, Geneve
International Organization for Standardization. (2006b). ISO 14044: Environmental management—Life cycle assessment—Requirements and guidelines. International Organization for Standardization, Geneve.
IPCC (Intergovernmental Panel on Climate Change). (2006). Chapter 11: N2O emissions from managed soils, and CO2 emissions from lime and urea application. In H.S. Eggleston, L. Buendia, K. Miwa, T. Ngara, & K. Tanabe (Eds), 2006 IPCC Guidelines for National Greenhouse Gas Inventories: Volume 4 Agriculture, Forestry and Other Land Use Global Environmental Strategies, Kanagawa, Japan.
IPCC (Intergovernmental Panel on Climate Change). 2013. The Physical Science Basis. Contribution of Working Group I to the Fifth Assessment Report of the Intergovernmental Panel on Climate Change, Cambridge University Press, USA.
Isuwan, A., Promchan, T., & Chobtang, J. (2024). Quantity, chemical composition and utilization potential of food waste from restaurants and food services: a case in Cha-am town municipality area, Phetchaburi province, and Hua Hin town municipality area, Prachuap Khiri Khan province. Journal of Environmental and Sustainable Management, 20(1), 64–79. (in Thai)
Lenzen, M., Sun, Y.Y., Faturay, F., Ting, Y.P., Geschke, A., & Malik, A. (2018). The carbon footprint of global tourism. Nature Climate Change, 8, 522–528.
Manfredi, S., Niskanen, A., & Christensen, T.H. (2009). Environmental assessment of gas management options at the Old Ämmässuo landfill (Finland) by means of LCA-modeling (EASEWASTE). Waste Management, 29, 1588-1594.
Manfredi, S. Tonini, D., & Christensen, T.H. (2010). Contribution of individual waste fractions to the environmental impacts from landfilling of municipal solid waste. Waste Management, 30, 433-440.
Melikoglu, M., Lin, C.S.K., & Webb, C. (2013). Analysing global food waste problem: pinpointing the facts and estimating the energy content. Central European Journal of Engineering, 3, 157-164.
Moult, J. A., Allan, S. R., Hewitt, C. N., & Berners-Lee, M. (2018). Greenhouse gas emissions of food waste disposal options for UK retailers. Food Policy, 77, 50-58.
Pré Consultants. (2018). SimaPro 8.3 Life Cycle Assessment Software, Amersfoort, The Netherlands.
Ramprasad, C., Teja, H.C., Gowtham, V., & Vikas, V. (2022). Quantification of landfill gas emissions and energy production potential in Tirupati Municipal solid waste disposal site by LandGEM mathematical model. MethodsX, 9, 101869.
Sustainable Restaurant Association-SRA. (2010). Too Good to Waste: Restaurant Food Waste Survey Report SRA, London.
Thailand Development Research Institute. (2019). Study of appropriate food surplus management approaches to reduce food waste problems in Thailand. Final report. Thai Health Promotion Foundation. 108 p. (in Thai)
Tilman, D., & Clark, M. (2014). Global diets link environmental sustainability and human health. Nature, 515, 518–522.
Tilman, D., Balzer, C., Hill, J., & Befort, B.L. (2011). Global food demand and the sustainable intensification of agriculture. Proceedings of the National Academy of Sciences of the United States of America, 108, 20260–20264.
Wang, X. (2013). Using observed data to improve estimated methane collection from select U.S. landfills. Environmental Science & Technology, 47, 3251-3257.
Winnow. (2018). Addressing Food Waste in the Hospitality & Foodservice Sector. An Overview of Why and where Food Waste Happens Winnow Solutions, London.

Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2025 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
Burapha Science Journal is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0) licence, unless otherwise stated. Please read our Policies page for more information