การวิเคราะห์ฟอสโฟลิปิดที่เป็นองค์ประกอบในเลซิตินจากถั่วเหลือง ด้วยเทคนิคฟอสฟอรัสนิวเคลียร์แมกเนติกเรโซแนนซ์สเปกโตรสโคปี
คำสำคัญ:
ฟอสโฟลิปิด , เลซิตินจากถั่วเหลือง , ฟอสฟอรัสนิวเคลียร์แมกเนติกเรโซแนนซ์สเปกโตรสโคปีบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์และที่มา : เลซิตินจากถั่วเหลืองนิยมใช้ทั้งในผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร และเป็นส่วนผสมในอาหาร ยา เครื่องสำอาง และอาหารสัตว์ โดยเลซิตินประกอบด้วยสารสำคัญหลายชนิด เช่น phosphatidylcholine (PC), phosphatidylethanolamine (PE), phosphatidylinositol (PI), phosphatidic acid (PA) และ phosphatidylserine (PS) ซึ่งมีบทบาทสำคัญต่อการเจริญเติบโตของเซลล์ การขนส่งไขมัน และการสังเคราะห์สารสื่อประสาท เช่น อะเซทิลโคลีน แม้เลซิตินจะมีประโยชน์หลากหลาย แต่การบริโภคในปริมาณมากเกินไปอาจก่อให้เกิดผลข้างเคียง เช่น คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร หรือเหงื่อออกมาก ดังนั้นจึงมีความจำเป็นในการควบคุมคุณภาพด้วยการวิเคราะห์ชนิดและปริมาณของฟอสโฟลิด ในผลิตภัณฑ์เลซิตินอย่างถูกต้องและแม่นยำ เทคนิคที่นิยมใช้ในปัจจุบันในการวิเคราะห์ฟอสโฟลิปิด ได้แก่ โครมาโทกราฟีของเหลวสมรรถนะสูง (HPLC) และอินฟราเรดสเปกโทรสโคปี (FT-IR) ซึ่งสามารถวิเคราะห์ได้ทั้งเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ อย่างไรก็ตาม เทคนิคดังกล่าวมีข้อจำกัด เช่น การพึ่งพาสารมาตรฐานอ้างอิงตามชนิดของสารที่ต้องการวิเคราะห์ อาศัยวัฏภาคคงที่และเคลื่อนที่ที่เฉพาะเจาะจง ใช้เวลาในการวิเคราะห์นาน และก่อให้เกิดของเสียจำนวนมาก ด้วยเหตุนี้งานวิจัยนี้ จึงมีความสนใจในการประยุกต์ใช้เทคนิคฟอสฟอรัสนิวเคลียร์แมกเนติกเรโซแนนซ์สเปกโทรสโคปี (31P-NMR) ในการวิเคราะห์ฟอสโฟลิปิด โดยเทคนิคนี้สามารถตรวจวัดฟอสโฟลิปิดหลายชนิดได้พร้อมกันในการวิเคราะห์ครั้งเดียว มีความจำเพาะสูงจากลักษณะเฉพาะของสัญญาณ 31P ที่แตกต่างกันในแต่ละฟอสโฟลิปิด ดังนั้นการพัฒนาและประยุกต์ใช้เทคนิค 31P-NMR ในการตรวจวัดชนิดและปริมาณฟอสโฟลิปิดในเลซิตินจึงเป็นทางเลือกที่มีศักยภาพสูง เพื่อลดข้อจำกัดของวิธีดั้งเดิม และเพื่อประโยชน์ต่อผู้บริโภคในด้านความปลอดภัยและคุณภาพของผลิตภัณฑ์
วิธีดำเนินการวิจัย : ในงานวิจัยนี้มีการเตรียมสารละลายสำหรับใช้ในการสกัดฟอสโฟลิปิดจากเลซิตินของถั่วเหลืองโดยใช้สารละลาย Cs2CO3/EDTA ความเข้มข้น 0.75 M ที่ pH 8.5 กับ deuterated chloroform และสารละลายมาตรฐาน triphenyl phosphate เข้มข้น 6 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร ในตัวทำละลายเมทานอล ในอัตราส่วน 2:2:2 จากนั้นทำการสกัดตัวอย่างเลซิตินปริมาณ 300 มิลลิกรัม ที่อุณหภูมิห้องแล้วนำส่วนชั้นสารอินทรีย์ไปทดสอบด้วยเทคนิค 31P-NMR จำนวน 3 ซ้ำต่อตัวอย่าง ตัวอย่างเลซิตินจากถั่วเหลืองที่ทำการศึกษาแบ่งออกเป็น 4 กลุ่มตัวอย่างคือ สารมาตรฐานเลซิตินจากถั่วเหลือง เลซิตินจากถั่วเหลืองชนิดแคปซูลที่จำหน่ายตามท้องตลาด เลซิตินจากถั่วเหลืองที่ผ่านการปรับปรุงคุณภาพทางเคมี และเลซิตินที่ผู้วิจัย ทำการสกัดจากเมล็ดถั่วเหลืองกะเทาะเปลือก มีการศึกษาค่าการวิเคราะห์คือค่าขีดจำกัดการตรวจัด (LOD) และค่าขีดจำกัดการตรวจวัดเชิงปริมาณ (LOQ) โดยใช้ตัวอย่างที่เตรียมในลักษณะเดียวกับการวิเคราะห์ปกติ เพื่อให้ได้ผลการวิเคราะห์ที่น่าเชื่อถือมีการวิเคราะห์ฟอสโฟลิปิดด้วยเทคนิค HPLC โดยเตรียมสารมาตรฐาน phosphatidylcholine (PC) ความเข้มข้น 5 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร แล้วนำมาสร้างกราฟมาตรฐานในช่วง 100–1250 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร ตัวอย่างเลซิตินถูกเตรียมโดยชั่งน้ำหนัก ละลายในเมทานอล ช่วยละลายด้วยอัลตร้าโซนิก และวิเคราะห์ด้วยระบบ reverse phase-HPLC โดยใช้ตัวทำละลายเคลื่อนที่ผสมระหว่างไอโซโพรพานอล น้ำ และเมทานอล อัตราส่วน 70:22:8 ตรวจวัดที่ความยาวคลื่น 205 นาโนเมตร เป็นเวลา 30 นาที
ผลการวิจัย : การศึกษาพัฒนาวิธีการตรวจวัดชนิดและปริมาณฟอสโฟลิปิดที่เป็นองค์ประกอบในเลซิตินจากถั่วเหลืองในงานวิจัยนี้ได้ทำการศึกษาวิธีการวิเคราะห์ในกลุ่มตัวอย่าง 4 ประเภทคือสารมาตรฐานเลซิตินจากถั่วเหลือง เลซิตินที่สกัดจากเมล็ดถั่วเหลืองกะเทาะเปลือก เลซิตินจากถั่วเหลืองชนิดแคปซูล และเลซิตินจากถั่วเหลืองที่ทำการปรับเปลี่ยนโครงสร้างทางเคมี ผลการวิเคราะห์พบว่าในตัวอย่างเลซิตินจากถั่วเหลืองที่ทำการศึกษาทั้งหมดพบฟอสโฟลิปิดที่เป็นองค์ประกอบ ทั้งสิ้น 11 ชนิดคือ phosphatidylcholine (PC), 1-lysophosphatidylcholine (1-LPC), phosphatidylinositol (PI), 2-lysophosphatidylcholine (2-LPC), lysophosphatidylinositol (LPI), phosphatidylethanolamine (PE), diphosphatidyl glycerol (DPG), lysophosphatidylethanolamine (LPE), phosphatidylglycerol (PG), phosphatidylserine (PS) และlysophosphatidic acid (LPA) โดยมีชนิดและปริมาณที่แตกต่างกันแบ่งออกเป็นแต่ละกลุ่มคือ สารมาตรฐานเลซิตินจากถั่วเหลืองพบฟอสโฟลิปิดทั้งสิ้น 10 ชนิด เลซิตินที่สกัดจากเมล็ดถั่วเหลืองกะเทาะเปลือกพบฟอสโฟลิปิดทั้งสิ้น 7 ชนิด เลซิตินชนิดแคปซูลที่จำหน่ายในรูปแบบอาหารเสริมพบฟอสโฟลิปิดทั้งสิ้น 11 ชนิด และเลซิตินที่ผ่านกระบวนการปรับปรุงทางเคมีพบฟอสโฟลิปิดทั้งสิ้น 11 ชนิด ซึ่งฟอสโฟลิปิดแต่ละชนิดปรากฏสัญญาณ 31P-NMR ที่ค่า chemical shift แตกต่างกันอย่างชัดเจนในช่วง -0.77 ถึง 3.8 ppm เมื่อศึกษาค่า relaxation time (T1) พบว่าฟอสโฟลิปิดที่เป็นองค์ประกอบในเลซิตินจากถั่วเหลืองจะมีค่า T1 ของอะตอมฟอสฟอรัสอยู่ในค่าไม่เกิน 2 วินาที ในขณะที่สารมาตรฐานอ้างอิง triphenyl phosphate ทีใช้เป็นสารอ้างอิงในการคำนวนหาปริมาณฟอสโฟลิปิด พบว่าให้ค่า T1 อยู่ที่ 5.65 วินาที ซึ่งเป็นค่าที่สูงที่สุดครอบคลุม T1 ของฟอสโฟลิปิดชนิดอื่นๆ และกำหนดให้ค่า number of scan มีค่าเท่ากับ 256 ซึ่งจะได้ค่า signal to noise ratio เท่ากับ 3070 ซึ่งจะใช้เวลาทดสอบหาปริมาณฟอสโฟลิปิดต่อหนึ่งตัวอย่างที่ประมาณ 46 นาที สำหรับค่าทางการวิเคราะห์คือขีดจำกัดการตรวจวัด (LOD) และขีดจำกัดการตรวจวัดเชิงปริมาณ (LOQ) ด้วยเทคนิค 31P-NMR มีค่าเท่ากับ 0.01 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร และ 0.02 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตรตามลำดับ
สรุปผลการวิจัย : งานวิจัยนี้มีประสบความสำเร็จในการพัฒนาและประเมินประสิทธิภาพของเทคนิค 31P-NMR สำหรับการวิเคราะห์ชนิดและปริมาณของฟอสโฟลิพิดที่เป็นองค์ประกอบในเลซิตินจากถั่วเหลือง โดยมุ่งลดข้อจำกัดของวิธีวิเคราะห์แบบดั้งเดิม อาทิเช่น HPLC, TLC และ FTIR ซึ่งมีข้อจำกัดด้านความต้องการใช้สารมาตรฐานเฉพาะชนิด ใช้ระยะเวลาในการวิเคราะห์นาน และก่อให้เกิดของเสียในปริมาณมาก ผลการวิเคราะห์แสดงให้เห็นว่าตำแหน่งสัญญาณ (chemical shift) ของฟอสโฟลิปิดแต่ละชนิดจากกลุ่มตัวอย่าง 4 ประเภท มีความเหมือนกันและแยกออกจากกันอย่างชัดเจนในช่วง -0.77 ถึง 3.80 ppm เหมาะสมที่จะนำมาวิเคราะห์เชิงคุณภาพและปริมาณ อันเนื่องมาจากความแตกต่างของโครงสร้างเคมีของฟอสโฟลิปิดดังกล่าว ผลการศึกษายังแสดงให้เห็นว่าการวิเคราะห์ด้วยเทคนิค 31P-NMR สามารถวิเคราะห์ชนิดและปริมาณฟอสโฟลิปิดจากถั่วเหลืองได้ถึง 11 ชนิดในการทดสอบเพียงครั้งเดียวและใช้เวลาทดสอบเพียง 46 นาที ส่งผลให้สามารลดเวลา ของเสียที่เกิดขึ้น และไม่ต้องพึ่งพาสารมาตรฐานตามชนิดของฟอสโฟลิปิดที่ต้องการวิเคราะห์ และที่สำคัญให้ค่าขีดจำกัดการตรวจวัดต่ำถึง 0.01 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร
References
Ahmmed, M. K., Carne, A., Stewart, I., Tian., H. S., & Ahmed Bekhit, A. E. (2021). Phosphorus-31 nuclear magnetic resonance (31P NMR) for quantitative measurements of phospholipids derived from natural products: Effect of analysis conditions. LWT-Food Science and Technology, 142, 110991. 1-8.
Bharti, K. S., & Roy, R. (2012). Quantitative 1H NMR spectroscopy. Trends in Analytical Chemistry, 35, 5-26.
Blusztajn, J. K., Liscovitch, M., & Richardson, U. I. (1987). Synthesis of acetylcholine from choline derived from phosphatidylcholine in a human neuronal cell line. Proceedings of the National Academy of Sciences, 84, 5474-5477.
Cooper, L., & Ainscough, T. (2016). FT-NIR analysis of lecithin. Inform, 27, 706–707.
Deranieh, R. M., Joshi, A. S., & Greenberg, M. L. (2013). Thin-Layer Chromatography of Phospholipids. Methods in Molecular Biology, 1033, 21-27.
Feringa, B. L., Smaardijk, A., & Wynberg, H. (1985). Simple 31P NMR method for the determination of enantiomeric purity of alcohols not requiring chiral auxiliary compounds. Journal of the American Chemical Society, 107, 4798-4799.
Glonek, T. (1998). 31P Nuclear magnetic resonance phospholipid analysis of anionic-enriched lecithins. Journal of the American Oil Chemists' Society, 75, 569-573.
Horn, M., Kadgien, M., Schnackerz, K., & Neubauer, S. (2000). 31P-nuclear magnetic resonance spectroscopy of blood: a species comparison. Journal of Cardiovascular Magnetic Resonance, 2(2), 143.
Hurst, W. J., & Martin, R. A. (1984). The analysis of phospholipids in soy lecithin by HPLC. Journal of the American Oil Chemists’ Society, 61(9), 1462–1463.
Jangle, R. D., Magar, V. P., & Thorat, B. N. (2013). Phosphatidylcholine and its purification from raw de-oiled soya lecithin. Separation and Purification Technology, 102, 187-195.
Kato, T., Nishimiya, M., Kawata, A., Kishida, K., Suzuri, K., Saito, M., Fujita, K., Igarashi, T., & Inagaki, M. (2018). Quantitative 31P NMR method for individual and concomitant determination of phospholipid classes
in polar lipid samples. Journal of Oleo Science, 67, 1279-1289.
Lanier, K. L., Moore, J. D., Smith, D., Li, S., Davis, B. ,& Shaw, W. A. (2008). Quantitative phospholipid analysis of soy lecithin and krill lecithin by 31P-NMR. Avanti Polar Lipids, Inc.
Liu, L., Waters, D. L. E., Rose, T. J., Bao, J., & King, G. J. (2013). Phospholipids in rice: Significance in grain quality and health benefits: A review. Food Chemistry, 139, 1133–1145.
Liu, Y., Gao, L., & Yu, Z. (2025). Quantitative 31P NMR spectroscopy: Principles, methodologies, and applications in phosphorus-containing compound analysis.
Meng, X., Pan, Q., Ding, Y., & Jiang, L. (2014). Rapid determination of phospholipid content of vegetable oils by FTIR spectroscopy combined with partial least-square regression. Food Chemistry, 147, 272-278.
Mertins, O., Sebben, M., Schneider, P. H., Pohlmann, A. R., & Silveira, N. P. (2008). Characterization of soybean phosphatidylcholine purity by 1H and 31P NMR. Química Nova, 31, 1856–1859.
Monakhova, Y. B., & Diehl, B. W. K. (2015). Quantitative analysis of sunflower lecithin adulteration with soy species by NMR spectroscopy and PLS regression. Journal of the American Oil Chemists' Society, 93, 27-36.
Scholfield, C. R. (1981). Composition of soybean lecithin. Journal of the American Oil Chemists’ Society, 58(10), 889–892. Applied Sciences, 15, 323.
Sousa, R. S., Nogueira, A. O. M., Marques, V. G., Clementin, R. M., & Lima, V. R. (2013). Effects of -eleostearic acid on asolectin liposomes dynamics: Relevance to its antioxidant activity. Bioorganic Chemistry, 51, 8-15.
Wu, Yingzi. (2002). Soybean lecithin composition, fractionation, and functionality. Iowa State University.
Zheng, A., Liu, S. B, & Deng, F. (2017). 31P NMR chemical shifts of phosphorus probes as reliable and practical acidity scales for solid and liquid catalysts. Chemical Reviews, 117, 12475-12531.

Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2025 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
Burapha Science Journal is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0) licence, unless otherwise stated. Please read our Policies page for more information